คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขายฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1122/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ขายฝากและการรับผิดแทนตัวแทน แม้ไม่มีเอกสารมอบอำนาจ
โจทก์ไม่รู้หนังสือ. เชิดบุตรของตนเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อทางเอกสารกับจำเลยตลอดมา เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์. โจทก์ให้บุตรทำใบรับเงินให้จำเลย โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตเสมือนว่าบุตรนั้นเป็นตัวแทนของตน. โดยจำเลยไม่จำต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมาแสดง.
บทบัญญัติมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่า การนำสืบถึงการใช้หนี้เงินกู้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงนั้น. ไม่นำมาใช้บังคับ.ในกรณีชำระเงินไถ่การขายฝาก.
เอกสารใบรับเงินซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์ในวันออกใบรับเงินนั้น. เมื่อมีการปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว. แม้จะมิได้เสียเงินเพิ่มอากร. ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746-747/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายกำหนดไถ่ขายฝากต้องห้ามตามกฎหมาย แม้รับเงินผ่อนชำระแล้ว จำเลยต้องคืนเงินหากไถ่ไม่ได้
โจทก์ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินไว้กับจำเลย. ฟ้องโจทก์รับอยู่ในตัวว่าโจทก์มิได้ไถ่ทรัพย์พิพาทภายในกำหนด. แต่อ้างว่าจำเลยยอมให้โจทก์ผ่อนชำระราคาตามสัญญาขายฝากจนครบ. และเมื่อครบแล้วจำเลยจะคืนทรัพย์พิพาทที่ขายฝากให้. การตกลงดังนี้เป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา496.
เมื่อโจทก์ไม่สามารถไถ่ที่ดินคืนภายในกำหนดเวลา.จำเลยก็จำต้องคืนเงินค่าผ่อนชำระที่ดินให้แก่โจทก์. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทหลังสัญญาซื้อขาย/ขายฝากเป็นโมฆะ: จำเลยยังมิได้สละการครอบครองทันที ต้องสืบพยาน
จำเลยขายนาพิพาทให้โจทก์โดยทำหนังสือกันเอง มิได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ แต่ก็ยังมีผลเป็นการแสดงถึงพฤติการณ์ของโจทก์จำเลยเกี่ยวกับนาพิพาทซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ว่ามีเจตนาต่อกันอย่างไร หนังสือสัญญานี้ในตอนต้นมีข้อความว่าจำเลยขายนาพิพาทให้โจทก์ และได้รับชำระราคาจากโจทก์เป็นการถูกต้องแล้ว แต่ในตอนท้ายกล่าวว่า "ให้ผู้ขายตรึกตรองและตกลงปลงใจพิจารณาอยู่ภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันทำหนังสือนี้เป็นต้นไป ถ้าพ้นจากภายใน 10 วันแล้ว ที่ดินนาดังกล่าวแล้ว ให้นายบุ่ง กลมเกลียว (โจทก์) ครอบครองต่อไป" ฉะนั้น ถึงหากจำเลยได้มอบที่นาให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญานั้น ก็ไม่พอฟังว่าจำเลยสละการครอบครองให้แก่โจทก์ไปในทันใดนั้นแล้ว เพราะยังอยู่ในระหว่างที่จำเลยจะตัดสินใจต่อไป นอกจากนี้ จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าคดีว่าต่อจากวันขายฝาก 8 วัน จำเลยได้นำเงินไปขอไถ่ แต่โจทก์ยังไม่รับเงิน ให้จำเลยเอาไว้เป็นเงินยืมจากโจทก์ โดยโจทก์ขอนำนาพิพาทต่างดอกเบี้ยไปก่อน เป็นการโต้เถียงว่าโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ยึดถือครอบครองนาพิพาทแทนจำเลยอยู่ต่อมา เพราะจำเลยได้จัดการไถ่ภายในกำหนด 10 วัน และโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ เพื่อให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เป็นการครอบครองเป็นของโจทก์เอง ฉะนั้น คดีจะต้องให้คู่ความสืบพยานเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยเกี่ยวกับอำนาจฟ้องในคดีไถ่ถอนขายฝากที่ศาลล่างตัดสินเป็นแนวเดียวกัน คดีมีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5,000 บาท
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า "โจทก์ได้ขอไถ่ที่ดินขายฝากจากจำเลยภายในกำหนด แล้วจำเลยหลีกเลี่ยไม่ยอมให้ไถ่" จำเลยฎีกามีใจความว่า โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง เพราะโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 163, 496 ดังนี้ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองเมื่อมีการโอนทรัพย์สินโดยสัญญาขายฝาก ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองต่อผู้รับโอนได้
จำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์. แล้วนำไปขายฝากกับผู้ร้องและไม่ไถ่กรรมสิทธิ์ จึงตกเป็นของผู้ร้องโดยมีภาระจำนองติดไปด้วยโจทก์จึงมีสิทธิบอกกล่าวแก่ผู้ร้องว่ามีความจำนงจะบังคับจำนองแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินจำนองจากจำเลยได้ตาม มาตรา 736, 737เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ฟ้องขอบังคับจำนองแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องยังไม่ได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ โจทก์ยังไม่มีสิทธิจะยึดที่พิพาทที่จำนองแก่โจทก์ เพราะผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอก
