พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดี: คำร้องต้องยื่นต่อศาลเจ้าของคดีบังคับคดี ไม่ใช่ศาลคดีอื่น
คดีนี้ยังไม่มีคำพิพากษา จึงไม่มีการบังคับคดีที่โจทก์จะมาขอต่อศาลให้งดการบังคับคดีไว้ได้
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลคดีนี้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นไว้ก่อนจนกว่าคดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น มิใช่คำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 254 (2) โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีนั้น
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลคดีนี้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นไว้ก่อนจนกว่าคดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น มิใช่คำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 254 (2) โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อระงับการบังคับคดีต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีเท่านั้น
คดีนี้ยังไม่มีคำพิพากษาจึงไม่มีการบังคับคดีที่โจทก์จะมาขอต่อศาลให้งดการบังคับคดีไว้ได้ คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลคดีนี้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นไว้ก่อนจนกว่าคดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นมิใช่คำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา264วรรคหนึ่งหรือมาตรา254(2)โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การมอบอำนาจฟ้องต่อผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้อง
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า โจทก์ขอมอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขอให้เพิกถอนการประเมิน และคำชี้ขาด และขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ ชำระไว้เกินแก่จำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้อง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ไว้ด้วยแต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาด หากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 29,30,31 เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องเพื่อขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษี ที่ชำระไว้เกิน การที่ ส. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย จึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การที่ถูกต้อง การนัดสืบพยานย่อมยกเลิกหากยังไม่ได้ไต่สวนคำร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่27ธันวาคม2536และจำเลยทราบนัดแล้วแต่ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อวันที่21ธันวาคม2536ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องวันที่7พฤศจิกายน2536จึงได้ติดต่อโจทก์โจทก์นัดให้จำเลยมาทำยอมที่ศาลวันที่17ธันวาคม2536ครั้นถึงกำหนดนัดโจทก์ไม่มาศาลโจทก์หลอกลวงจำเลยเพื่อให้พ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นสั่งคำร้องจำเลยในวันเดียวกันว่า"สำเนาให้โจทก์นัดไต่สวนให้จำเลยนำส่งภายใน7วันไม่พบหรือไม่มีผู้รับให้ปิด"ดังนี้จำเลยต้องนำส่งสำเนาให้แก่โจทก์ภายในวันที่28ธันวาคม2536ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะส่งหมายให้แก่โจทก์ได้หรือไม่หรืออาจจะต้องปิดหมายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นกรณีถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ เมื่อยังไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่หรือมีเหตุสมควรประการอื่นใดศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามที่จำเลยร้องขอเมื่อศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนไว้แม้จะมิได้กำหนดวันนัดไต่สวนไว้ด้วยก็ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการนัดไต่สวนคำร้องวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในวันที่27ธันวาคม2536ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การให้แก่โจทก์ย่อมถือว่ายกเลิกไปโดยปริยายจนกว่าศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วเสร็จและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเสียก่อนการที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่27ธันวาคม2536ว่านัดสืบพยานโจทก์และนัดไต่สวนขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยจำเลยไม่มาศาลถือว่าจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนคำร้องให้ฟังได้ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจและยกคำร้องนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคหนึ่งและวรรคสองเพราะศาลชั้นต้นมิได้นัดไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยในวันดังกล่าวและการที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกันเพราะคดียังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอยื่นคำให้การแก่โจทก์และวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นอันยกเลิกไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการล้มละลายขาดอำนาจลงนามในคำร้อง แม้เป็นกรรมการของบริษัทผู้ร้อง
จำเลยที่2ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17มีนาคม2530และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่อจำเลยที่2ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่2ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1154การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่1แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3118/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอบังคับคดีต้องระบุคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีชัดเจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ออกหมายบังคับคดีต้องระบุโดยแจ้งชัดถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดีตามนั้นและวิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา275(1)และ(3)มิฉะนั้นย่อมเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและดุลพินิจศาลในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โดยวิธีปิดหมาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 23 วันแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดี ทนายจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1ที่ 2 จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความ ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ไม่ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การ แม้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง ใช้คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี" ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาล คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 21 (4) ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป
โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การ แม้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง ใช้คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี" ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาล คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 21 (4) ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ และอำนาจดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1ที่2โดยวิธีปิดหมายจำเลยที่1ที่2มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน23วันแต่จำเลยที่1ที่2เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่1ที่2ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดีทนายจำเลยที่1ที่2เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่1ที่2จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่ได้ถือได้ว่าจำเลยที่1ที่2จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่1ที่2ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน15วันนับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การแม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองใช้คำว่า"ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี"ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาลคงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อนศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืนยันสถานะทายาทบุตรบุญธรรม ต้องรอให้มีข้อพิพาทจึงจะฟ้องร้องได้ ศาลไม่รับคำร้องขอ
การที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมย่อมเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นอกจากมิได้มีกฎหมายบัญญัติรองรับให้ผู้คัดค้านใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้แล้ว กรณีก็มิใช่ความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพราะหากผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมและทายาท โดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเช่นนั้นอยู่แล้ว หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุตรบุญธรรมและทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของ ผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทได้ ผู้คัดค้าน ไม่มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงเกินกำหนด – คำสั่งไม่รับฎีกา & การยื่นคำร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย เพราะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 จำเลยยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเนื่องจากยื่นมาเกินเจ็ดวัน คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมเป็นที่สุดตามป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม หากจำเลยจะกลับมาฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย จำเลยก็ต้องยื่นภายใน 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 234 เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