พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่าผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามเช็คไม่ระงับหนี้สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญา
มูลหนี้คดีนี้เป็นการเรียกให้ชำระหนี้อันเกิดแต่การผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ส่วนมูลหนี้ในคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. เป็นการเรียกให้ชำระหนี้ตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย อันเป็นนิติกรรมคนละประเภท ความรับผิดของจำเลยต้องเป็นไปตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์นำคดีไปฟ้อง ธ. ต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดย ธ. ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่ ธ. ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบจำนวนแล้วมีผลเพียงทำให้ความรับผิดตามเช็คในคดีที่ ธ. ถูกโจทก์ฟ้องระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ในส่วนสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์ชอบที่จะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้แต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้างก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระเงินต้นที่ค้างชำระในแต่ละคราวไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปรับปรุงหนี้ไม่ใช่ประนีประนอมยอมความ สัญญาจำนองยังผูกพันทายาท
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีสาระสำคัญเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีภาระหนี้สินกับโจทก์ตามสัญญากู้และตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ต้องการระงับข้อพิพาทเดิมโดยต่างยอมผ่อนผันแก่กันและกำหนดหนี้ขึ้นใหม่ ตามความหมายของคำว่าประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ระงับไป ดังนั้นสัญญาจำนองที่ ว. ทำไว้กับโจทก์เป็นประกันการชำระเงินตามสัญญากู้เงินของจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันอยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานจริงในชั้นสอบสวน แม้เป็นมูลหนี้ที่ฟ้องแล้ว
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าหนี้ทั้งหลาย มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว แม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง โดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง โดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า vs. สัญญากู้ยืม: หนี้ไม่มีมูลหากเป็นหนี้บริษัทต่อบริษัท
บริษัท ส. ที่โจทก์เป็นกรรมการได้มอบเงินให้บริษัท ซ. ที่จำเลยเป็นกรรมการเป็นค่าสินค้าที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ตามข้อตกลงในฐานะส่วนตัวของโจทก์กับจำเลย แต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ส. กับจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. จะต้องคืนเงินแก่บริษัท ส. แต่ได้ทำในรูปสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อรับผิดต่อโจทก์ หนี้ที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์จึงเป็นหนี้ที่บริษัท ซ. มีต่อบริษัท ส. ไม่ใช่เป็นหนี้ของจำเลยในฐานะส่วนตัว สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีมูลหนี้ต่อกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยไม่ได้นำสืบว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ ทั้งจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์โดยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา จึงรับฟังไม่ได้ว่าหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ตามที่โจทก์อ้าง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จำต้องกล่าวในฟ้องถึงการแปลงหนี้ด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด, การรับผิดในหนี้, การโอนหนี้, การฝากเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน
แม้โจทก์จะฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามได้นำเงินไปฝากไว้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้ร่วมกันรับฝากเงินจากโจทก์โดยได้ร่วมกันออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนร่วมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการฝากเงินของโจทก์โดยตรงด้วย แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินจะออกในนามของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทของตนมาใช้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์ก็เพื่อจำเลยที่ 2 จะได้มีส่วนได้รับประโยชน์จากเงินฝากของโจทก์ทั้งสาม นั่นเอง จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนออกเป็นตัวแทน แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน โจทก์ก็นำสืบในเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อฝากเงินและทำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกันซึ่งอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาแทนก็ได้ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6289/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้และการรับเงินกู้ เนื่องจากเป็นการโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อ้างในคำฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ แม้จะมีคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินก็มิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง แต่เป็นเรื่องที่คู่ความมีข้อพิพาทโต้เถียงกันเกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญากู้และตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนเพียง 200,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จเป็นค่าเสียหายในอนาคต ซึ่งไม่อาจนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองแยกต่างหากจากค้ำประกัน เจ้าหนี้ไม่อาจยึดทรัพย์สินจำนองเพื่อหนี้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันเป็นบุคคลสิทธิซึ่งจำเลยเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ผู้ค้ำประกันเมื่อ ป. ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของโจทก์ผู้ค้ำประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น แตกต่างไปจากสิทธิตามสัญญาจำนองที่ทำขึ้นเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่ได้ทำขึ้นในภายหลังและไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องให้โจทก์รับผิดรวมไปถึงความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย ประกอบกับโจทก์กู้เงินจำเลยเพื่อนำไปซื้อห้องชุดพิพาทแล้วนำมาจำนองไว้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาจดทะเบียนจำนองห้องชุดพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่มีแก่จำเลยเท่านั้น ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง นอกจากนี้ขณะที่โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่จำเลยครบถ้วน จำเลยยังไม่ได้ฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ความรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่เกิดขึ้น เมื่อหนี้เงินกู้ของโจทก์อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปและโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันอยู่อีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการกู้ยืมเงินธนาคาร โดยเริ่มนับแต่วันที่ผิดสัญญาชำระหนี้ตามข้อตกลง
ผู้กู้ทำสัญญากู้เงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยินยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม และตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่า ผู้กู้ตกลงให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนและเงินพึงได้อื่นได้อื่นใดที่ผู้กู้พึงได้จากนายจ้างเป็นรายเดือนให้ผู้กู้โดยวิธีนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้กู้ที่เปิดไว้ ณ สำนักงานธนาคารผู้ให้กู้เป็นประจำทุกเดือนติดต่อกันตลอดไป จากข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่านิติสัมพันธ์ระหว่าง ผู้กู้กับโจทก์ตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏในลักษณะนี้กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2534 หลังจากนั้นผู้กู้หรือหน่วยงานของผู้กู้ก็มิได้นำเงินมาชำระหนี้โจทก์อีกเลย จึงถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญา และเมื่อตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดคืนได้ทันทีถือได้ว่าระยะเวลา ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป หาใช่นับแต่วันครบกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาดังที่โจทก์ฎีกาไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 จึงเกิน 10 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนในคดีล้มละลาย: ผลของการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ และโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทไปอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาที่พิพาทกันอยู่นั้นแต่อย่างใด ดังนั้น ตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ในระหว่างนี้โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)