พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนในคดีล้มละลาย: การรอคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการโรงแรมภายใต้ชื่อ (THANI) ซึ่งเดิมเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท ด. กับจำเลยและต่อมาได้โอนสิทธิให้โจทก์ มีข้อสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการไว้ในข้อ 9 ว่า หากมีข้อโต้แย้งใดๆ เกิดขึ้นจากการตีความหรือเกี่ยวกับหน้าที่หรือความรับผิดชอบตามสัญญานี้ จะพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาระหว่างกันเองก่อน หากข้อโต้แย้งนั้นยังไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาที่พิพาทกันอยู่ ดังนั้นตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ในระหว่างนี้โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4993/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและหักกลบลบหนี้: ต้องเป็นทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครอบครอง และหนี้ต้องมีจำนวนแน่นอน
แม้จำเลยจะได้รับความเสียหายจำนวน 900,000 บาท เนื่องจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโจทก์ซึ่งจำเลยจ้างไปรักษาความปลอดภัยให้แก่อาคารชุดของจำเลย ซึ่งจำเลยได้ทวงถามค่าเสียหายดังกล่าวแล้วแต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระโจทก์จำนวน 401,761.46 บาท เนื่องจากเงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครอบครองอยู่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 241
ความเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยยังไม่ยุติ จะต้องตกลงกันอีก ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ ดังนี้ แม้เป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดียวกัน ก็ต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อโจทก์ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตาม ป.พ.พ. 344 จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงและจะขอหักกลบลบหนี้ไม่ได้ดังกล่าวข้างต้น จำเลยจึงโต้แย้งว่ายังไม่ผิดนัดมิได้
ความเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยยังไม่ยุติ จะต้องตกลงกันอีก ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ ดังนี้ แม้เป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดียวกัน ก็ต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อโจทก์ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตาม ป.พ.พ. 344 จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงและจะขอหักกลบลบหนี้ไม่ได้ดังกล่าวข้างต้น จำเลยจึงโต้แย้งว่ายังไม่ผิดนัดมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันหนี้หลังยกเลิกฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านคำขอรับชำระหนี้
แม้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการทำให้ผู้บริหารของลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว แต่ลูกหนี้ก็ยังคงต้องผูกพันรับผิดชำระหนี้ตามคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนและมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงยังมิได้สิ้นสุดลงไป และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเป็นประการใดแล้วเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/32 วรรคสาม เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงยังต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้เกี่ยวกับสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการเช่าและการชำระหนี้บางส่วนทำให้หนี้ส่วนที่เหลือไม่ขาดอายุความ
การนับอายุความนั้นต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนและจำเลยต้องชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้ เมื่อพ้นกำหนดเวลา 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือให้จำเลยส่งมอบเครื่องจักรคืนโจทก์ก่อน อายุความเรียกค่าเช่าค้างชำระ 2 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับใบแจ้งหนี้ในแต่ละฉบับ
เมื่อนับจากวันที่พ้นกำหนดชำระหนี้ในใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 มีเพียงหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.15 และ จ.16 เพียง 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2545 และวันที่ 18 ตุลาคม 2545 เท่านั้นที่ไม่เกิน 2 ปี ส่วนหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 เกิน 2 ปีแล้ว แต่จำเลยได้นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนรวม 3 ครั้ง โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ซึ่งจำเลยย่อมทราบแล้วว่าจำเลยมีหนี้ที่ถึงกำหนดต้องชำระตามใบแจ้งหนี้ เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ เพราะวันที่ถึงกำหนดชำระตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ อยู่ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545ซึ่งเป็นวันก่อนที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย การที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระหนี้โดยไม่ระบุว่าชำระหนี้รายใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมดแล้ว อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ยังไม่เกิน 2 ปี หนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ หนี้ของโจทก์ทั้งหมดตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.16 รวมทั้งสิ้น 10 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความด้วย ส่วนวิธีการชำระหนี้กรณีที่จำเลยไม่ได้ระบุว่าให้ชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับใด จึงต้องนำไปชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้กับกรมสรรพากรอันจะมีสิทธิและหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ได้
เมื่อนับจากวันที่พ้นกำหนดชำระหนี้ในใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 มีเพียงหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.15 และ จ.16 เพียง 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2545 และวันที่ 18 ตุลาคม 2545 เท่านั้นที่ไม่เกิน 2 ปี ส่วนหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 เกิน 2 ปีแล้ว แต่จำเลยได้นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนรวม 3 ครั้ง โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ซึ่งจำเลยย่อมทราบแล้วว่าจำเลยมีหนี้ที่ถึงกำหนดต้องชำระตามใบแจ้งหนี้ เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ เพราะวันที่ถึงกำหนดชำระตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ อยู่ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545ซึ่งเป็นวันก่อนที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย การที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระหนี้โดยไม่ระบุว่าชำระหนี้รายใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมดแล้ว อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ยังไม่เกิน 2 ปี หนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ หนี้ของโจทก์ทั้งหมดตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.16 รวมทั้งสิ้น 10 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความด้วย ส่วนวิธีการชำระหนี้กรณีที่จำเลยไม่ได้ระบุว่าให้ชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับใด จึงต้องนำไปชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้กับกรมสรรพากรอันจะมีสิทธิและหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ที่สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ยังไม่เกิดขึ้นในขณะที่หนี้ของเจ้าหนี้ขาดอายุความแล้ว ไม่อาจหักกลบลบได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วก็นำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ในเวลาที่อาจจะหักกลบลบกับสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายได้นั้น สิทธิเรียกร้องฝ่ายตนต้องยังไม่ขาดอายุความ คดีนี้ก่อนหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความ 2 ปี จำเลยยังไม่ได้นำเงินเข้าบัญชี จำเลยเพิ่งนำเงินเข้าฝากเข้าบัญชีหลังจากหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความแล้ว สิทธิเรียกร้องในการหักเงินฝากของจำเลยจึงเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความไปแล้ว โจทก์จึงไม่สามารถหักกลบลบหนี้โดยหักเงินฝากของจำเลยมาชำระหนี้บัตรเครดิตได้ เพราะในเวลาที่โจทก์จะหักกลบลบหนี้กับสิทธิเรียกร้องของจำเลยได้นั้น สิทธิเรียกร้องโจทก์ขาดอายุความไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษีอากร และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
