พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืนและการโต้แย้งคำวินิจฉัยค่าทดแทน: ศาลฎีกาวินิจฉัยอำนาจฟ้องและขอบเขตการโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืน...ฯ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ในฐานะดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นตัวแทนของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างถนนเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย การดำเนินการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์อ้างว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ให้สิทธิแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งหรือไม่ปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น รัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ และเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เป็นตารางวาละ 10,000 บาท เท่ากับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจะฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่าอัตราเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์เหมาะสมแล้วไม่ได้ เพราะจะเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ให้สิทธิแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งหรือไม่ปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น รัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ และเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เป็นตารางวาละ 10,000 บาท เท่ากับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจะฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่าอัตราเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์เหมาะสมแล้วไม่ได้ เพราะจะเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8787/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีประกันสังคมเกินกำหนด ทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์มีผลเป็นที่สุด
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 87 วรรคสาม กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย มิฉะนั้นคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด เมื่อ ค. หลานของโจทก์ลงลายมือชื่อในใบตอบรับเอกสารแทนโจทก์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 โจทก์จึงต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2547 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา ย่อมเป็นผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีประกันสังคมเกินกำหนด 30 วัน ทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์มีผลเป็นที่สุด
สำนักงานประกันสังคมส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ ค. หลานของโจทก์ลงลายมือชื่อในใบตอบรับเอกสารแทนโจทก์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 ต้องถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันนั้น
โจทก์ฟ้องคดีขอเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นผลให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องคดีขอเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นผลให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7110/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีล้มละลาย เหตุอุทธรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยศาลล้มละลายกลาง
เมื่อศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับของจำเลยทั้งสองที่โต้แย้งคัดค้านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด ตลอดจนพยานหลักฐานในสำนวนแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงผลตามคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายกลาง ข้อที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์นั้นจึงไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคห้า ประกอบระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยข้ออุทธรณ์ในคดีล้มละลายที่ไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาฯ ข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องดำเนินคดีอนาถา: ศาลมีดุลพินิจไม่อนุญาตนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหากไม่เปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังพอมีฐานะ มิได้ยากจนจริง ยกคำร้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนโดยอ้างว่าโจทก์มีฐานะยากจนลงกว่าเดิมเนื่องจากไม่อาจขอความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมศาลจากบุตรคนโตได้ และโจทก์มีภาระเพิ่มมากขึ้นจากการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งพยานหลักฐานที่จะนำมาแสดงเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานใหม่ที่ยังไม่ได้นำมาสืบและข้อเท็จจริงบางส่วนเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะนำพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไว้เดิม ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดและเป็นยุติแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ไม่ได้บังคับว่าเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตให้ผู้ร้องนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนศาลจะต้องอนุญาตและทำการไต่สวน จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีตามคำร้องของโจทก์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลได้ก็ชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสียได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับคำร้องของโจทก์ไว้ดำเนินการไต่สวนก่อน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ไม่ได้บังคับว่าเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตให้ผู้ร้องนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนศาลจะต้องอนุญาตและทำการไต่สวน จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีตามคำร้องของโจทก์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลได้ก็ชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสียได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับคำร้องของโจทก์ไว้ดำเนินการไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คดีเดิม ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ฎีกา และต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษา ให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้รับคำให้การจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ต่อไป ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมมีผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคในคดีเดิมสิ้นผลไป เท่ากับว่าศาลชั้นต้นในคดีก่อนยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทมาก่อน ดังนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าเป็นกระบวนพิจารณาซ้ำได้ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คำวินิจฉัยคณะกรรมการชี้ขาดอำนาจศาลเป็นที่สุด โจทก์ไม่อาจคัดค้านหรือแก้ไขคำฟ้องหลังมีคำวินิจฉัย
แม้โจทก์ทั้งสิบฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ทั้งสิบไว้พิจารณา แต่เมื่อต่อมามีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กรณีนี้ตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 บัญญัติความว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลให้เป็นที่สุด และตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติความว่า ถ้าคณะกรรมการได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ศาลที่รับฟ้องสั่งโอนคดีหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ดังนี้ เมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลดังกล่าวแล้ว คดีนี้จึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในศาลชั้นต้นได้เฉพาะการโอนคดีหรือการจำหน่ายคดีตามมาตรา 11 ดังกล่าวเท่านั้น โจทก์ทั้งสิบจึงไม่อาจยื่นคำแถลงคัดค้านคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 44/2560 และไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องทั้งสองฉบับอันเป็นการไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย จึงชอบแล้ว และกรณีเช่นนี้ โจทก์ทั้งสิบไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของโจทก์ทั้งสิบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบจึงไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องพิพากษายกอุทธรณ์เสีย และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 10 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาอีกด้วย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทต่างกันในคดีมรดก: คำวินิจฉัยเดิมไม่ผูกพันคู่ความในคดีใหม่ การงดสืบพยานและการคำนวณค่าฤชาธรรมเนียม
