คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรส: ความยินยอมให้ผู้อื่นอยู่อาศัยไม่ขัดสิทธิเจ้าของรวมอื่น
บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ. ร่วมกันเมื่อ ฉ. อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไปความยินยอมของ ฉ. ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโฉนดโดยเจ้าของรวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน การวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์
ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่1ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริตประเด็นข้อนี้จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่323ซึ่งเดิมโจทก์และ จ. เป็นเจ้าของร่วมกันต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งแยกโจทก์ได้ด้านทิศเหนือคือที่ดินพิพาทส่วน จ. ได้ด้านทิศใต้ จ.และจำเลยที่2ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่323ทั้งแปลงโดยสัญญาจะซื้อจะขายระบุเนื้อที่และที่ตั้งของที่ดินพิพาทไว้อันเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์มิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ จ. เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทด้วยสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1361วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี การสนับสนุนความผิด และการกระทำโดยความยินยอม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา 283 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอมเอง อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 ศาลก็มีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3ตาม ป.อ. มาตรา 282 ได้
เมื่อความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอม ตาม ป.อ. มาตรา 282 และฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณีเป็นปกติธุระ ตาม พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503มาตรา 8 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ย่อมต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 282 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
การที่จำเลยที่ 2 ยึดถือหนังสือเดินทางและตั๋วโดยสารเครื่องบินของพวกผู้เสียหายไว้ เป็นไปโดยความยินยอมของพวกผู้เสียหายตามข้อตกลงแล้วการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188แม้ความผิดข้อหานี้ต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่เป็นความผิดแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยที่ 1 เพียงขับรถพาหญิงซึ่งสมัครใจค้าประเวณีไปส่งตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหญิงบริการจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมมาก็ต้องนำไปมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการรับไว้แทนจำเลยที่ 2การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ในความผิดตาม ป.อ.มาตรา 282 และ พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 ประกอบกับ ป.อ. มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัย และอำนาจฟ้องของบุคคลภายนอก
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะคุ้มครองผู้ขับขี่รถยนต์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ก็หมายความเพียงว่านอกจากผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยกระทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้ว ยังยอมรับผิดในกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้กระทำละเมิดโดยผู้นั้นได้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยด้วยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น หาได้หมายความถึงว่าให้สิทธิแก่ผู้นั้นเข้าสวมสิทธิของผู้เอาประกันภัยไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย และไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยในอันที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดในการทำละเมิดของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายเป็นค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ - ไม่ต้องได้รับความยินยอม
โจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ได้โดยลำพัง ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของคู่สมรส การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารมหาชน และการไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่จำเป็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง โจทก์ยอมรับว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารราชการ เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนยืนยันว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารที่ถูกต้องเอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารมหาชนเมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมตามทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแล้ว โจทก์ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานสำคัญของโจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดีซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านไปแล้วโจทก์อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้เพราะไม่อาจทำให้ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไปได้ ฎีกาของโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรศาลอุทธรณ์จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้อย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของคู่สมรส และความสมบูรณ์ของเอกสารมหาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม (แก้ไขใหม่มาตรา 1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าคู่สมรสจะต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบันทึกด้านหลัง ค.ร.13 ตามคำร้องให้ความยินยอมของคู่สมรสไว้ว่าคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมแล้วการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารมหาชน เมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสเมื่อมีการขายทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอม และสิทธิในการร้องกล่าวอ้างในคดีบังคับคดี
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยและจำเลยครอบครองยึดถือเพื่อตนแล้ว จำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท การที่จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทจึงเป็นผลจากสัญญาซื้อขายที่โจทก์ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย หาใช่จำเลยได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แต่ประการเดียวไม่ผู้ร้องจึงชอบที่จะกล่าวอ้างได้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง โจทก์ขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาท ให้โจทก์จดทะเบียนโอนแก่จำเลย หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปการที่ผู้ร้องร้องว่าโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอม เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าการซื้อขายที่พิพาทไม่ผูกพันที่พิพาทอันเป็นสินสมรสในส่วนของผู้ร้องและนับได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ร้องอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องเข้ามาในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง จำเลยต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จากเอกสารหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดหรือข้อตกลงเรื่องการคำนวณดอกเบี้ยของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ปรากฏว่าผู้จัดการจำเลยได้รู้เห็นและยินยอมด้วยให้นำวิธีการคำนวณดอกเบี้ยที่ผิดหลักเกณฑ์มาใช้โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าการคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ในเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยได้แต่งตั้งผู้คิดบัญชีและมีผู้ตรวจสอบบัญชีอีกคนหนึ่งเป็นเวลา 18 ปีแล้วจำเลยไม่เคยทักท้วงแต่อนุมัติตลอดมา จึงมิใช่การคำนวณผิดพลาดดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2511 และต่อมาจำเลยได้ระบุเรื่องการหักเงินสะสมและการเข้าร่วมโครงการเงินสะสมไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับพนักงานของจำเลยด้วย จำเลยได้คำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวิธีการในเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ จำเลยต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นและต่อมาได้ระบุเรื่องการหักเงินสะสมและการเข้าร่วมโครงการเงินสะสมไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับพนักงานของจำเลยแล้วเมื่อจำเลยได้คำนวณดอกเบี้ยเงินสะสมและเงินสมทบตามวิธีการในเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว วิธีการคำนวณดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้
of 57