คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษาในคดีหมิ่นประมาท ศาลอนุญาตให้โฆษณาบางส่วนได้หากไม่ได้ระบุให้โฆษณาฉบับเต็ม
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 ศาลจะให้ โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษามิได้ระบุให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งฉบับในหนังสือพิมพ์การที่จำเลยโฆษณาคำพิพากษาแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์โดยมีข้อความว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองและคดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ตรงตามคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องนอกคำฟ้อง: การอ้างเสียเสรีภาพเกินขอบเขตคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งห้าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่พนักงานของจำเลยสั่งห้ามเดินทางทางเครื่องบินของจำเลยเป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายในการติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศสิงคโปร์ และค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ อับอายขายหน้าสูญเสียเวลานัดหมายและธุรกิจ แต่ฎีกาของโจทก์ทั้งห้าที่ว่า การที่จำเลยห้ามไม่ให้โจทก์ที่ 1 ขึ้นเครื่องบินของจำเลยเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพ นั้นเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ทำให้โจทก์ทั้งห้าเสียเสรีภาพก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การจัดการงานที่ขัดต่อความประสงค์ของตัวการ, และขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณีมิใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลให้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133การที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยคดีไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1นั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีแล้วและมีอำนาจวินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1ได้ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดแต่โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันมอบอำนาจฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396เป็นกรณีผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมาและโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าวจึงมิใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์แท้จริงของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่1มอบหมายจึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799-1800/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างและตัวแทนตามกฎหมายแรงงาน: การกระทำของตัวแทนผูกพันตัวการ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา5ให้คำนิยามของคำว่านายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ว่านายจ้างหมายความว่าผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ทำการแทนในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลหมายความว่าผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลนั้นและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนเมื่อจำเลยที่2เป็นผู้อำนวยการสำนักงานและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสองด้วยตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่2เป็นผู้ทำการแทนตามกฎหมายประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77บัญญัติว่า"ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลม"และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาตรา820บัญญัติว่า"ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน"ซึ่งมีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำแทนตัวการจำเลยที่1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายในการดำเนินการขอคืนภาษีการค้าแทนผู้อื่น
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่การที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นใหม่ในการพิพากษาคดีว่าจำเลยมีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์หรือไม่ ก็เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวเพราะหากวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่หรือไม่มีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์แล้ว การที่จำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ก็จะเป็นการไม่ชอบหรือชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง หาเป็นการพิพากษานอกประเด็นข้อพิพาทไม่
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำเลยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้บริหาร ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา25 (3) และ (4) กำหนดหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไว้ว่า ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์ และคณะรัฐมนตรีก็มิได้มอบหมายให้จำเลยกระทำการแทนโจทก์ อีกทั้งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 183)พ.ศ.2530 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 204) พ.ศ.2532 และ (ฉบับที่ 211) พ.ศ.2533 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์ จำเลยจึงปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และทุนทรัพย์ในคดีพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
อุทธรณ์ของจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดก หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์ จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดีจึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ 54,000 บาท โดยไม่แยกทุนทรัพย์ตามที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง เมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้ง – ประเด็นต่างกัน – ไม่อาจรวมพิจารณา
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกหนี้เงินตามสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปแล้วชำระคืนให้โจทก์ไม่ครบและขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และได้ชำระเงินที่กู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะชำระในส่วนที่ค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าถูกโจทก์และบริษัท ด.หลอกลวงให้หลงเชื่อว่า บริษัทดังกล่าวเสนอขายที่ดินสวนเกษตรจะปลูกต้นมะขามหวาน โดยแบ่งเป็นแปลงละ 2 ไร่ พร้อมกับจัดให้มีสาธารณูปโภค จำเลยที่ 1 จึงได้ตกลงทำสัญญาจองและจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทดังกล่าว ต่อมาบริษัทดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามโครงการที่เสนอขายอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินกู้ในส่วนที่ยังชำระไม่ครบคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างบริษัท ด. กับจำเลยที่ 1 โดยอ้างเหตุว่า บริษัทดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามโครงการจัดขายที่ดินสวนเกษตรจึงเป็นข้อเท็จจริงและหลักฐานที่จะนำสืบคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างไปจากฟ้องเดิมของโจทก์ที่ขอบังคับตามสัญญากู้เงินและจำนอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัท ด. และว.จึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมของโจทก์ได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์จำกัดสิทธิฎีกาของผู้ค้ำประกัน - การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเฉพาะจำเลยหลัก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน18,327,369 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน 2,898,257.21 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ปรากฏว่าเฉพาะโจทก์เท่านั้นที่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพิ่มขึ้น จำเลยที่ 3หาได้อุทธรณ์ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 21,904,294.10 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็หามีผลทำให้จำเลยที่ 3ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย คือวันที่ 1 เมษายน 2534 ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8271/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการมอบอำนาจ: การมอบอำนาจครั้งเดียวสำหรับกระบวนการทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน และผลกระทบต่อการปิดอากรแสตมป์
โจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทน ค่าปลงศพและค่าซ่อมรถจากกรณีรถชน แม้ในหนังสือมอบอำนาจจะมีข้อความต่อไปว่า และให้มีอำนาจเป็นผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ถ้อยคำ ถอนคำร้องทุกข์ เข้าเป็นโจทก์ร่วมในชั้นศาลและอื่น ๆ เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นด้วยก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวก็เป็นการกระทำในเรื่องเดียวกันเกี่ยวกับเรื่องการเรียกค่าสินไหมทดแทน ค่าปลงศพและค่าซ่อมจากกรณีรถชน จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว ซึ่งตามประมวลรัษฎากรกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการค้ำประกัน: ค้ำทั้งหมดรวมดอกเบี้ย ไม่จำกัดวงเงิน
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ ระบุว่าเนื่องในการที่โจทก์ยอมให้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่าลูกหนี้กู้ยืมเงินหรือก่อหนี้สินประเภทต่าง ๆ เช่น ขายลดเช็ค ฯลฯ จำเลยที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันชำระหนี้ดังกล่าวมาของลูกหนี้ ภายในวงเงิน 2,500,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระหนี้นั้น ไม่ว่าหนี้เครดิตสินเชื่อหรือความรับผิดชอบนั้นจะมีอยู่แล้วในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้า ทั้งนี้จนกว่าเจ้าหนี้ (โจทก์) จะได้รับชำระหนี้หรือได้รับชดใช้โดยสิ้นเชิง ข้อความดังกล่าวนี้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2 มิได้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำกัดเพียง 2,500,000 บาท แต่รวมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันดังกล่าวด้วย
of 66