พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนโดยชอบด้วยกฎหมาย: ใบอนุญาตซื้อ (ป.3) เพียงพอสำหรับการครอบครองก่อนออกใบอนุญาตใช้ (ป.4)
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ผู้ขอจะต้องไปยื่นคำขอต่อนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อน เมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่เห็นว่าผู้ขอมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กำหนดแล้วจึงอนุญาตให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนได้ โดยจะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล(แบบ ป.3) ให้ จากนั้นผู้ขอจึงนำใบ ป.3 ดังกล่าวไปซื้ออาวุธปืนจากร้านค้าหรือผู้ขายแล้วจึงนำอาวุธปืนพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปแสดงต่อนายทะเบียนอาวุธปืนผู้ออกใบอนุญาตเพื่อออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนผู้ออกใบอนุญาตได้อนุญาตให้ผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนแล้วตั้งแต่ออกใบ ป.3ส่วนขั้นตอนการไปซื้อหรือรับโอนจนกระทั่งออกใบ ป.4 เป็นขั้นตอนต่อมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนในราชอาณาจักรให้รู้ว่าอาวุธปืนแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใดเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าผู้ขอเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนออกใบป.4 ให้ การที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนของกลางตามใบ ป.3 และดำเนินการขอออกใบ ป.4 สำหรับอาวุธปืนของกลางจนได้รับใบ ป.4 จึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเมื่อจำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางก่อนที่ศาลชั้นต้นสั่งริบ อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตมีอาวุธปืน: ใบ ป.3 เพียงพอต่อการครอบครองก่อนออกใบ ป.4 ไม่ถือผิดกฎหมาย
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ต้องไปยื่นคำขอต่อนายทะเบียนอาวุธปืนก่อนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนได้ จะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน (แบบ ป.3) ให้ ผู้ขอจึงนำใบ ป.3 ไปซื้ออาวุธปืน แล้วจึงนำไปแสดงต่อนายทะเบียนอาวุธปืนเพื่อออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ต่อไปตามขั้นตอนดังกล่าวถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนได้อนุญาตให้ผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนแล้วตั้งแต่ออกใบ ป.3 ส่วนการไปซื้อ จนกระทั่งออกใบ ป.4 เป็นขั้นตอนเพื่อควบคุมอาวุธปืนให้รู้ว่าแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใด ไม่ได้หมายความว่าผู้ขอเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนออกใบ ป.4 ให้ประกอบกับการที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนของกลางตามใบ ป.3 และดำเนินการขอออกใบ ป.4 จนได้รับใบ ป.4 ก่อนที่ใบ ป.3 จะสิ้นอายุ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะฝ่าฝืนกฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางก่อนที่ศาลชั้นต้นสั่งริบอาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 จึงริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางก่อนที่ศาลชั้นต้นสั่งริบอาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 จึงริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อายุความฟ้องคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตายของบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคมเพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักจะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณี ส. ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 73(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ แม้มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246
สัญญากู้ยืมระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารโจทก์ แต่ตามประกาศกำหนดดอกเบี้ยของโจทก์ในขณะทำสัญญากู้ยืมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาร้อยละ14.50 ต่อปี ไม่มีข้อความตอนใดในประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้ยืมจึงสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิจะเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และขัดต่อ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯมาตรา 3(ก) ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ในสัญญากู้ยืมจึงตกเป็นโมฆะ
สัญญากู้ยืมระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารโจทก์ แต่ตามประกาศกำหนดดอกเบี้ยของโจทก์ในขณะทำสัญญากู้ยืมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาร้อยละ14.50 ต่อปี ไม่มีข้อความตอนใดในประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้ยืมจึงสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิจะเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และขัดต่อ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯมาตรา 3(ก) ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ในสัญญากู้ยืมจึงตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905-4927/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยที่จ่ายโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และอายุความการฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้
โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยโดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิได้รับตามข้อบังคับสถาบันการบินพลเรือน ว่าด้วยสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชยของพนักงาน พ.ศ. 2539ทั้งที่แท้จริงแล้วจำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง และขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือนพ.ศ. 2535 มาตรา 38 ไม่มีผลใช้บังคับ จึงเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยคืนค่าชดเชยที่รับมาให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 กรณีดังกล่าวมิใช่จำเลยเอาทรัพย์ของโจทก์มายึดถือไว้โดยไม่มีสิทธิ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนได้ตามมาตรา 1336
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 บัญญัติให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนทรัพย์สินจากผู้ที่ได้ทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน มิใช่ภายในหนึ่งปีนับแต่ผู้เสียหายประสงค์ใช้สิทธิเรียกคืน
สถาบันการบินพลเรือนโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้ว่าการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รับทราบหนังสือกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2540 แจ้งว่าข้อบังคับของโจทก์ที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยประกาศใช้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 ไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้จำเลยจึงเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้รับ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 7กรกฎาคม 2543 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ว่ามีสิทธิเรียกค่าชดเชย คืนดังกล่าวแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 บัญญัติให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนทรัพย์สินจากผู้ที่ได้ทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน มิใช่ภายในหนึ่งปีนับแต่ผู้เสียหายประสงค์ใช้สิทธิเรียกคืน
สถาบันการบินพลเรือนโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้ว่าการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รับทราบหนังสือกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2540 แจ้งว่าข้อบังคับของโจทก์ที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยประกาศใช้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 ไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้จำเลยจึงเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้รับ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 7กรกฎาคม 2543 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ว่ามีสิทธิเรียกค่าชดเชย คืนดังกล่าวแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายโดยนิตินัย vs. ผู้มีอำนาจจัดการแทน & การอุทธรณ์/ฎีกาที่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หรือต้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์ขับ ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส และบุคคลอื่นหลายคนซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์ขับถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัส และได้รับอันตรายแก่กาย และขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43(4) และ 157 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายอื่นที่เป็นผู้เยาว์ หรือเป็นผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีผู้เสียหายอื่นซึ่งถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเหล่านั้น ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 และ 390 ซึ่งบุคคลอื่นเป็นผู้เสียหาย และโดยที่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ เพราะความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรฯ ด้วย
คดีที่ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้นเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและพิพากษามานั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วยอุทธรณ์ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีที่ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษามานั้นเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม แต่การอนุญาตดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218,219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและพิพากษามานั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วยอุทธรณ์ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเพิกถอนสูติบัตร: นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย และขอบเขตการฟ้องร้อง
นายทะเบียนท้องถิ่น คือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งการเกิด การตาย ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ ตามมาตรา 18 ถึงมาตรา 22 รวมทั้งมีฐานะเป็น"นายทะเบียน" ผู้มีอำนาจเพิกถอนหลักฐานทะเบียนตามมาตรา 10 และมาตรา 8(5)วรรคสอง บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตเป็นนายทะเบียนท้องถิ่นคดีนี้หากการจัดทำสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอน คือนายทะเบียนท้องถิ่นเขตพญาไทหรือผู้อำนวยการเขตพญาไท ซึ่งเป็นผู้รับแจ้งการเกิดของเด็กชาย ภ. แต่เมื่อมีการปรับปรุงแบ่งเขตปกครองเสียใหม่ เป็นผลให้อำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. เป็นของนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวี และโจทก์ได้ร้องขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวีซึ่งได้พิจารณาสั่งไม่เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. โดยให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลต่อไป แต่กรุงเทพมหานครจำเลยมิใช่นายทะเบียนท้องถิ่นผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยให้เพิกถอนสูติบัตรเด็กชาย ภ. มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ศาลพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายและข้อยกเว้นเรื่องความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ในอนาคต และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจำนองกับโจทก์ตามสัญญาจำนองสี่ฉบับจริง แต่เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้อื่นที่ได้ชำระไปแล้วไม่ใช่หนี้ในคดีนี้ เป็นการขอแก้ไขคำให้การโดยยกข้อเท็จจริงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ใหม่และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อเถียงเพื่อหักล้างข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งให้งดชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 จึงต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานไปบ้างแล้ว ย่อมเป็นการล่วงเลยกำหนดเวลาที่จะขอแก้ไขคำให้การได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การไม่ได้
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อศาลแพ่ง โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่จำเลยที่ 2จะขอแก้ไขได้ แม้จะเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันสืบพยาน
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อศาลแพ่ง โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่จำเลยที่ 2จะขอแก้ไขได้ แม้จะเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันสืบพยาน