คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อยกเว้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4373/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้แปรรูปโดยมีหลักฐานการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และข้อยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตแปรรูป
จำเลยมีไม้สักแปรรูปของกลางทั้งหมดไว้ในครอบครองไม้สักแปรรูปของกลางเป็นส่วนหนึ่งของไม้ ในกิจการโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรของ ป. มาก่อน โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าไม้สักในกิจการแปรรูปไม้ ของ ป. เป็นไม้ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กลับปรากฏจากคำเบิกความของ ส.และอ.พยานโจทก์ว่าส.และอ. ต่างเคยไปที่โรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรของ ป. แต่ไม่เคยพบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้มาก่อนค่าพยานจำเลยที่ว่า ป.ซื้อไม้สักที่ถูกต้องตามกฎหมายจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มาใช้ในกิจการโรงงานแปรรูปไม้โดยเครื่องจักรของ ป.ย่อมเป็นไม้ที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ กรณีถือได้ว่าจำเลยมีไม้สักแปรรูปของกลางไว้ในครอบครองโดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้แล้วเมื่อจำเลยมีไม้สักแปรรูปของกลางไว้ในครอบครองโดยมีหลักฐาน แสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้แล้ว เมื่อจำเลยมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิใช่เพื่อการค้า จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะเข้า ข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 40(3) จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสูญหาย-ข้อยกเว้นการนำสืบ + การประกันภัยรถยนต์กรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต
เมื่อต้นฉบับใบอนุญาตขับรถยนต์อยู่ในความครอบครองของ น.ซึ่งหลบหนีคดีอาญา จึงเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นชอบที่โจทก์ที่ 1 จะอ้างสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
จำเลยให้การรับว่า ได้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไว้จริงแต่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยเพราะผู้ขับรถยนต์ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ตามกฎหมายซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนในการขอพิจารณาคดีใหม่: เฉพาะจำเลยที่ถูกบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้ายที่ห้ามมิให้ยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นนั้น หมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้ที่ถูกยึดทรัพย์ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีมาก่อน ข้อกำหนด 6 เดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนยื่นคำขอพิจารณาใหม่ในคดีแพ่ง: การบังคับคดีเฉพาะจำเลยบางราย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกตอนท้ายที่บัญญัติว่า "แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น" นั้นหมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีในคดีนี้มาก่อน ข้อกำหนดหกเดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาข้อยกเว้น แม้คดีห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง หากผู้พิพากษาเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญ
แม้คดีจะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด และอนุญาตให้ฎีกา ก็ต้องรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ใบอนุญาตขับขี่ขาดอายุเกิน 180 วัน ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไว้ว่า การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน เมื่อใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์ขาดต่ออายุลงเกินกว่า 180 วันในเวลาเกิดเหตุจึงต้องตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ดังกล่าว จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งถูกรถยนต์คันดังกล่าวชนได้รับบาดเจ็บ กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่าผู้รับประกันภัยจะไม่ยกความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดนั้น จะนำมาปรับกับเงื่อนไขที่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไม่ได้ เพราะข้อยกเว้นแห่งความรับผิดเพียงทำให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเท่านั้น ไม่ทำให้กรมธรรม์ประกันภัยกลายเป็นไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่ใบอนุญาตหมดอายุเกิน 180 วัน
ข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.13.6 และข้อ 3.9.2 ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดอายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดเหตุดังนี้ เมื่อใบอนุญาตขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ขาดต่ออายุเกินกว่า 180วัน ในเวลาเกิดเหตุ กรณีจึงต้องด้วยเงื่อนไขในข้อ 2.13.6 และ 3.9.2ที่การประกันภัยของจำเลยที่ 3 ไม่คุ้มครองถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.14 ที่ระบุว่าบริษัทจะไม่ยกความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์และอื่น ๆ เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 นั้น ไม่อาจจะนำมาปรับเป็นข้อยกเว้นของข้อ 2.13.6 และ 3.9.2 ได้เพราะความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ไม่ใช่เป็นข้อยกเว้นแห่งความรับผิดตามข้อ 2.13.6 และ3.9.2 ข้อยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.13.6 และ 3.9.2 ดังกล่าวเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเท่านั้น ไม่ทำให้กรมธรรม์ประกันภัยกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไป จึงไม่อาจนำมาปรับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็ก
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 12 คน รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม เมื่อรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่นั่ง 11 คน น้ำหนักรถ 1,200 กิโลกรัม จึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 12 ที่นั่ง และน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. ไม่ต้องขออนุญาต
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 และให้ใช้ความใหม่แทน มีผลว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 12 คน รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมด้วย รถยนต์จำเลยมีลักษณะเป็นรถยนต์นั่งสองแถวประเภทส่วนบุคคลที่นั่ง 11 คน น้ำหนักรถ 1,200กิโลกรัม จึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่จำเลยนำรถยนต์คันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารเพื่อรับจ้างอย่างรถยนต์โดยสารประจำทางจึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อจำกัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และข้อยกเว้น กรณีประเด็นพิพาทซ้ำ
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยออกจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ขับไล่โจทก์ทั้งสี่ และให้โจทก์ทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่าศาลฎีกาย้อนสำนวนคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ ไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่แล้วได้พิพากษาเมื่อวันที่ 20เมษายน 2533 โดยฟังว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย (โจทก์ทั้งสี่) หรือคู่สมรส ในเมื่อคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คดีนี้เป็นจำเลยมีประเด็นเดียวกับคดีนี้ คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้วคดีนี้จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144(1) ถึง (5)กรณีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แต่อย่างใด.
of 41