พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนกรรมเดียว ไม่เป็นความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
จำเลยจำหน่ายเฮโรอีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองให้ผู้มีชื่อไปทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่มีเฮโรอีนจำนวนอื่นที่จำเลยอีกการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนเพียงกรรมเดียวไม่เป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกรรมหนึ่งด้วย ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยอมจ่ายค่าเสียหายจากละเมิดถือเป็นข้อพิพาททางแพ่ง ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยนำกุญแจไปคล้อง ห้องพักที่โจทก์เช่าจากจำเลยเพราะโจทก์ไม่จ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้าห้องพักได้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทกันแล้ว รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้แก่โจทก์จำนวน 20,000 บาท จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไม่มีข้อความที่โจทก์และจำเลยตกลงระงับคดีอาญาแผ่นดินแต่ประการใดคงกล่าวถึงเรื่องที่จำเลยนำกุญแจไปล็อกห้องที่โจทก์เช่าไว้ ทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ และได้รับความเสียหาย กับจำเลยทั้งสองตกลงที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่งเท่านั้นสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่มีวัตถุที่ประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอในฟ้อง อาศัยอำนาจแก้ไขข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
กรณีที่ศาลพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง อันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าคู่ความไม่ได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องเลิกมูลนิธิ และเหตุขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการปกครองท้องที่ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 97 ดำรงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนมีอำนาจอนุญาตให้มูลนิธิที่ได้รับอนุญาตแล้วจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตลอดจนมีอำนาจออกกฎกระทรวงและดูแลมูลนิธิทั้งหลายให้ปฏิบัติตามกฎหมายและตราสารจัดตั้งมูลนิธินั้น ๆ แต่หาได้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับมูลนิธิไม่ จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 93 ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิ
การที่มูลนิธิผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกันกับพวกทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการอาจเอื้อมไม่บังควรอย่างยิ่งและเป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้อง ยุคลบาท น่าจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันอาจจะมีผลทำให้ประชาชนที่รู้ข้อความในหนังสือดังกล่าวเดินขบวนในแง่ไม่เห็นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งพนักงานอัยการชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เลิกมูลนิธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93 (1) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 14 จึงย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้แก่สมาคมหรือองค์กร ใดซึ่งรวมถึงมูลนิธิด้วยได้
การที่มูลนิธิผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกันกับพวกทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการอาจเอื้อมไม่บังควรอย่างยิ่งและเป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้อง ยุคลบาท น่าจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันอาจจะมีผลทำให้ประชาชนที่รู้ข้อความในหนังสือดังกล่าวเดินขบวนในแง่ไม่เห็นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งพนักงานอัยการชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เลิกมูลนิธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93 (1) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 14 จึงย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้แก่สมาคมหรือองค์กร ใดซึ่งรวมถึงมูลนิธิด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการฟ้องเลิกมูลนิธิ และเหตุขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการปกครองท้องที่ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 97 ดำรงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนมีอำนาจอนุญาตให้มูลนิธิที่ได้รับอนุญาตแล้วจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตลอดจนมีอำนาจออกกฎกระทรวงและดูแลมูลนิธิทั้งหลายให้ปฏิบัติตามกฎหมายและตราสารจัดตั้งมูลนิธินั้น ๆ แต่หาได้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับมูลนิธิไม่ จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 93 ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิ การที่มูลนิธิผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกันกับพวกทำหนังสือกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการอาจเอื้อมไม่บังควรอย่างยิ่งและเป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องยุคลบาท น่าจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันอาจจะมีผลทำให้ประชาชนที่รู้ข้อความในหนังสือดังกล่าวเดินขบวนในแง่ไม่เห็นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งพนักงานอัยการชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เลิกมูลนิธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93(1)สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีอำนาจของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 14 จึงย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้แก่สมาคมหรือองค์กร ใดซึ่งรวมถึงมูลนิธิด้วยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอระบุพยานเพิ่มเติมต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท แม้เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีการที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นการขอระบุพยานที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเพิ่มพยานนอกประเด็นคดี แม้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลไม่จำเป็นต้องอนุญาต หากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นการขอระบุพยานที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: พินัยกรรมปลอม vs. ความไม่เป็นไปตามรูปแบบ
ตาม ฟ้องโจทก์อ้างว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะ เพราะผู้ทำพินัยกรรมมิได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน และพยานมิได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งในวันชี้สองสถาน โจทก์ก็ได้ แถลงรับว่าเจ้ามรดกได้ ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทไว้จริง แต่ ตกเป็นโมฆะเพราะทำขึ้นโดย ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังวันชี้สองสถานว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอม จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยชอบที่ศาลจะยกคำร้องของโจทก์เสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงไม่แข่งขันขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม ทำให้เช็คที่ออกตามข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ผู้รับเช็คไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยมีข้อตกลงกันไม่ให้โจทก์แข่งขันประมูลงานก่อสร้างของทางราชการกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หนี้ตามเช็คที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงเช่นนั้นเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047-3048/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงไม่แข่งขันประมูลงานราชการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม ทำให้เช็คที่ออกตามข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยมีข้อตกลงกันไม่ให้โจทก์แข่งขันประมูลงานก่อสร้างของทางราชการกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หนี้ตามเช็คที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงเช่นนั้นเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง