พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7948/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งในคำให้การของผู้สลักหลังเช็ค, การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็ค, และความรับผิดของผู้สลักหลัง
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การปฏิเสธในข้อ 1 ว่า ไม่เคยลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ในข้อ 2 กลับปฏิเสธว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยไม่มีการแจ้งให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คก่อน เมื่อจำเลยที่ 3ไม่ให้ความยินยอมด้วย จำเลยที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาในเช็คพิพาทฐานะผู้สลักหลัง และคำให้การของจำเลยที่ 3ในข้อ 1 และข้อ 2 จึงขัดแย้งกัน ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ปฏิเสธหรือรับตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาท ที่โจทก์ยังต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะคดีได้
จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 921, 967 ประกอบมาตรา 989
จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 921, 967 ประกอบมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7948/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดแย้งในคำให้การของผู้สลักหลังเช็ค และผลต่อความรับผิดตามเช็ค
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การปฏิเสธในข้อ 1ว่า ไม่เคยลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ในข้อ 2 กลับปฏิเสธว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยไม่มีการแจ้งให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คก่อน เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ให้ความยินยอมด้วยจำเลยที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาในเช็คพิพาทฐานะผู้สลักหลัง และคำให้การของจำเลยที่ 3 ในข้อ 1 และข้อ 2 จึงขัดแย้งกันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ปฏิเสธหรือรับตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาท ที่โจทก์ยังต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้วเช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921,967 ประกอบมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นคำให้การที่ไม่ถูกต้อง และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ด้วย แต่คำร้องดังกล่าวระบุชัดว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยมิได้แต่งทนายความให้ถูกต้องอันจะต้องพิจารณาบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 18 และมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะพึงให้สัตยาบันในภายหลังได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ให้ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ด้วย และมีคำสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 เป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งตามพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจอันเป็นอำนาจของศาลเองอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การและสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 เนื่องจากมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด 15 วัน ตามกฎหมาย จึงเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวทั้งหมด ซึ่งในกรณีนี้โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และการที่โจทก์ยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11ขาดนัดยื่นคำให้การ ก็มิใช่ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบอันจะต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า8 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยอาศัยอำนาจของศาลเอง ตามมาตรา 27 วรรคแรกซึ่งไม่อยู่ในบังคับของระยะเวลา 8 วัน ตามมาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นคำให้การที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยที่2ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่3ถึงที่11ด้วยแต่คำร้องดังกล่าวระบุชัดว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่2แต่เพียงผู้เดียวมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่3ถึงที่11ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยมิได้แต่งทนายความให้ถูกต้องอันจะต้องพิจารณาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18และมิใช่กรณีที่จำเลยที่3ถึงที่11จะพึงให้สัตยาบันในภายหลังได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยที่2ให้ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่3ถึงที่11ด้วยและมีคำสั่งรับคำให้การของจำเลยที่3ถึงที่1เป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องทั้งตามพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจอันเป็นอำนาจของศาลเองอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การและสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่3ถึงที่11เนื่องจากมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด15วันตามกฎหมายจึงเท่ากับกับศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวทั้งหมดซึ่งในกรณีนี้โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่3ถึงที่11ขาดนัดยื่นคำให้การก็มิใช่ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบอันจะต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า8วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสองแต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยอาศัยอำนาจของศาลเองตามมาตรา27วรรคแรกซึ่งไม่อยู่ในบังคับของระยะเวลา8วันตามมาตรา27วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6333/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ - ศาลอนุญาตแล้วจำเลยคัดค้านไม่ได้
ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ก่อนจำเลยยื่นคำให้การโจทก์มีสิทธิถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล และศาลไม่จำต้องฟังหรือสอบถามจำเลยก่อน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จำเลยจะมาคัดค้านภายหลังโดยอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ: โจทก์ใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องสุจริต
ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคหนึ่งก่อนจำเลยยื่นคำให้การโจทก์มีสิทธิถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลและศาลไม่จำต้องฟังหรือสอบถามจำเลยก่อนเมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยจะมาคัดค้านภายหลังโดยอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาและการขอพิจารณาใหม่ จำเลยต้องแสดงเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำให้การได้ทัน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างว่าเพิ่งทราบการส่งหมายและสำเนาคำฟ้องหลังจากพ้นกำหนดยื่นคำให้การแล้วแต่ตั้งใจที่จะแต่งทนายเพื่อซักค้านพยานโจทก์เนื่องจากยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องสูงกว่าความจริงจำเลยมีหลักฐานต่อสู้คดีได้คำขอดังกล่าวไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลคำขอให้พิจารณาใหม่จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6138-6139/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงงาน การหักกลบลบหนี้ และคำให้การที่ไม่ชัดเจน
ตามคำให้การของจำเลยตอนแรกจำเลยให้การว่าการก่อสร้างเครื่องจักรทั้งสามรายการเป็นงานที่โจทก์ต้องทำให้แก่จำเลยตามที่จ้างกันอยู่แล้วแต่คำให้การตอนต่อมาจำเลยให้การว่าหากจะถือว่าสิ่งก่อสร้างทั้งสามรายการเป็นส่วนอื่นอยู่นอกเหนือสัญญาจ้างเมื่อจำเลยตอบปฏิเสธตามที่โจทก์เสนอราคาค่าก่อสร้างมาก็แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะทำเพราะจำเลยไม่ได้ตกลงด้วยการที่โจทก์ทำไปโดยพลการจึงไม่ชอบที่โจทก์จะมาเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยคำให้การของจำเลยดังกล่าวอ่านแล้วไม่อาจทราบได้ว่าเครื่องจักรทั้งสามรายการที่กล่าวแล้วจำเลยตกลงจ้างให้โจทก์สร้างหรือไม่คำให้การของจำเลยข้อนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง หนี้ตามที่จำเลยอ้างเพื่อนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์เป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่เพราะโจทก์มิได้รับว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยตามที่อ้างด้วยเหตุนี้จึงไม่แน่ว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยจริงหรือไม่และมีจำนวนเท่าใดเมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการต่อสู้คดี & การยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์: ผู้ค้ำประกันต้องยกเหตุไม่ต้องรับผิดในคำให้การเท่านั้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ซ.ลูกหนี้ชั้นต้นของโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์ โดยบรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมทั้งหลักฐานการเป็นหนี้ส่งไปยังจำเลย จำเลยรับแจ้งการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่จำเลยค้ำประกันไว้แต่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ส่วนหนึ่ง ขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่แจ้งไปตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์อ้างจริง แต่ไม่ต้องรับผิดในหนี้บางจำนวน กล่าวคือใบส่งของบางฉบับไม่ระบุวันที่รับสินค้า ใบส่งของบางฉบับไม่ระบุหลักฐานการลงนามรับสินค้าและวันที่รับสินค้าและหนี้บางรายการไม่ปรากฏใบส่งของ จำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะชำระหนี้เฉพาะที่มีหลักฐานถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น จะเห็นได้ว่าคำให้การได้ยกเหตุแห่งการปฏิเสธหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้ง ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 177 วรรคสองแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อที่ 2 ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใด แต่การวินิจฉัยคดีในประเด็นดังกล่าวก็จำกัดอยู่แต่ในข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้น หากนำเหตุอื่นมาวินิจฉัยคดีก็จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ซึ่งไม่อาจกระทำได้ ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะมีสินค้าบางส่วนที่โจทก์ได้รับคืนไปแล้วและบางส่วนโจทก์ได้รับชดใช้ราคาไปแล้วก็ดีกับข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นแล้วทำให้หนี้สินระงับไปจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดก็ดี ล้วนแต่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้
กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวน-พิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่าย มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดี ข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิด เพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วน ชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีก และพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้ว ทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225วรรคสอง
กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวน-พิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่าย มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดี ข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิด เพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วน ชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีก และพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้ว ทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุแก้ต่างนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน ศาลจำกัดเฉพาะข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นในชั้นต้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันบริษัทซ.ลูกหนี้ชั้นต้นของโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์โดยบรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมทั้งหลักฐานการเป็นหนี้ส่งไปยังจำเลยจำเลยรับแจ้งการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่จำเลยค้ำประกันไว้แต่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ส่วนหนึ่งขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่แจ้งไปตามสัญญาค้ำประกันจำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์อ้างจริงแต่ไม่ต้องรับผิดในหนี้บางจำนวนกล่าวคือใบส่งของบางฉบับไม่ระบุวันที่รับสินค้าใบส่งของบางฉบับไม่ระบุหลักฐานการลงนามรับสินค้าและวันที่รับสินค้าและหนี้บางรายการไม่ปรากฏใบส่งของจำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะชำระหนี้เฉพาะที่มีหลักฐานถูกต้องครบถ้วนเท่านั้นจะเห็นได้ว่าคำให้การได้ยกเหตุแห่งการปฏิเสธหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา177วรรคสองแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อที่2ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใดแต่การวินิจฉัยคดีในประเด็นดังกล่าวก็จำกัดอยู่แต่ในข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นหากนำเหตุอื่นมาวินิจฉัยคดีก็จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นซึ่งไม่อาจกระทำได้ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะมีสินค้าบางส่วนที่โจทก์ได้รับคืนไปแล้วและบางส่วนโจทก์ได้รับชดใช้ราคาไปแล้วก็ดีกับข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นแล้วทำให้หนี้สินระงับไปจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดก็ดีล้วนแต่เป็นข้อทีมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่ายมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดีข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วนชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีกและพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้องเพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้วทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง