พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงและเจตนาใช้จริงในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
รูปเครื่องหมายการค้า "" ตามคำขอของโจทก์ กับรูปเครื่องหมายการค้า "" ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วต่างประกอบด้วยภาพหมีที่วาดเป็นลายเส้นลักษณะภาพการ์ตูนในท่านั่งหน้าตรง ขาหน้าและขาหลังกางออกทำนองเดียวกัน มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้างเพียงรายละเอียด โดยภาพหมีในเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนที่เป็นตา จมูกและปาก ส่วนภาพหมีในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว มีรายละเอียดในส่วนตา จมูกและปาก กับรายละเอียดในส่วนหู ในส่วนลายเส้นประที่ข้อเท้าทั้งสี่เท้า ทำให้เป็นลักษณะหมีที่ใส่เสื้อผ้า และมีเลขอาระบิก "86" อยู่ที่บริเวณกลางลำตัวด้านหน้า กับมีข้อความว่า "THE BEARS PROJECT" อยู่ด้านล่างภาพหมี แต่โดยภาพรวมต่างมีสาระสำคัญอยู่ที่ภาพหมีที่เป็นลายเส้นรอบรูปในท่านั่งหน้าตรงกางขาทั้งสี่ออกด้วยกัน โดยเป็นส่วนประกอบของภาพที่มีลักษณะเด่นกว่ารายละเอียดประกอบต่าง ๆ ในภาพหมีและตัวเลขกับข้อความดังกล่าว ทั้งจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเป็นสินค้าในจำพวกที่ 25 และรายการสินค้าทำนองเดียวกัน โดยล้วนเป็นสินค้าที่สาธารณชนผู้บริโภคทั่วไปซื้อใช้ ไม่ใช่สินค้าเฉพาะกลุ่มผู้มีความรู้เฉพาะทาง จึงมีเหตุอันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ถือได้ว่าไม่มีลักษณะอันพึงได้รับการจดทะเบียน
การใช้เครื่องหมายการค้าอันจะถือว่าต่างเจ้าของต่างได้ใช้กันมาแล้วโดยสุจริตที่จะถือว่าเป็นเหตุให้ควรรับจดทะเบียนได้ตามนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ต้องเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยสุจริตโดยมีการขายหรือโฆษณาสินค้าภายในดินแดนประเทศไทย ตามหลักการที่กฎหมายย่อมใช้บังคับเฉพาะในเขตดินแดนแห่งรัฐที่ออกกฎหมายเท่านั้น แต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนโดยสุจริตในประเทศไทยซึ่งถือไม่ได้ว่าโจทก์กับผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนมาแล้วด้วยกันโดยสุจริต และไม่มีเหตุให้เชื่อได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่รู้จักกันในประเทศไทย ดังนี้ แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าในต่างประเทศมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม แต่โจทก์เพิ่งคิดจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้หรือขอรับการคุ้มครองโดยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทย ภายหลังจากที่ผู้อื่นได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว หากรับจดทะเบียนให้แก่โจทก์ นอกจากจะเป็นเหตุให้เสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อน ยังเป็นเหตุทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในการซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าเช่นนี้ได้ และไม่มีเหตุผลอันสมควรอื่นใดถึงขนาดให้ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษเพื่อให้มีผลยกเว้นต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ก่อนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 27 ด้วย
การใช้เครื่องหมายการค้าอันจะถือว่าต่างเจ้าของต่างได้ใช้กันมาแล้วโดยสุจริตที่จะถือว่าเป็นเหตุให้ควรรับจดทะเบียนได้ตามนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ต้องเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยสุจริตโดยมีการขายหรือโฆษณาสินค้าภายในดินแดนประเทศไทย ตามหลักการที่กฎหมายย่อมใช้บังคับเฉพาะในเขตดินแดนแห่งรัฐที่ออกกฎหมายเท่านั้น แต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนโดยสุจริตในประเทศไทยซึ่งถือไม่ได้ว่าโจทก์กับผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนมาแล้วด้วยกันโดยสุจริต และไม่มีเหตุให้เชื่อได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่รู้จักกันในประเทศไทย ดังนี้ แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าในต่างประเทศมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม แต่โจทก์เพิ่งคิดจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้หรือขอรับการคุ้มครองโดยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทย ภายหลังจากที่ผู้อื่นได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว หากรับจดทะเบียนให้แก่โจทก์ นอกจากจะเป็นเหตุให้เสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อน ยังเป็นเหตุทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในการซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าเช่นนี้ได้ และไม่มีเหตุผลอันสมควรอื่นใดถึงขนาดให้ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษเพื่อให้มีผลยกเว้นต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ก่อนแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 27 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22783/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการใช้เพื่อแสดงลักษณะการใช้