คดีก่อนซึ่งเป็นคดีขอจัดการมรดกของผู้ตายมีประเด็นว่า โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ จำเลยและโจทก์ที่ 2 ต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ และสมควรตั้งจำเลยหรือโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 2 เป็นทายาทผู้ตายและ ก. เป็นบุตรที่แท้จริงของผู้ตายหรือไม่ คดีก่อนกับคดีนี้ จึงมีประเด็นต่างกัน แม้ในคดีก่อนศาลชั้นต้นจะฟังว่าโจทก์ที่ 2 เป็นพี่น้องเดียวกันกับผู้ตาย เป็นทายาทลำดับที่ 3 ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วในคดีก่อนและผูกพันโจทก์ที่ 2 และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยดังกล่าวมาผูกพันโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า ก. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยาน โดยมีคำขอเพียง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีตามฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าฤชาธรรมเนียม (2) ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยาน โดยมีคำขอเพียง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วมีคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้โจทก์ทั้งสองชนะคดีตามฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าฤชาธรรมเนียม (2) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนหนี้ที่ถูกต้องตามคำวินิจฉัย และการนำเงินชำระหนี้มาหักลบ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีหนี้ค้างชำระในส่วนของต้นเงินเพียง 4,500,000 บาท เมื่อศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา แต่ดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน จึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยมิได้กล่าวถึงต้นเงินค้างชำระเป็นอย่างอื่น แสดงว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจากต้นเงิน 4,500,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ถูกต้องตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของต้นเงิน 5,550,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจึงไม่ตรงกับคำวินิจฉัยถือได้ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จำเลยชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 กรณีมิใช่เป็นการทำคำสั่งที่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวได้ โดยหาจำต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์เพื่อคัดค้านและทำการไต่สวนก่อนไม่ ส่วนการจะนำเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีอื่นตามคำเบิกความของโจทก์มาลดยอดหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดในคดีนี้ ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ เมื่อในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นไม่ได้กล่าวถึงการได้รับชำระหนี้ภายหลังยื่นฟ้องของโจทก์ไว้เลย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยไม่ได้นำจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ภายหลังยื่นฟ้องมาหักออกก่อนจึงตรงตามที่ได้วินิจฉัยไว้แล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป กรณีมิใช่คำพิพากษามีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 จำเลยไม่อาจใช้วิธีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาส่วนนี้ได้เนื่องจากมีผลเป็นการแก้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนหนี้ในคำพิพากษาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลแรงงานต้องแสดงข้อเท็จจริง คำวินิจฉัย และเหตุผลประกอบการวินิจฉัยอย่างครบถ้วน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้หลายประการ แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยโดยมิได้นำเหตุผลทั้งหมดในหนังสือเลิกจ้างมาประกอบการพิจารณาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ทั้งการอ้างหนังสือของจำเลยในเรื่องการปรับเงินเดือนประจำปี 2552 ถึงปี 2559 ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะมิได้เป็นเหตุที่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้างของจำเลย การรับฟังข้อเท็จจริงของศาลแรงงานกลางก็ขัดกับพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งหมายความว่าคำพิพากษาของศาลแรงงานจะต้องมีส่วนสำคัญ คือ ประการแรกต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สองต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดี และประการที่สามคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้เฉพาะในประเด็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าโจทก์จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ขัดคำสั่งและละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณ กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยเคยตักเตือนและโจทก์เพิกเฉยไม่ปรับปรุงตนเอง เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย การที่คำพิพากษาศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุในหนังสือเลิกจ้าง แล้วนำคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้ววินิจฉัยคลุมไปทีเดียวว่า จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ยังไม่อาจถือได้ว่าฝ่าฝืนข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกรณีร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป และไม่ได้แสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดี ทั้งไม่มีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ทั้งที่โจทก์และจำเลยต่างได้นำสืบทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารในประเด็นดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งหมายความว่าคำพิพากษาของศาลแรงงานจะต้องมีส่วนสำคัญ คือ ประการแรกต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สองต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดี และประการที่สามคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้เฉพาะในประเด็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าโจทก์จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ขัดคำสั่งและละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณ กระทำความผิดอย่างร้ายแรง และกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยเคยตักเตือนและโจทก์เพิกเฉยไม่ปรับปรุงตนเอง เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย การที่คำพิพากษาศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุในหนังสือเลิกจ้าง แล้วนำคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้ววินิจฉัยคลุมไปทีเดียวว่า จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ยังไม่อาจถือได้ว่าฝ่าฝืนข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกรณีร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป และไม่ได้แสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดี ทั้งไม่มีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ทั้งที่โจทก์และจำเลยต่างได้นำสืบทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารในประเด็นดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