คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระบวนพิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 344 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพของจำเลยที่ทำเองโดยไม่ผ่านทนาย และการพิจารณาอายุผู้เสียหายในคดีกระทำชำเรา
แม้ตามคำร้องและคำให้การรับสารภาพกระทำผิดตามฟ้องโจทก์ของจำเลยมิได้มีทนายความผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยเป็นผู้เรียง แต่จำเลยได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้เรียงด้วยตนเอง และในวันเดียวกันตัวจำเลยก็ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอถอนคำให้การที่เคยปฏิเสธไว้เดิมขอให้การใหม่รับสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การให้จำเลยตามความประสงค์ของจำเลย แล้วจำเลยยังได้ขอให้ศาลชั้นต้นบันทึกลงในรายงานกระบวนพิจารณาอีกว่า ข้อความใดของจำเลยเดิมที่เป็นไปในการปฏิเสธจำเลยไม่ติดใจอีกต่อไป โดยจำเลยได้ลงชื่อในฐานะจำเลยในคำให้การและในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลต่อหน้าศาลชั้นต้นแสดงว่า จำเลยมีเจตนายื่นคำร้อง ทำคำให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์ใหม่ต่อศาลด้วยตัวของจำเลยโดยไม่ประสงค์ให้ทนายความที่แต่งตั้งทำหน้าที่แทนให้ซึ่งย่อมกระทำได้ ฉะนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น จึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคแรก ฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้เสียหายอายุ 11 ปี 10 เดือน แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าในขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปี 10 เดือน 16 วันเมื่อตามฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรกวรรคสองและวรรคสาม ซึ่งตามวรรคแรกได้ระบุอายุของผู้เสียหายไว้ไม่เกิน 15 ปี ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้ คำรับสารภาพของจำเลยต่อศาลเป็นเรื่องที่รับว่าได้กระทำตามฟ้องเท่านั้น ส่วนการกระทำตามฟ้องจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณา ศาลย่อมยกฟ้องโจทก์ในข้อหาที่ฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคแรก ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับแต่วันที่ทราบเรื่อง
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2533 แล้ว ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2533โจทก์ได้มาตรวจสำนวนและทราบว่ามีการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์จึงขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องไป หากจะฟังว่าการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบโดยการปิดประกาศที่หน้าศาลเป็นการไม่ชอบก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบในวันดังกล่าวซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ที่โจทก์มายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวในวันที่ 9 สิงหาคม 2533จึงเกินกำหนดแปดวัน เป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าของผู้เชี่ยวชาญไม่ครบถ้วน ทำให้ศาลมิอาจพิพากษาตามคำท้าได้
คู่ความท้ากัน 2 ประการ แต่หนังสือของศาลชั้นต้นคงขอให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ปัญหาประการแรกว่า ตัวเลข 2 ได้เขียนขึ้นในคราวเดียวกัน หรือเขียนเติมขึ้นในภายหลังเท่านั้นปัญหาประการที่สองที่ว่าตัวเลข 2 เขียนด้วยหมึกจากปากกาคนละด้ามกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ จึงยังไม่เป็นไปตามคำท้าที่จะถือว่าโจทก์แพ้คดีได้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความให้ครบถ้วนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากและเช่า การงดสืบพยานไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับซื้อฝากมาจากจำเลยและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต่อมาจำเลยเช่าจนครบกำหนดตามสัญญา โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางซึ่งทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันเงินที่นาย บ. กู้ยืมไปจากโจทก์ต่อมานาย บ. ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝาก จำเลยไม่เคยรับเงินตามสัญญาขายฝากหรือเช่าที่ดินพิพาทขอให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนให้ ดังนี้แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งยอมรับว่าสัญญาขายฝากและสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อประกันการกู้ยืมของนาย บ. ข้อเท็จจริงก็ยังฟังไม่ถนัดเสียทีเดียวว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด และสัญญาขายฝากกับสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่ ทั้งสัญญาขายฝากถึงหากจะเป็นนิติกรรมอำพรางตกเป็นโมฆะแต่เอกสารสัญญาก็ยังเป็นหลักฐานการค้ำประกันการกู้ยืมได้สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจำเลยก็ปฏิเสธว่าไม่ทราบว่าเป็นการเช่าซึ่งต้องฟังข้อเท็จจริงโดยการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานเสียนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำประเด็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก แม้คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามกฎหมาย
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้ว่า รถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ขอให้โจทก์คืนให้จำเลยหรือใช้ราคา โจทก์ให้การว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีประเด็นว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่า รถยนต์คันพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับ ท. ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ท. ด้วยหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ ผู้รับแต่งตั้งว่าต่างคดี กระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา44 (3) และ มาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ/ใบอนุญาต การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ ศาลต้องเริ่มกระบวนการใหม่
เมื่อบุคคลที่โจทก์แต่งตั้งเป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้น และลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้น เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้องคำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์คำฟ้องฎีกา ฯลฯ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33 มาแต่แรก แม้ภายหลังจากนั้นต่อมาบุคคลดังกล่าวจะได้จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความประเภทตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์ได้ขาดจากการเป็นทนายความแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตั้งแต่วันที่บุคคลดังกล่าวรับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกและมาตรา 62 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ขณะที่โจทก์แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้นและลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้นป.เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา ฯลฯตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33มาแต่แรก แม้ต่อมาภายหลัง ป. จะได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์นั้นป. ได้ขาดจากการเป็นทนายความ ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตั้งแต่วันที่ ป. รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 62ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย ถือเป็นการไม่ชอบ
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลดโทษแก่จำเลย โดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3ก็ต้องวินิจฉัยดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
of 35