ภาพประดิษฐ์ และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อ ดังที่ปรากฏในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตรงส่วนด้านล่าง เป็นข้อเท็จจริงที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพเครื่องหมายทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ โจทก์มิได้นำสืบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เห็นว่า นอกจากผู้ขอจดทะเบียนจะแสดงภาพประดิษฐ์ของตัวเครื่องหมายการค้าในคำขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนยังสามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะการใช้เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนให้ปรากฏในคำนำขอจดทะเบียนอันเป็นการเพิ่มเติมไปจากการแสดงให้เห็นถึงตัวเครื่องหมายการค้าได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า ภาพประดิษฐ์และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อของโจทก์เป็นเพียงภาพเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ มิได้มีความหมายสื่อไปถึงว่าเป็นภาพเครื่องหมายที่ถูกแสดงประกอบวิธีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19463/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่สุจริต และความคล้ายคลึงจนสับสนของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้า ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า COMSTAR ของจำเลยต่างมีภาคส่วนเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมันคำว่า COM เช่นเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีภาคส่วนดาวซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นเครื่องหมายคำไม่มีภาพประกอบ แต่รูปดาวของโจทก์นั้นบุคคลทั่วไปย่อมทราบว่าหมายถึงคำว่า ดาว หรือคำว่า STAR ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย ทั้งตามคำขอจดทะเบียนโจทก์ได้ระบุคำอ่านรูปดาวในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่า "สตาร์" ซึ่งเมื่อเรียกขานรวมทั้งเครื่องหมายจะเรียกขานได้ว่า "คอมสตาร์" ซึ่งพ้องกับเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์และจำเลยต่างจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันรายการสินค้าเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า COMSTAR ซึ่งเป็นของบริษัท ซ. ที่จำเลยซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้า ไปจดทะเบียนเป็นของตน จำเลยไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ จำเลยจึงจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า COMSTAR แทนเพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าเดิม จึงเป็นการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของบริษัท ซ. มาจดทะเบียนเป็นของตนโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นเพียงผู้ซื้อสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ของบริษัท ซ. จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายในประเทศไทยเช่นเดียวกับจำเลย แล้วโจทก์นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นของตนโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลย ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า COMSTAR สำหรับสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลย
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า COMSTAR ซึ่งเป็นของบริษัท ซ. ที่จำเลยซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้า ไปจดทะเบียนเป็นของตน จำเลยไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ จำเลยจึงจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า COMSTAR แทนเพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าเดิม จึงเป็นการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของบริษัท ซ. มาจดทะเบียนเป็นของตนโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นเพียงผู้ซื้อสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ของบริษัท ซ. จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายในประเทศไทยเช่นเดียวกับจำเลย แล้วโจทก์นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นของตนโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลย ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า COMSTAR สำหรับสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18738-18740/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง, การใช้โดยสุจริต, และการคุ้มครองตามกฎหมาย
เครื่องหมายการค้าคำว่า ของโจทก์ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอักษรโรมันและมีลักษณะการประดิษฐ์ที่แตกต่างกันน้อยมาก เมื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจึงอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ แต่เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในทางการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 16 ได้แก่ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องเขียน โดยใช้สินค้าดังกล่าวภายในกิจการของกลุ่มโจทก์ และนำไปแจกจ่ายเป็นของแจก แลก ของสมนาคุณ เพื่อส่งเสริมการขายต่อกลุ่มโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการใช้เพื่อแสดงว่าสินค้าดังกล่าวมีความแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น อันเป็นการใช้อย่างเครื่องหมายการค้าแล้ว เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีที่มาจากนามสกุลของผู้ก่อตั้งโจทก์ และโจทก์ใช้คำนี้เป็นชื่อของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายสาธารณรัฐอินเดียตั้งแต่ปี 2460 ทั้งโจทก์ก็ยังเคยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าหลายจำพวกรวมทั้งสินค้าจำพวกที่ 16 มาแล้วในหลายประเทศ จึงเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยสุจริตมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากความมีชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีดุลพินิจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันได้ โดยจะมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้น เพื่อป้องกันมิให้สาธารณชนสับสนหลงผิดไว้ด้วยก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8725/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาโดยรวม ไม่ตัดทิ้งคำที่แสดงเจตนาจะไม่ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อพิจารณาจากรูปลักษณะเครื่องหมายและการประดิษฐ์ตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "California WOW WOMEN" กับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วคำว่า "WOW WORLD OF WOMEN" แล้ว เห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันมากทั้งรูปร่าง ลักษณะการวางตัวอักษร รวมทั้งเสียงเรียกขานก็แตกต่างกันชัดเจน ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วไม่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการได้ การที่โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการดังกล่าวได้แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้คำ "California" "WOMEN" และ "WORLD OF WOMEN" ตามลำดับดังกล่าวนั้น ก็มีผลเพียงว่าโจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการดังกล่าวไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้บุคคลอื่นใช้คำดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการเท่านั้น การที่จะพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันจึงต้องนำคำดังกล่าวมาพิจารณาถึงลักษณะและเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการด้วย ทั้งนี้จะต้องพิจารณาโดยรวมของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการทั้งหมดโดยไม่ถือว่าคำที่มีการแสดงปฏิเสธว่าจะไม่ขอถือสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้คำนั้นไม่ใช่สาระสำคัญที่จะต้องพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7202/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาภาพรวมทุกด้าน ไม่ใช่แค่รูปคำหรือข้อความ
การพิจารณาเปรียบเทียบว่าเครื่องหมายการค้าใดคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ใช่พิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะรูปหรือคำหรือข้อความที่ปรากฏให้เห็นด้วยสายตาเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาดูภาพรวมทุกส่วนของเครื่องหมายนั้น ทั้งสำเนียง เสียงเรียกขาน รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนหรือที่จดทะเบียนไว้แล้ว สาธารณชนกลุ่มผู้ซื้อสินค้า ใช้เครื่องหมายการค้า และความสุจริตในการขอจดเครื่องหมายการค้า โดยสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความคล้ายนั้นถึงขนาดที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า "PROTO" ของจำเลยเปรียเทียบกับคำว่า "proton" ของโจทก์ เห็นได้ว่า คำว่า "PROTO" ประกอบด้วยอักษรโรมันที่เหมือนกัน 5 ตัวแรก นับว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายกันระดับหนึ่ง แต่ก็มีความแตกต่างกันหลายประการ กล่าวคือ ต่างจดทะเบียนโดยใช้ตัวอักษรประดิษฐ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน เครื่องหมายการค้าคำว่า "PROTO" อาจเรียกขานได้ว่า โปร-โต หรือ โปร-โต้ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "proton" อาจเรียกขานได้ว่า โปร-ตอน หรือ โปร-ตัน สำเนียงเรียกขานจึงแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง คือ "PROTO" ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 12 รายการสินค้า ผ้าเบรก แผ่นคลัตซ์ คลัตช์ออโตเมติก ดุมล้อ ก้ามเบรก วงล้อ ซี่ลวดสำหรับรถจักรยานยนต์ ส่วน "proton" ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 12 รายการสินค้า รถยนต์ แล้ว เห็นได้ว่า แม้จะเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน แต่ก็มีข้อแตกต่างกันที่รายการสินค้าของจำเลยเป็นชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ ซึ่งสาธารณชนผู้ซื้อสินค้าเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นช่างซ่อมหรือตกแต่งรถจักรยานยนต์ หรือผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่มีความสนใจในการซ่อมหรือตกแต่งรถจักรยานยนต์ สาธารณชนอื่นที่ไม่ใช่บุคคลในกลุ่มผู้ใช้สินค้าดังกล่าวโดยตรง แม้จะเป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ มักไม่ได้เป็นผู้ซื้อชิ้นส่วนอะไหล่หรืออุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ด้วยตนเอง กลุ่มคนที่ซื้อสินค้าเหล่านี้มักจะเป็นผู้คลุกคลี มีความคุ้นเคยและมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์เป็นอย่างดีพอสมควร บุคคลเหล่านี้ย่อมแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "PROTO" ของจำเลยกับสินค้ารถยนต์หรือชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ของรถยนต์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "proton" ของโจทก์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูงกว่าสินค้าของจำเลยมาก เครื่องหมายการค้าคำว่า "PROTO" ของจำเลย จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "proton" ของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (3) ประกอบมาตรา 13 และ มาตรา 6 (2) ประกอบมาตรา 8 (10)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6768/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "จุ๊ปปะ จุ๊ปส์" นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นไปได้ที่สาธารณชนอาจออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" หรือ "ชัป ป้า ชัปส์" การที่เครื่องหมายการค้า Joopy Juups