ตาม ป.รัษฎากร ในหมวด 3 เรื่องภาษีเงินได้ในส่วน 1 ข้อความทั่วไปและส่วน 2 การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บ ภาษีเงินเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อได้รับเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 เว้นแต่ไม่ถึงเกณฑ์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้มาในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่นๆ ภายในเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 56 จากหลักเกณฑ์ตาม ป.รัษฎากรดังกล่าว ผู้มีเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ต้องประเมินภาษีเงินได้โดยตนเองแล้วยื่นแบบแสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นหากจำเลยที่ 1 มีเงินได้พึงประเมินที่ถูกต้องแท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ภาษีอากรภายในเดือนมีนาคมของแต่ละปีภาษีถัดไปตามที่ ป.รัษฎากร บัญญัติบังคับไว้ หาใช่หนี้ภาษีอากรจะถึงกำหนดในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีภาษีอากรแต่อย่างใดไม่ ทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้างซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้และจำเลยที่ 1 ก็เป็นลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรและอยู่ในความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อันมีราคาประเมิน 110,289,400 บาท ซึ่งมีค่ามากที่สุดในจำนวนทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หานั้น ทำให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 น้อยลงไปอีก ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำสืบและไม่ได้โต้แย้งในฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นที่พอนำมาชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระได้ครบถ้วน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โจทก์สามารถติดตามยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เพียงพอแก่การได้รับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่ให้ครบถ้วน อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ภาษีอากรเสียเปรียบและเป็นการโอนให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาจึงต้องถูกเพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคแรก
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยผลของคำพิพากษา ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีกจึงไม่จำต้องส่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนการโอนที่ดินให้กลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อันมีราคาประเมิน 110,289,400 บาท ซึ่งมีค่ามากที่สุดในจำนวนทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หานั้น ทำให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 น้อยลงไปอีก ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำสืบและไม่ได้โต้แย้งในฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นที่พอนำมาชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระได้ครบถ้วน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โจทก์สามารถติดตามยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เพียงพอแก่การได้รับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่ให้ครบถ้วน อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ภาษีอากรเสียเปรียบและเป็นการโอนให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาจึงต้องถูกเพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคแรก
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยผลของคำพิพากษา ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีกจึงไม่จำต้องส่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนการโอนที่ดินให้กลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันในการฟ้องล้มละลาย
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์ในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่กระทำไปโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันศาลในคดีล้มละลายเนื่องจากฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงความสามารถ สถานะและทรัพย์สินของบุคคลนั้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์ ศาลจึงต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 จึงจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้ เมื่อโจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องโดยหนี้ดังกล่าวมีมูลหนี้มาจากสัญญากู้ยืมเงินที่ตกเป็นโมฆะจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่มีผลตามกฎหมาย จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ตามมาตรา 9 (2) โจทก์ไม่มีสิทธินำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 350 ห้ามแต่เพียงว่าจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้เท่านั้น เมื่อได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า ป. กู้เงินเพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปลงทุนด้วยแล้ว กรณีจะทำโดยขืนใจ ป. ลูกหนี้เดิมย่อมไม่มี เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เงินระงับไปแล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันมิได้ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกันหนี้: สัญญาบังคับใช้ได้แม้จำนองก่อนรับเงินกู้ การปฏิเสธลายมือชื่อไม่ถือเป็นข้อโต้แย้ง
โจทก์มีหนังสือสัญญากู้ 2 ฉบับ ที่จำเลยทั้งสามเถียงว่า โจทก์ลวงให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกผันเป็นผู้กู้ไว้ก่อน อีกทั้ง อ. พยานโจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการด้านสินเชื่อสาขาหาดใหญ่ของโจทก์มาเบิกความรับรองด้วยว่า หลังจากโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 กู้จำเลยที่ 1 ก็ได้รับเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วโดยจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับเงินไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิเสธว่า ลายมือชื่อผู้กู้มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามกฎหมายแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องสัญญาค้ำประกันไว้แต่อย่างใดจึงนอกคำให้การของจำเลยที่ 2 และนอกประเด็น
แม้การจดทะเบียนจำนองและจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันหนี้จะทำขึ้นก่อนเวลาที่โจทก์จะส่งมอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 707 ว่าด้วยจำนอง บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะ ตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาโจทก์มอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 หลังจากทำสัญญาจำนองกันดังกล่าวหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นก็สมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องสัญญาค้ำประกันไว้แต่อย่างใดจึงนอกคำให้การของจำเลยที่ 2 และนอกประเด็น
แม้การจดทะเบียนจำนองและจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันหนี้จะทำขึ้นก่อนเวลาที่โจทก์จะส่งมอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 707 ว่าด้วยจำนอง บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะ ตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาโจทก์มอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 หลังจากทำสัญญาจำนองกันดังกล่าวหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นก็สมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้, สัญญาค้ำประกัน, การพิสูจน์ลายมือชื่อ, และการบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 707 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์มอบเงินกู้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลังจากทำสัญญาจำนองหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นย่อมสมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้