คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อตกลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยข้อตกลง: สละสิทธิ vs. สัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อความในหนังสือสละมรดกที่ ถ. และโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขว่าต้องสร้างอนุสรณ์สำหรับฝังอัฐิ ฮ. ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่และเจาะจงให้ที่ดินที่เหลือตกแก่ ส.และจำเลยที่1โดยเฉพาะนั้นไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612 และ 1613 เพราะการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเจตนาให้มรดกนั้นตกได้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้ แต่หลังจาก ฮ. ตายแล้วทายาทของ ฮ. ได้เจรจาตกลงกันโดยทำบันทึกข้อตกลงว่าที่ดินของ ฮ. 2 แปลง ถ. มารดาโจทก์ตกลงเอาไว้เป็นของตนก็เพื่อเป็นหลักฐานว่า ถ. และโจทก์สละสิทธิในที่ดินพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 1750 โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรอฟังผลคดีอื่น การเปลี่ยนแปลงคดีที่อ้างถึง และการวินิจฉัยโดยอาศัยผลคดีที่เปลี่ยนแปลง
แม้คู่ความตกลงขอถือเอาผลแห่งคดีหมายเลขดำที่ 1227/2533 มาเป็นข้อชี้ขาดเพียงประเด็นเดียวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 1227/2533 ได้ถอนคำร้องคดีดังกล่าวและยื่นคำร้องใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งมีประเด็น ของคำร้องเช่นเดียวกันกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1227/2533 ทุกประการ และขอให้ศาลรอผลการพิจารณาคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งศาลชั้นต้นจดรายงาน กระบวนพิจารณาว่าสมควรรอผลการพิจารณาคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งมีประเด็นอันเดียวกันกับ คดีนี้ก่อนแสดงว่าคู่ความตกลงขอถือเอาผลแห่งคดีหมายเลขดำที่ 976/2534(คดีหมายเลขแดงที่ 1240/2536) มาเป็นข้อชี้ขาดคดีนี้แทน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองชี้ขาดคดีโดยอาศัยผลคดีของคดีหมายเลขแดงที่ 1240/2536 ชี้ขาดคดีจึงหาเป็นการนำเอาข้อเท็จจริงนอกข้อตกลงมาวินิจฉัยชี้ขาดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบัญชีเดินสะพัด: การผูกพันตามข้อตกลงและการจ่ายเงิน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคือสัญญาบัญชีเดินสะพัด เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบและไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็น หนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น ถ้าตามพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่ามีข้อตกลงการเบิกเงินเกินบัญชี และบัญชีเดินสะพัดย่อมบังคับต่อกันได้ ปรากฏว่าจำเลย ได้ยื่นคำขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์ คำขอนั้น นอกจากเป็นข้อตกลงที่จำเลยยอมผูกพันกับธนาคารเรื่อง การฝากเงินแล้ว ยังมีข้อตกลงเกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงิน และถอนเงินว่าจำเลยต้องสั่งจ่ายหรือถอนเงินโดยเช็คของ ธนาคารโจทก์และในกรณีที่ธนาคารผ่อนผันการจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตามทั้งที่เงินฝากคงเหลือไม่พอจ่ายตามเช็คผู้ฝากยอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่ธนาคารผ่อนผันจ่ายไปให้นั้นคืนแก่ธนาคาร โดยถือเสมือนว่าผู้ฝากเป็น หนี้ธนาคารอยู่ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหรือหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในเงินจำนวนนั้น ทั้งได้ความว่าหลังจากทำสัญญาตามคำขอดังกล่าวแล้ว จำเลยได้สั่งจ่ายเช็ค มีการคิดดอกเบี้ยตามประกาศของ ธนาคารและมีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยกันมาโดยตลอดเป็น เวลาประมาณ 6 ปี ดังนี้ คำขอเบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้จะฟังว่าโจทก์ได้แก้ไขอัตราดอกเบี้ยในสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นการแก้ไขเพื่อให้ตรงต่อความเป็นจริง ซึ่งมิได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยหรือประชาชน กลับเป็นประโยชน์ ต่อจำเลย จำเลยเองเพิ่งมาหยิบยกขึ้นเป็นข้ออ้างเมื่อถูกฟ้อง เป็นคดีนี้ ก่อนหน้านี้จำเลยได้มีบัญชีเดินสะพัดกับ โจทก์มาโดยตลอด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงไม่เป็นเอกสารปลอม เมื่อจำเลยได้มีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบัญชี เดินสะพัดกับโจทก์ การจ่ายเงินเกินบัญชีของโจทก์ให้แก่จำเลย จึงมิใช่เป็นการจ่ายเงินตามอำเภอใจ อันเป็นเรื่อง ลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407แต่เป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความในเรื่องลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินเนื่องจากข้อตกลงปลูกสร้างอาคารร่วมผนัง การโอนสิทธิที่ดินในสภาพรุกล้ำ
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันนั้นร่วมกัน โจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยซื้อมาจากภรรยาและทายาทผู้รับมรดกของ ส. เจ้าของที่ดินเดิม ฐานรากที่รุกล้ำและเหล็กเส้นที่งอกเงยเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารร่วมผนังแม้จะมีส่วนรุกล้ำ ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. โจทก์รับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจำนองที่เกินวงเงิน: โมฆะเนื่องจากขัดมาตรา 708 และหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้นตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลง ที่ใช้ได้ เพราะผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกัน เป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: ข้อตกลงเกินวงเงินจำนองเป็นโมฆะ, ดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีค้า