ของจำเลยเรียกขานว่า "จุ๊ปปี้ จุ๊ปส์" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมอาจเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" นั้น เสียงเรียกขานพยางค์แรก คือ "จูป" หรือ "ชู้ป" กับ "จุ๊ป" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคล้ายกัน และเสียงเรียกขานพยางค์ที่สามของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคือ "จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ปส์" กับ "จุ๊ปส์" เหมือนหรือคล้ายกัน แม้ว่าเสียงเรียกขานพยางค์ที่สองของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีความแตกต่างกันบ้างแต่เมื่อออกเสียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าคล้ายกัน จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าลูกอมในจำพวก 30 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยมีกลุ่มลูกค้าสำคัญคือเด็กเช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากวัยของกลุ่มลูกค้าสำคัญที่ซื้อสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับสินค้าของจำเลยที่มีความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของสินค้าน้อยกว่าผู้ใหญ่แล้ว เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทุกด้านและสินค้าที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาจากเครื่องหมายนั้นทั้งเครื่องหมาย มิใช่พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง และต้องพิจารณาเสียงเรียกขานเครื่องหมายดังกล่าวตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้นๆ ว่าสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้าหรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
เครื่องหมายสินค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่มแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันมากและโจทก์กับบริษัท อ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยของโจทก์เป็นไอศกรีมหวานเย็นขนมแช่แข็งและสิ่งที่ใช้ผสมในการทำขนมดังกล่าว ส่วนของบริษัท อ. เป็นชา กาแฟซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในร้านค้าโดยทั่วไปไม่ได้วางใกล้ชิดกันกลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และบริษัท อ. ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน
เครื่องหมายสินค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่มแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันมากและโจทก์กับบริษัท อ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยของโจทก์เป็นไอศกรีมหวานเย็นขนมแช่แข็งและสิ่งที่ใช้ผสมในการทำขนมดังกล่าว ส่วนของบริษัท อ. เป็นชา กาแฟซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในร้านค้าโดยทั่วไปไม่ได้วางใกล้ชิดกันกลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และบริษัท อ. ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาทั้งรูปลักษณ์ เสียงเรียกขาน และประเภทสินค้า เพื่อประเมินความสับสนของผู้บริโภค
ในการพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนหรือคล้ายกันและทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13 ศาลจะต้องพิจารณาจากเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมาย มิได้พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังต้องพิจารณาในส่วนของเสียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนด้วย เพราะศาลต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้น ๆ เป็นสำคัญว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้า หรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่ม จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันในเรื่องรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. มีเสียงเรียกขานที่เหมือนหรือคล้ายกันมาก เพราะเครื่องหมายการค้าคำว่า แมกนั่ม ของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยที่สะกดเลียนเสียงภาษาอังกฤษคำว่า MAGNUM แต่สินค้าของโจทก์และบริษัท อ. เป็นรายการสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายในร้านค้าโดยทั่วไปน่าจะไม่ได้วางใกล้ชิดกันหรือบนชั้นวางสินค้าเดียวกัน ดังนั้น กลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. แม้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้
สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัท อ. ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับคำว่า MAGNUM เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองในสินค้าต่างจำพวกที่ขอจดทะเบียนไว้ และปรากฏต่อไปว่า บริษัท อ. ไม่เคยนำสินค้าประเภทชา หรือกาแฟออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ ความสับสนในหมู่ผู้บริโภคจึงไม่มี ประกอบกับโจทก์ได้ใช้คำว่า MAGNUM เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าไอศกรีมของตนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มิได้ประสงค์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAGNUM เพื่อแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่ม จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันในเรื่องรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. มีเสียงเรียกขานที่เหมือนหรือคล้ายกันมาก เพราะเครื่องหมายการค้าคำว่า แมกนั่ม ของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยที่สะกดเลียนเสียงภาษาอังกฤษคำว่า MAGNUM แต่สินค้าของโจทก์และบริษัท อ. เป็นรายการสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายในร้านค้าโดยทั่วไปน่าจะไม่ได้วางใกล้ชิดกันหรือบนชั้นวางสินค้าเดียวกัน ดังนั้น กลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. แม้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้
สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัท อ. ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับคำว่า MAGNUM เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองในสินค้าต่างจำพวกที่ขอจดทะเบียนไว้ และปรากฏต่อไปว่า บริษัท อ. ไม่เคยนำสินค้าประเภทชา หรือกาแฟออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ ความสับสนในหมู่ผู้บริโภคจึงไม่มี ประกอบกับโจทก์ได้ใช้คำว่า MAGNUM เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าไอศกรีมของตนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มิได้ประสงค์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAGNUM เพื่อแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เกิดก่อน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "HALOTRION" ส่วนของโจทก์เป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "HALOTRON" จึงมีอักษรโรมันที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เหมือนกันถึง 8 ตัว และอยู่ในตำแหน่งเดียวกันแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะอักษรโรมัน 4 ตัวแรก คือ HALO กับอักษรโรมัน 2 ตัวสุดท้ายคือ ON เพียงแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมัน I แทรกอยู่ระหว่างอักษรโรมัน R กับ O เท่านั้น ถือว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีรูปลักษณะที่คล้ายกันมาก ในส่วนของเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ ว่า ฮา-โล-ทรี-ออน และเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ว่า ฮา-โล-ทรอน แม้จะมีจำนวนพยางค์ที่ออกเสียงต่างกัน แต่เสียงเรียกขาน 2 พยางค์แรกซึ่งเป็นส่วนสำคัญนั้นเหมือนกัน ถือว่าเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์ก็คล้ายกันมากเช่นกันเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับจำพวกสินค้า และรายการสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของแต่ละฝ่ายจะเห็นว่า เป็นสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้า สารหรือน้ำยาที่ใช้ในการดับเพลิงเหมือนกัน ดังนี้ ถือได้แล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRON มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้า HALONITE และ HALOTRION ทั้งจำเลยประกอบธุรกิจชนิดเดียวกับโจทก์ซึ่งมีสินค้าจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และบริษัทในเครือของจำเลยเคยสั่งซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นไปได้ว่าจำเลยเคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน ทำให้จำเลยคิดใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION อนึ่ง การที่สารฮาลอน HALON เป็นคำสามัญที่บุคคลทั่วไปอาจใช้ได้ ก็ไม่ทำให้จำเลยอาจนำไปใช้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ รวมทั้งข้ออ้างที่ว่าการใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION เป็นเพราะมีการใช้สารประกอบ 3 ชนิด จำเลยก็ไม่สมควรที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของตนคล้ายกับของโจทก์เช่นนี้ จึงรับฟังว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRON ดีกว่าจำเลย และเมื่อคดีรับฟังมาแล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์ จึงรับฟังต่อไปได้ด้วยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRION ดีกว่าจำเลย
คดีนี้โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 ซึ่งจำเลยไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในส่วนนี้ ประกอบกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจถูกคัดค้านในสาเหตุอื่นๆ ได้ โจทก์จึงไม่อาจห้ามจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 54 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRON มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้า HALONITE และ HALOTRION ทั้งจำเลยประกอบธุรกิจชนิดเดียวกับโจทก์ซึ่งมีสินค้าจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และบริษัทในเครือของจำเลยเคยสั่งซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นไปได้ว่าจำเลยเคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน ทำให้จำเลยคิดใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION อนึ่ง การที่สารฮาลอน HALON เป็นคำสามัญที่บุคคลทั่วไปอาจใช้ได้ ก็ไม่ทำให้จำเลยอาจนำไปใช้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ รวมทั้งข้ออ้างที่ว่าการใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION เป็นเพราะมีการใช้สารประกอบ 3 ชนิด จำเลยก็ไม่สมควรที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของตนคล้ายกับของโจทก์เช่นนี้ จึงรับฟังว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRON ดีกว่าจำเลย และเมื่อคดีรับฟังมาแล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์ จึงรับฟังต่อไปได้ด้วยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRION ดีกว่าจำเลย
คดีนี้โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 ซึ่งจำเลยไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในส่วนนี้ ประกอบกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจถูกคัดค้านในสาเหตุอื่นๆ ได้ โจทก์จึงไม่อาจห้ามจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 54 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)