คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,439 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก - การลงโทษตามมาตรา 279 วรรคสอง ชอบด้วยกฎหมาย แม้ฟ้องตามมาตรา 277
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายกอดปล้ำแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภริยาจำเลยโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้จนสำเร็จความใคร่หลายครั้ง ซึ่งตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 279 และคำฟ้องใช้ข้อความเหมือนกันว่า โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดย... อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ส่วนการกระทำอนาจารนั้นหมายความเป็นการกระทำโดยไม่ชอบทางเพศต่อบุคคลอื่น การที่จำเลยนำเอาอวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าในอวัยวะเพศของผู้เสียหายซึ่งเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น ถือเป็นการกระทำอนาจารตามบัญญัติของมาตรา 279 ด้วย ทำให้เห็นว่าการกระทำความผิดตามบทบัญญัติของมาตรา 279 รวมอยู่ในการกระทำความผิดตามบทบัญญัติของมาตรา 277 แต่มีโทษเบากว่า การพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 279 วรรคสอง จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่เป็นการลงโทษในความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษและต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารหลายกรรมต่างกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยการรวมโทษและจำนวนกระทงความผิด
การลงโทษจำเลยที่กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้แยกลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษภายหลัง การที่ศาลล่างทั้งสองรวมโทษที่วางแต่ละกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำคุกจำเลยเป็นรายปีนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายทั้งสี่โดยจำเลยกอด จูบหอมแก้ม และจับอวัยวะเพศผู้เสียหายทั้งสี่ทีละคน ขณะที่ผู้เสียหายทั้งสี่นอนพักค้างคืนร่วมกันในบ้านพักของผู้มีชื่อ 2 คืน ติดต่อกันนั้น ยังไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำความผิดในคืนแรกและคืนที่สองต่างวันเวลากันหรือจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายทั้งสี่ขณะที่ผู้เสียหายทั้งสี่นอนพักค้างคืนร่วมกันในบ้านพักของผู้มีชื่อ 2 คืน ติดต่อกันแม้จำเลยให้การรับสารภาพก็จะฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องทั้งสองคืนรวม 8 กระทง มิได้ คงฟังได้เพียงว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องเป็น 4 กระทง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลรวมโทษแล้วลดโทษรายปีได้ตามกฎหมาย
การลงโทษจำเลยที่กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้แยกลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษภายหลัง การที่ศาลรวมโทษที่วางแต่ละกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำคุกจำเลยเป็นรายปีจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11055/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้าและเสนอขายเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ต้องลงโทษตามกระทง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเครื่องหมายการค้า ร. อันเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ล. ผู้เสียหาย โดยใช้เครื่องปั๊มแบบอัตโนมัติปั๊มเครื่องหมายการค้า ร. ลงบนแว่นกันแดดจำนวน 1,254 อัน และกล่องใส่แว่นกันแดด จำนวน 1,100 อัน อันเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย นอกจากนี้จำเลยยังมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งแว่นกันแดด จำนวน 1,254 อัน และกล่องใส่แว่นกันแดด จำนวน 1,100 อัน ดังกล่าวที่มีตราเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย ซึ่งได้จดทะเบียนโดยชอบแล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงต้องถือว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน เนื่องจากความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 108 กับความผิดฐานเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) เป็นการกระทำความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและเจตนาที่ต่างหากจากกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10766/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทกฎหมายและอำนาจศาลในการลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไข การรับสารภาพและเหตุบรรเทาโทษ
พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ซึ่งมาตรา 61 เดิมและที่แก้ไขใหม่ยังเป็นบทความผิดเช่นเดียวกัน ส่วนบทกำหนดโทษมาตรา 73 (เดิม) ได้แก้ไขและมีบทบัญญัติเพิ่มเติมเป็นมาตรา 73/2 ซึ่งมีโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 73 (เดิม) การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 และมาตรา 73 โดยมิได้ขอมาตรา 73/2 (ที่แก้ไขใหม่) มาด้วย เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไป ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่เกินคำขอ
คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องมิใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังยุติได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเป็นอย่างไรและจำเลยจำนนต่อพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรือไม่ คำรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10714/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานมีเครื่องกระสุนปืนผิดกฎหมายและการใช้กระสุนปืนในการพยายามฆ่า: จำเลยต้องรับโทษฐานกระทำผิดกรรมเดียวแต่เป็นความผิดหลายบท
ความผิดฐานมีกระสุนปืนเล็กกล ขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) ซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครองและใช้กระสุนปืนดังกล่าวไปกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้กระสุนปืนดังกล่าวไปกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหามีเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ลงโทษข้อหาใช้เครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 78 วรรคสาม โจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อหานี้จึงยุติ ส่วนอาวุธปืนของกลางเป็นปืนพกชนิดประกอบขึ้นใช้กับกระสุนปืนขนาด .223 โดยเฉพาะ และปลอกกระสุนปืนของกลางก็เป็นปลอกกระสุนปืนขนาด .223 แม้ปลอกกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ส่วนอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ก็เป็นที่เห็นได้ว่าเจตนาของจำเลยในการมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวเป็นการมีไว้เพื่อความประสงค์อันเดียวกัน การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท คือฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10125/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์และมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย: การลงโทษและบทริบของกลาง
ร้านขายยาที่เกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 2 ที่ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างดำเนินการซื้อและขายยาแทน จำเลยที่ 1 ได้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 10 เม็ด ให้แก่สายลับ เมื่อเจ้าพนักงานเข้าไปตรวจค้นพบวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และประเภท 4 ภายในร้านขายยานั้น โดยจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีว่ามีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และประเภท 4 อยู่ในร้านดังกล่าว แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในร้าน แต่ตามพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายยาและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 10 เม็ด ให้แก่สายลับ และมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และประเภท 4 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย
การขายและการมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ตามนิยาม คำว่า "ขาย" ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4 มิใช่เป็นความผิดหลายบท
ความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตรากับความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 16 วรรคหนึ่ง, 89, 90 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรหนึ่ง และวรรคสอง ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
ศาลล่างทั้งสองมิได้สั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามมาตรา 116 เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9020/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายเป็นเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้: ศาลไม่อาจลงโทษตามฟ้องเดิมได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทง ร. ถึงแก่ความตาย และ ช. ผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่ง ผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ชุลมุนต่อสู้ทำร้ายกัน ผู้ตายและผู้เสียหายถูกแทงโดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยหรือผู้ใดเป็นคนแทงในการชุลมุนต่อสู้ สาระสำคัญในการกระทำความผิดตามที่พิจารณาได้ความคือ มีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป แต่ตามฟ้องไม่มีข้อความตอนใดบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้บุคคลถึงแก่ความตาย ซึ่งจะมีผลให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 294 ได้ด้วย ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ จึงลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามมาตรา 92 การคำนวณโทษ และการลงโทษจำคุกหรือปรับ
การเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการเพิ่มโทษหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังเมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคสอง มาคำนวณประกอบกับระวางโทษตามมาตรา 336 ทวิ เพื่อกำหนดโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92
ความผิดที่จำเลยกระทำกฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกเพียงสถานเดียวก็ได้แต่ลงโทษปรับเพียงสถานเดียวไม่ได้ ตามป.อ. มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่อ้างในฟ้อง และการปรับบทความผิดตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติว่า คำฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะของ อ. ที่ ค. เป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย และอ้างบทห้ามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 มาด้วย ซึ่งเท่ากับโจทก์อ้างบทห้ามการกระทำความผิดตามมาตรา 43 (4) อยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุอนุมาตรา (4) ของมาตรา 43 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทความผิดในมาตรานั้นๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริรงที่รับฟังได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4) จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 144