โจทก์ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ตามมาตรา 702(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืน
การขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้วจำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือสัญญาขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนการขายฝาก: ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำให้สิทธิไถ่ถอนสิ้นสุด
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับไถ่ถอนการขายฝาก และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับไถ่การขายฝาก โดยให้นำเงินสินไถ่มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันพิพากษา เมื่อจำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ต่อมาได้ยื่นคำแถลงว่าโจทก์ผิดนัดไม่นำเงินสินไถ่มาวางศาลภายในกำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ คดีย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป เพราะทรัพย์ที่ขายฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย โจทก์หมดสิทธิที่จะไถ่ถอนคืนแล้ว ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดี คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของจำเลย 3 ใน 4 พร้อมด้วยคาตัดสินและค่าคำบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนการขายฝากผิดนัด นำสู่การหลุดกรรมสิทธิ์ และการจำหน่ายคดี
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับไถ่ถอนการขายฝาก และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับไถ่การขายฝาก โดยให้นำเงินสินไถ่มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันพิพากษา เมื่อจำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ต่อมาได้ยื่นคำแถลงว่าโจทก์ผิดนัดไม่นำเงินสินไถ่มาวางศาลภายในกำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ คดีย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อไป เพราะทรัพย์ที่ขายฝากหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย โจทก์หมดสิทธิที่จะไถ่ถอนคืนแล้ว ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดี คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของจำเลย 3 ใน 4 พร้อมด้วยค่าตัดสินและค่าคำบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451-452/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนและการผูกพันตามสัญญา: การขายฝากเกินอำนาจมอบหมาย
การที่เจ้าของที่ดินลงลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินโดยมิได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยที่ 1 ไปจัดการกรอกข้อความเติมไปด้วยว่าให้มีอำนาจทำนิติกรรมขายฝากได้ด้วย และนำที่ดินไปขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น ถือว่าเป็นการทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวการ ตามปกติจึงไม่ผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เว้นแต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการนั้นอยู่ในขอบอำนาจของตัวแทน หรือตัวการให้สัตยาบัน จึงจะผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 และ 823
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจ หากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์ จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้น ถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อ นิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองนาพิพาทหลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ: การครอบครองแทนเจ้าของ vs. การครอบครองเพื่อตน
จำเลยทำสัญญาขายฝากนาพิพาทไว้กับโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีเงื่อนไขว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินมาไถ่ ก็ให้โจทก์ทำนาเรื่อยไป การขายฝากจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ที่โจทก์เข้าครอบครองนาพิพาทจึงเป็นการครอบครองแทนจำเลย และการที่โจทก์ครอบครองจนกว่าจำเลยจะใช้เงินคืนเช่นนี้ ถึงจะนานสักกี่ปีก็ยังถือว่าครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของนาพิพาทอยู่นั่นเอง แม้โจทก์จะมีชื่อในแบบ ส.ค.1 และเสียภาษีเงินบำรุงท้องที่มาก็ตาม ก็ต้องถือว่าทำแทนจำเลยเช่นกัน
กรณีดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยสละเจตนาการครอบครอง ดังนั้น หากโจทก์จะถือว่าครอบครองเพื่อตน ก็ต้องแสดงเจตนาต่อจำเลยว่าจะครอบครองเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381.
of 32