พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาไม่รับพิจารณา
ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ขาดนัดแล้วพิพากษายกฟ้องเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 แต่กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ โจทก์จะฎีกาอ้างว่าที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ขาดนัดนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 หาได้ไม่ เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ขาดนัดชอบหรือไม่เป็นอันยุติแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ห้ามฟ้องศาลโดยตรง
ในกรณีตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 ถ้าโจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งของนายทะเบียน เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยหรือสั่งอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นเป็นที่สุด ฉะนั้น เมื่อกฎหมายได้กำหนดวิธีการอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับในกรณีนี้ไว้แล้ว โจทก์จะเลือกไปดำเนินการคัดค้านโดยวิธีอื่น เช่น โดยฟ้องคดีต่อศาล หาได้ไม่
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้น ถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509)
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้น ถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและการหลบหนี: ผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามประกาศคณะปฏิวัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 2 มีความมุ่งหมายว่า ไม่ประสงค์จะให้คุมบุคคลไว้ตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจึงกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาและมีคำสั่งทุกระยะ 3 เดือนว่าให้ควบคุมต่อไปหรือให้ปล่อยไปการที่คณะกรรมการมิได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นจึงไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวหากนายปุ่นหลบหนีการควบคุมในช่วงระยะเวลานั้นนายปุ่นก็ไม่มีความผิดฐานหลบหนีการควบคุม (อ้างนัยฎีกา 105/2506)แต่การที่คณะกรรมการไม่มีคำสั่งให้ทันเมื่อครบ 3 เดือน จนเวลาล่วงมาระยะหนึ่งดังกล่าว จึงได้พิจารณามีคำสั่งให้ควบคุมตัวนายปุ่นไว้ต่อไปเช่นนี้ไม่เป็นเหตุทำให้คำสั่งหลังๆ นั้นไม่ชอบด้วยประการใดเพราะตัวนายปุ่นก็ยังต้องควบคุมอยู่ตลอดมา เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาและมีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ให้ควบคุมไว้ต่อไป ก็ต้องถือว่านายปุ่นได้กลับถูกควบคุมไว้โดยชอบด้วยประกาศดังกล่าวอีกเมื่อนายปุ่นหลบหนีการควบคุมจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเอกสารมหาชนในคดีอาญา และการโต้แย้งกระบวนพิจารณาที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอน
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติถึงเรื่องพยานเอกสารมหาชนไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันว่าด้วยการนำสืบเอกสารมหาชนมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และมาตรา 226 บัญญัติไว้
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยอ้างคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานจำเลยแต่จำเลยมิได้ถามค้านโจทก์หรือพยานโจทก์ถึงว่าได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนอย่างใดไว้ ศาลจึงรับเอาคำให้การชั้นสอบสวนมาเป็นข้อเสื่อมเสียแก่คดีโจทก์ไม่ได้นั้นปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฝ่ายโจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นจดแจ้งข้อโต้แย้งนี้ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 และมาตรา 226(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติการดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ได้
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยอ้างคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานจำเลยแต่จำเลยมิได้ถามค้านโจทก์หรือพยานโจทก์ถึงว่าได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนอย่างใดไว้ ศาลจึงรับเอาคำให้การชั้นสอบสวนมาเป็นข้อเสื่อมเสียแก่คดีโจทก์ไม่ได้นั้นปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฝ่ายโจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นจดแจ้งข้อโต้แย้งนี้ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 และมาตรา 226(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติการดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การ และประเด็นการฎีกาที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย
คดีที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยว่าจะรับเป็นคำให้การเพิ่มเติมหรือไม่นั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องเพิ่มเติมคำให้การนี้เสียก่อนแล้วจึงให้ดำเนินการพิจารณาต่อไปได้
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่าไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติมแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบในข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
การที่โจทก์โต้แย้งในชั้นฎีกา โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ถือว่าไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
หากศาลชั้นต้นได้สั่งให้รับคำให้การเพิ่มเติมแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะสั่งว่า จะให้สืบในข้อต่อสู้นั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ทำตามสิทธิฟ้องศาลย่อมไม่มี
การฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการเรียกเก็บภาษีร้านค้า เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บไม่ถูกต้องนั้น ผู้เสียภาษีจะต้องเสียตามที่เจ้าหน้าที่ประเมินมาก่อนแล้วจึงอุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัดหรืออธิบดีแล้วแต่กรณี ต่อจากนั้นจึงจะอุทธรณ์ต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่จัดการอุทธรณ์ตามเกณฑ์และวิธีการดั่งทีกฎหมายบัญญัติไว้แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลก็หามีไม่ ศาลไม่มีอำนาจจะประทับฟ้องไว้พิจารณาและในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยจะไม่คัดค้านมาแต่ต้น ศาลสูงก็พิพากษายกฟ้องได้ เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเนื่องว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้องของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการเรียกเก็บภาษีต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากไม่ทำตามสิทธิในการฟ้องศาลเป็นอันสิ้นสุด
การฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการเรียกเก็บภาษีร้านค้า เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บไม่ถูกต้องนั้น ผู้เสียภาษีจะต้องเสียตามที่เจ้าหน้าที่ประเมินมาก่อนแล้วจึงอุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัดหรืออธิบดีแล้วแต่กรณี ต่อจากนั้นจึงจะอุทธรณ์ต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่จัดการอุทธรณ์ตามเกณฑ์และวิธีการดั่งที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลก็หามีไม่ ศาลไม่มีอำนาจจะประทับฟ้องไว้พิจารณา และในกรณีเช่นนี้ แม้จำเลยจะไม่คัดค้านมาแต่ต้น ศาลสูงก็พิพากษายกฟ้องได้ เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเนื่องว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและข้อกำหนดของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยทำผิดจริงดังฟ้อง และพิพากษาลงโทษจำเลยแต่ให้รอการลงอาญาไว้ตาม มาตรา 41,42 กฎหมายลักษณะอาญา โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ฎีกาโจทก์ไม่มีผู้รับรองตามมาตรา 221 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องยื่นตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด การยื่นเรื่องโดยตรงต่อรัฐมนตรีไม่ถือเป็นการอุทธรณ์
การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งสั่งให้เลิกเลี้ยงสุกรในเขตต์เทศบาลนั้นต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานตรงต่อรัฐมนตรีไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อหักหนี้และคัดค้านอำนาจฟ้องที่ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น หากไม่ทำตามขั้นตอน จะไม่สามารถยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
ศาลสั่งห้ามมิให้ผู้แพ้คดีชำระเงินแก่ผู้ชนะคดีและให้นำไปวางแก่เจ้าพนักงานโดยคำร้องของเจ้าหนี้ผู้ชนะคดีคนหนึ่ง ภายหลังผู้แพ้คดีนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของผู้ชนะคดีเสียเองดังนี้ เจ้าหนี้ของผู้ชนะคดีคนอื่นจะขอให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ เพราะคดีไม่เข้าประมวลแพ่ง ม.319 และวิธีพิจารณาความแพ่ง