คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กู้ยืมเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน หลักฐานการกู้ยืม และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 อยู่ที่มีการแสดงให้เห็นว่า มีการกู้ยืมเงินกันไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วย เอกสารที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ยืม มีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินของผู้ให้กู้ซึ่งมิได้ระบุชื่อลงไว้จำนวนเท่าใด เมื่อวันเดือนปีใด ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้มิได้ระบุว่ากู้ยืมเงินจากผู้ใด โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลอธิบายให้เห็นได้ว่า โจทก์เป็นผู้ให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม ไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) จำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้ยืมต่อโจทก์ เมื่อไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ต่อกันไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันโจทก์บรรยายว่า ได้ทวงถามจำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระแต่ตามคำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามวันเวลาใด จึงต้องฟังให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดในวันฟ้องนั้นเอง จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: คำให้การในคดีอาญาใช้เป็นหลักฐานได้ แม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรกนั้น อาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้
บันทึกคำให้การพยานที่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์คดีนี้จริงและยังมิได้ชำระหนี้คืนนั้น เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงินจากคำให้การในคดีอาญาใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมที่จะนำมาฟ้องคดีนั้นอาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ ฉะนั้นคำให้การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานไว้ในคดีอาญาด้วยความสมัครใจจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานกู้ยืมเงินจากคำให้การพยาน: ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้แม้ทำสัญญากู้ยืมภายหลัง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมที่จะนำมาฟ้องคดีได้นั้น อาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยคำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญามาเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมคำให้การพยานดังกล่าว จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงินจากการเบิกความต่อศาลในคดีอื่น ย่อมใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรกนั้น อาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ บันทึกคำให้การพยานที่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์คดีนี้จริงและยังมิได้ชำระหนี้คืนนั้น เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและการล้มละลายเมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยขายหุ้นหรือทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไป โดยตกลงทยอยซื้อคืนเป็นงวดรายเดือนและให้กำไรเป็นเงินสองเท่า เป็นการซื้อหรือทำสัญญาที่มุ่งจะขายคืนเพื่อต้องการกำไรเป็นสองเท่าโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุน หาใช่เป็นการซื้อหุ้นเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะต้องร่วมในการขาดทุนด้วย ดังบริษัททั่วไป หรือทำสัญญาเพื่อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยไม่ ดังนั้นการขายหุ้นและทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินของจำเลยก็คือการรับเงินโดยผู้กู้ยืมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมอันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายใน พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 และเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน พนักงานอัยการโจทก์ดำเนินคดีเองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความศาลย่อมไม่กำหนดค่าทนายความให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การล้มละลาย และการพิพากษาคดี
จำเลยรับว่าในการขายหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไปนั้น จำเลยตกลงทยอยซื้อคืนโดยแบ่งเงินค่าหุ้นหรือสัญญาซื้อขายบ้านออกเป็น 24 งวด ให้ประชาชนขายคืนจำเลยเดือนละงวด จำเลยจะให้กำไรเป็นเงิน 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนในแต่ละงวดตลอดไปจนครบ 24 งวด จำเลยดำเนินกิจการดังกล่าว1 ปีเศษแล้วหยุดกิจการเพราะถูกจับ มีประชาชนทำสัญญากับจำเลย5,850 ราย เป็นเงินรวม 601,790,000 บาท จำเลยซื้อคืนจากประชาชนจำนวน 149,873,500 บาท เหลือเงินที่จำเลยยังมิได้ซื้อคืน441,916,500 บาท ดังนี้ การที่ประชาชนซื้อหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินกับจำเลยนั้นประชาชนมุ่งที่จะขายคืนเป็นรายเดือนเพื่อที่จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุนด้วย จึงหาใช่เป็นการซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นในรูปของเงินปันผลซึ่งจะต้องร่วมกันในการขาดทุนด้วยดังบริษัททั่วไปหรือการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินที่ผู้ซื้อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยทั้งสองไม่การกระทำของจำเลยเป็นการรับเงินโดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน อันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยเป็นหนี้จำนวน 451,916,500 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องใช้คืนประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และจำเลยมีสินทรัพย์หักแล้วต่ำกว่าหนี้สินถึง 429,814,215.60 บาท จำเลยจึงมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลชอบที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องล้มละลายของผู้กู้ยืมเงินตามพรบ.การกู้ยืมเงินฯ และการพิสูจน์การมีส่วนร่วมในการกระทำผิด
เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 อยู่ในฐานะเป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้วพนักงานอัยการย่อมฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 10 ส่วนจำเลยที่ 6 เมื่อมิได้เป็นผู้กู้ยืมเงิน พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 10.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจากคดีกู้ยืมเงินตามพ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ จำเลยมีส่วนร่วมหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในฐานะประธานกรรมการยังจัดให้ประชุมผู้ร่วมลงทุนออกหนังสือยืนยันว่าบริษัทยังดำเนินธุรกิจเป็นปกติ ทั้งยังออกหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินทุนคืนแก่ผู้ร่วมลงทุนทุกราย เป็นการกำกับดูแลธุรกิจบริษัทประหนึ่งตนเป็น กรรมการผู้จัดการ พฤติการณ์บ่งชัดว่าได้ร่วมคบคิดกับบริษัท ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ กรรมการผู้จัดการและ มิได้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลย ที่ 1 ก็เป็นผู้กู้ยืม เงินตามนัยพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะ เป็นผู้กู้ยืมเงินและได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนด ดังกล่าว มาตรา 10 บริษัทเป็นผู้กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้กู้ยืมเงินไปด้วยตามนัยแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 การที่จำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นโดยลงนามคนเดียว และไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น หาทำให้ฐานะของจำเลยที่ 2 ที่เป็นผู้แทนบริษัทเปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว เช่นนี้ พนักงานอัยการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 10 จำเลยที่ 2 จะได้หลอกลวงประชาชน หรือไม่ หา ได้กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 6 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้วยผู้หนึ่ง แต่ จำเลย ที่ 6ก็มิได้เป็นกรรมการบริษัท และไม่เคยได้รับเงินจาก ผู้ ร่วม ลงทุน โดยจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุน แต่ อย่างใดจำเลยที่ 6 ไม่มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกับบริษัท ใน การ กู้ยืม เงินจากผู้ร่วมลงทุน จำเลยที่ 6 จึงมิใช่ผู้กู้ยืมเงิน ตาม นัย พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 เป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พระราชกำหนด ดังกล่าวมาตรา 10 ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา และได้ดำเนินการพิจารณาสืบพยานหลักฐานจนเสร็จสิ้นแล้วมีคำพิพากษา ไปประกอบกับคดีส่วนอาญาที่อ้างถึงนั้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อใด ก็ไม่อาจทราบได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรอคดีนี้ไว้ ฟัง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีกู้ยืมเงิน แม้เงินกู้มาจากบุคคลอื่น หากมีเจตนาช่วยเหลือผู้ให้กู้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ แม้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1รับไป จะเป็นเงินของมารดาโจทก์และมารดาโจทก์เป็นผู้มอบเงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องที่ มารดา โจทก์มีเจตนาช่วย ออกเงินกู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นบุตร โจทก์ในฐานะเป็นผู้ให้กู้ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ และฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน.
of 35