พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การส่งมอบงาน, การแก้ไขงานเพิ่มเติม, และสิทธิในการเรียกค่าจ้าง
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้วต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2529ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝา บ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529 แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย ให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงาน แล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตรเมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่า555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไข งานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล อนาคต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาจากการก่อสร้างที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างอาคารคอนโดมิเนียม การตอกเสาเข็มจำเลยที่ 2 ได้ทำตามสัญญาที่ตกลงกันไว้และตรงตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างในระหว่างการก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ได้ให้ตัวแทนไปตรวจการก่อสร้างด้วย การตอกเสาเข็มจึงเป็นส่วนการงานที่จำเลยที่ 1 สั่งให้จำเลยที่ 2 กระทำเมื่อเกิดการเสียหายขึ้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย การที่เศษวัสดุก่อสร้างตกลงไปในบ้านโจทก์หรือคนงานทิ้งขยะลงไปในบ้านโจทก์ เป็นผลจากการกระทำของจำเลยที่ 2หรือลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่มิได้ระมัดระวังในการดำเนินการก่อสร้าง มิใช่เป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ในคำสั่งหรือในการเลือกหาผู้รับจ้างเพราะจำเลยที่ 2ดำเนินธุรกิจก่อสร้างมีวิศวกรควบคุมงานนับได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เลือกหาผู้รับจ้างที่ควรจะทำงานของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารชั่วคราวบนที่สาธารณะ: นิยาม 'อาคาร' และ 'ก่อสร้าง' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 คำว่าอาคารหมายความถึง ตึก บ้าน เรือน โรง แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ จำเลยปลูกเพิงหลังคามุงสังกะสีและตีฝาด้วยสังกะสี ขนาดกว้าง6 เมตร ยาว 6 เมตร เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการค้าขายขึ้นในที่ดินในเขตเทศบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะใช้วัสดุค้ำหลังคาไว้ อันมีลักษณะเป็นการชั่วคราวสามารถรื้อถอนได้โดยง่ายก็ตาม ก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ส่วนคำว่าก่อสร้าง นั้น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามไว้ว่า หมายถึงสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมจะนำเอาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมดจึงเป็นการก่อสร้างอาคารแม้จะเป็นการชั่วคราวก็ไม่อาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการก่อสร้างรบกวนการอยู่อาศัย แม้ไม่ถึงขั้นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจ แต่ยังต้องชดใช้
จำเลยตอกเสาเข็มปลูกสร้างอาคารโรงแรม 16 ชั้น ทำให้โจทก์ทนทุกขเวทนาแสนสาหัส นอนไม่หลับเพราะหนวกหู ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทำให้บ้านเรือนสกปรกบ้านสั่นสะเทือน หินและไม้ตกลงบนหลังคาบ้านโจทก์อันอาจจะเกิดอันตรายต่อโจทก์และบริวารได้ไม่ปรากฏว่าความทนทุกข์ทรมานสาหัสดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของโจทก์ แต่เป็นเรื่องเสียหายต่ออนามัยและสิทธิจะอยู่อย่างสงบไม่ถูกรบกวนเพราะความทรมานนอนไม่หลับอันเนื่องจากฝุ่นละอองเสียงจากการก่อสร้างอันได้แก่การตอกเสาเข็ม และความหวาดระแวงอันเกิดจากสิ่งของตกหล่น ลงมาบนหลังคาอันอาจเกิดอันตรายแก่อาคารและผู้อยู่อาศัยในบ้าน รวมทั้งการอัดตัวของดินทำให้บ้านเรือนโจทก์เสียหายอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยเหตุการณ์เช่นนี้เกิดอยู่ตลอดเวลาประมาณ 2 เดือน ทำให้โจทก์เสียหายแก่อนามัยรวมทั้งสิทธิส่วนตัวที่จะมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขทั้งร่างกายและจิตใจ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3007/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการก่อสร้างที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย และขอบเขตค่าเสียหายที่เรียกได้
ค่าจ้างทนายความดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองที่กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ต้องจ่ายไปมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นความเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของตึกที่ทำการก่อสร้างได้ยื่นคำขออนุญาตโดยมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน รายการคำนวณแนบไปด้วยเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อเป็นผู้ควบคุมงานตอกเสาเข็ม ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องใช้ปั้นจั่นขนาดใหญ่ตอกเสาเข็มคอนกรีตลงในบริเวณที่ก่อสร้างเพื่อทำการก่อสร้างตึกสี่ชั้นซึ่งอยู่ใกล้บ้านโจทก์ทั้งสองเมื่อผู้รับจ้างกระทำการดังกล่าวทำให้บ้านโจทก์ทั้งสองแตกร้าวเสียหาย จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้สั่งให้ผู้รับจ้างกระทำการนั้นและเกิดการเสียหายขึ้น ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดในส่วนของการงานที่สั่งให้ทำ จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การประมาทเลินเล่อ และความสุจริตของผู้ก่อสร้าง