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินประกันหนี้ ของจำเลยที่ 1 โดยกำหนดวงเงินไว้ 710,000 บาท 1,120,000 บาท และ 870,000 บาท ตามลำดับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีความรับผิดชอบตามสัญญาจำนองในต้นเงินดังกล่าว ส่วนข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้น ตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงิน ที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์ รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้นั้น เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะ ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตาม สัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดทีได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เฉพาะกรณีดอกเบี้ยหรือ หนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินเท่านั้น สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนอง ตั้งแต่เมื่อใด คงได้ความตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และ ไถ่ถอนจำนองว่า ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2539 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 4,441,139.09 บาท ซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ไว้ โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีทบต้นตั้งแต่วันดังกล่าวในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจนถึงวันที่สิ้นสุดคำบอกกล่าวและหักทอนบัญชีได้ หลังจากนั้นต้องคิดดอกเบี้ยอัตราเดิมแบบไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจำกัดประเด็นข้อพิพาท และผลของการวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่าย
โจทก์จำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงกัน และตกลงให้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเอกสารฉบับที่พิพาท เพียงประเด็นเดียวว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อย อันจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ หากข้อสัญญาดังกล่าวไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์และหากข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่ต้องมีการ สืบพยานกันต่อไป ข้อตกลงเช่นนี้ถือได้ว่ามีลักษณะ เป็นคำท้า หรือมีการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แล้ว หาจำต้อง มีข้อความว่าคู่ความตกลงท้ากันหรือให้ถือเอาเป็นประเด็น ข้อแพ้ชนะแห่งคดี จึงจะเป็นคำท้าไม่ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองในเรื่องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนให้สัญญากับโจทก์ ในฐานะตัวการว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองใน ราคาและเงื่อนไขที่กำหนด เรื่องการส่งเงินค่าปุ๋ยแก่โจทก์ ในกรณีขายเงินสด ขายเงินเชื่อ หากมีเงินค้างชำระยอมให้ คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นตามอัตราที่ตกลงกัน และข้อปฏิบัติในเมื่อ สัญญาสิ้นสุดลง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อตกลงที่เป็นพันธะ ผูกพันระหว่างคู่กรณี มิได้เกี่ยวข้องหรือกระทบไปถึงผลประโยชน์ ส่วนได้เสียของประชาชนโดยทั่วไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อตกลง นี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามฟ้องตามคำท้า โดยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีในประเด็นข้ออื่นที่คู่ความตกลง สละแล้วต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากข้อตกลงก่อนหย่ามีผลบังคับใช้ได้ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีครอบครัว
บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 4 นั้น มีข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรของโจทก์และจำเลย แม้จะเป็นข้อตกลงที่ทำไว้ก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมายก็ตาม เมื่อยังไม่มีการยกเลิกย่อมมีผลใช้บังคับ เพราะไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้สามีภริยาทำข้อตกลงดังกล่าวไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามข้อตกลงในเอกสารหมาย จ. 4
โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 มิถุนายน 2539 ซึ่งในขณะนั้นมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2535 และ 7/2537 ที่วินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จึงมีอำนาจที่จะรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาได้ แม้ว่าต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาที่ 3/2540 และ 4/2540 วินิจฉัยว่าคดีประเภทเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจในการรับฟ้องและการพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่ชอบมาตั้งแต่ต้นตามคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาเดิมนั้นเสียไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และเมื่อประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีครอบครัวดังวินิจฉัยมาแล้ว ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏขึ้นในชั้นอุทธรณ์ก็ได้มีการโอนคดีของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 15 วรรคสอง จึงถือได้ว่าการพิจารณาพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการถอนเงินบัญชีร่วมหลังเจ้าของบัญชีเสียชีวิต จำเลยมีหน้าที่ให้ความยินยอมตามข้อตกลง
เมื่อ พ.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และจำเลยซึ่งเป็นทายาทของพ. ได้เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินบัญชีเงินฝากในธนาคารคนละครึ่งกับโจทก์แทน พ. แต่เนื่องจากโจทก์กับ พ.ตกลงกันว่า หากคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมต้องให้ทายาทให้ความยินยอมในการถอนเงินฝากในธนาคารตามบัญชีเงินฝากที่พิพาท ดังนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ พ. ตาม ป.พ.พ.มาตรา1600 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องให้ความยินยอมในการที่โจทก์ขอถอนเงินเฉพาะส่วนของโจทก์จากบัญชีดังกล่าว การที่จำเลยไม่ให้ความยินยอมในการที่โจทก์จะถอนเงินส่วนของโจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและหากจำเลยไม่ยินยอม ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแสดงต่อธนาคารแทนการให้ความยินยอมของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิสัญญาอนุญาโตตุลาการ: คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสิ้นไป
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามสัญญาจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตามสัญญา ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ตรวจรับงานและไม่ชำระเงินค่าจ้าง โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวก่อนเช่นกัน และเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยสละผลบังคับตามสัญญาดังกล่าวโดยปริยายแล้ว จำเลยจึงหาอาจยกเอาข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ปฏิบัติอีกได้ไม่
of 118