จำเลยทราบดีว่าที่ดินข้างเคียงมีเจ้าของและที่ดินของจำเลยกับที่ดินข้างเคียงเป็นที่ดินมีโฉนด ก่อนทำการก่อสร้างจำเลยควรรังวัดสอบเขตให้ตรงกับโฉนดที่ดินของจำเลยเสียก่อน แต่จำเลยไม่กระทำจึงเป็นการก่อสร้างตามอำเภอใจ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงทราบแล้วไม่คัดค้านหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินในขณะที่จำเลยทำการก่อสร้างเมื่อตึกแถวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการก่อสร้าง: การรบกวนสิทธิความเป็นส่วนตัวและอนามัยจากการตอกเสาเข็มและการสั่นสะเทือน
ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าต้องทนทุกขเวทนาแสนสาหัส ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจนอนไม่หลับ เพราะหนวกหู ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทำให้บ้านเรือนสกปรก บ้านสั่นสะเทือนหินและไม้ตกลงบนหลังคาบ้านโจทก์เกรงจะเกิดอันตรายต่อโจทก์และบริวารนั้น เป็นเรื่องเสียหายต่ออนามัยและสิทธิจะอยู่อย่างสงบไม่ถูกรบกวน เพราะความทรมานนอนไม่หลับอันเนื่องจากฝุ่นละอองเสียงจากการก่อสร้างอันได้แก่การตอกเสาเข็มและความหวาดระแวงอันเกิดจากสิ่งของตกหล่นลงมาบนหลังคาอันอาจเกิดอันตรายแก่อาคารและผู้อยู่อาศัย รวมทั้งการอัดตัวของดินทำให้บ้านเรือนโจทก์เสียหายอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย เหตุการณ์เช่นนี้เกิดอยู่เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน ตามพฤติการณ์ทำให้โจทก์เสียหายแก่อนามัยรวมทั้งสิทธิส่วนตัวที่จะมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขทั้งร่างกายและจิตใจ โจทก์จึงสมควรได้รับชดใช้ค่าเสียหายในความเสียหายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้าง: การตัดรากต้นไม้ใกล้ท่อระบายน้ำทำให้ต้นไม้ล้มทับคน
จำเลยที่ 2 รับจ้างเทศบาลจำเลยที่ 1 ก่อสร้างทางระบายน้ำจำเลยที่ 2 ขุดดินวางท่อระบายน้ำตามแนวที่วิศวกรผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 กำหนดให้โดยแนวอยู่ห่างจากต้นหางนกยูงเพียงประมาณ20 เซนติเมตร มีการตัดรากของต้นหางนกยูงด้านที่อยู่ใกล้กับบ่อพักท่อระบายน้ำนั้นออก ต้นหางนกยูงมีลำต้นขึ้นเอียงไปทางถนนโดยทำมุมกับถนนประมาณ 45 ถึง 60 องศา ก่อนเกิดเหตุแล้วและไม่มีรากแก้วคงมีแต่รากฝอยการที่จำเลยที่2ตัดรากของต้นหางนกยูงด้านที่อยู่ติดกับบ่อพักน้ำโดยที่ต้นหางนกยูงเอียงไปทางถนนทำมุมกับถนนอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 ควรจะคาดเห็นได้ว่าจะทำให้ต้นหางนกยูงล้มลงได้ แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้หาทางป้องกันมิให้ต้นหางนกยูงล้มลง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความประมาทที่ต้นหางนกยูงล้มทับผู้ตายทำให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา จึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 2 เป็นการละเมิด วิศวกรผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดแนววางท่อระบายน้ำให้จำเลยที่ 2 โดยกำหนดแนวให้อยู่ห่างจากต้นหางนกยูงที่ล้มลงเพียงเล็กน้อย เป็นผลให้การขุดดินวางท่อระบายน้ำของจำเลยที่2 ต้องตัดรากของต้นหางนกยูงที่ล้มลงออกด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ก่อสร้างวางท่อระบายน้ำเป็นผู้ผิดในคำสั่งที่จำเลยที่ 1 ให้ไว้และต้องร่วมกับจำเลยที่ 2รับผิดเพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง: เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน ไม่ใช่ทำงานเสร็จ การต่ออายุสัญญาก่อนส่งมอบงานไม่กระทบอายุความ
จำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ ระยะเวลาที่ต่ออายุสัญญาครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย การต่ออายุสัญญาดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการนับอายุความ เพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงาน หาใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จไม่
เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)
เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน แม้มีการต่ออายุสัญญา
โจทก์ทำงานล่าช้าไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามสัญญา ได้รับการต่ออายุสัญญา 2 ครั้ง ระยะเวลาที่ต่ออายุดังกล่าวต่างครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย แม้การต่ออายุสัญญาดังกล่าวจะทำให้อายุของสัญญายืดออกไป แต่ก็หาได้มีผลกระทบต่อการนับอายุความ ไม่ เพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงานกันมิใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จ เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 เกิดจากจำเลย ที่ 1หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้าง กำหนดเบี้ยปรับไว้เมื่อโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้าจึงถูก จำเลยที่ 1 ปรับ ต่อมาภายหลังโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีก แต่ไม่ได้ รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้นการคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้าง โจทก์ตามสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อัน จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างและเงินค่าจ้างขุดคูน้ำโดยอ้างว่าคณะกรรมการควบคุมงานของจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ ขุดเพิ่มขึ้นจากงานตามสัญญาเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการ ส่งมอบและรับมอบงานกัน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา165(1).