พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าหน้าที่: การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ต้องพิจารณาคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2526 ออกตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุกำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าเขตหรือผู้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอ หรือเจ้าพนักงานปกครอง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในอำเภอ กิ่งอำเภอหรือเขตนั้น ๆ ปรากฏว่า ฉ. มิใช่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอตามประกาศดังกล่าว ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ฉ.เป็นเจ้าหน้าที่อำเภอเขมราฐ ทำหน้าที่เสมียนปกครองและเป็นผู้ช่วยงานปลัดอำเภอ หาได้บรรยายว่าเป็นเจ้าพนักงานปกครองไม่ ฉ.จึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: การพิจารณาความเป็นผู้สืบสกุลเจ้ามรดกจากบุตร
พินัยกรรมระบุเงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกว่าต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสกุลของเจ้ามรดก มารดาโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทกระดาษนำเข้าเพื่อเสียอากร: พิจารณาจากชื่อ คุณสมบัติ และวัตถุประสงค์การใช้งาน
หนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา4 หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกันและออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ประกอบกับใบอนุญาตซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ออกให้โจทก์ระบุไว้ชัดว่า อนุญาตให้โจทก์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกบิสิเนสเยลโล่เพจเจ็สและหนังสือพิมพ์สมุดธุรกิจเยลโล่เพจเจ็สอีกหลายฉบับ ซึ่งออกเป็นรายปี ดังนี้สมุดธุรกิจต่าง ๆ ของโจทก์จึงเป็นหนังสือพิมพ์ตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษหาได้หมายถึงวัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ชื่อที่เรียกคุณสมบัติ ลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯสินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่งดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค. (1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน 55 กรัมต่อตารางเมตร
กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษหาได้หมายถึงวัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ชื่อที่เรียกคุณสมบัติ ลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯสินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่งดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค. (1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน 55 กรัมต่อตารางเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: ไม่จำเป็นต้องทราบรายละเอียดทรัพย์สินทั้งหมด
ประเด็นในชั้นขอเป็นผู้จัดการมรดกมีเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ มีกรณีที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่และเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ส่วนปัญหาว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คนมีทรัพย์มรดกเท่าไรมิใช่ข้อสำคัญในคดีแม้ผู้ร้องจะบรรยายมาในคำร้องไม่ครบถ้วน ก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่ผู้ร้องไม่มีความรู้และไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการงานซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนั้น เป็นเรื่องการดำเนินกิจการงานตามปกติทั่วไป ไม่เป็นเหตุต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องไม่มีความรู้และไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการงานซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนั้น เป็นเรื่องการดำเนินกิจการงานตามปกติทั่วไป ไม่เป็นเหตุต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: เอกสารประกอบฟ้อง, การจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก, และคุณสมบัติผู้จัดการ
บัญชีเครือญาติและมรณบัตร ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาพร้อมคำฟ้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดก
บัญชีทรัพย์มรดกในคดีที่จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกไม่ถือเป็นบัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำหลังจากรับหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728และ 1729
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิได้ให้การต่อสู้แต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นบุคคลที่ต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดก และไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด ข้อฎีกาของจำเลยที่ 4 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-เนติ)
บัญชีทรัพย์มรดกในคดีที่จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกไม่ถือเป็นบัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำหลังจากรับหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728และ 1729
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิได้ให้การต่อสู้แต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นบุคคลที่ต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดก และไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด ข้อฎีกาของจำเลยที่ 4 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง: ข้อหาไม่ชัดเจนเรื่องสัญชาติ vs. คุณสมบัติทางการศึกษา
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยขอให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ บรรยายเหตุที่ อ.ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เนื่องจากบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวไว้ 3 ประการคือ เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามข้อกล่าวหาของผู้ร้องนี้มิได้ยืนยันให้แน่นอนว่าบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวประเภทใดเพราะคนต่างด้าวทั้ง 3 ประเภทไม่เหมือนกัน คำร้องในข้อนี้จึงเคลือบคลุม ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง
ส่วนข้อหาที่บรรยายว่า อ.ไม่มีคุณสมบัติในด้านการศึกษาคำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่าอ.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1)แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุม (อ้างคำสั่งศาลฎีกาที่1817/2527)
ส่วนข้อหาที่บรรยายว่า อ.ไม่มีคุณสมบัติในด้านการศึกษาคำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่าอ.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1)แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุม (อ้างคำสั่งศาลฎีกาที่1817/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรรมการสหภาพแรงงาน: การปฏิเสธจดทะเบียนและคุณสมบัติผู้บังคับบัญชา
โจทก์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงานแต่จำเลยที่2อธิบดีกรมแรงงานปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนแสดงว่าโจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานแม้สหภาพแรงงานนั้นจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนและจำเลยที่2ปฏิเสธไปยังสหภาพแรงงานก็ตามย่อมมีผลโดยตรงต่อโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงานทำให้ไม่ได้สิทธิและประโยชน์อันจะพึงได้รับจากการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานโจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา91ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้นเป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานและกรณีตามมาตรา94ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา91มาใช้บังคับโดยอนุโลมก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกันส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา91และ94มาใช้ไม่ได้กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง6สถานคือไล่ออกปลดออกให้ออกลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือนและภาคทัณฑ์ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัยส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชามิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต่างกับการภาคทัณฑ์จึงไม่ใช่โทษทางวินัยการที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บนแม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา95วรรคสองไม่เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรงมิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าวและไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา101(1). (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1677-1678/2526และ2471/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเทศบาลในการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อวินิจฉัยสมาชิกสภาเทศบาลขาดคุณสมบัติ
พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา7วรรคสองบัญญัติให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและกฎหมายอื่นเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะต้องดูแลว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดขาดจากสมาชิกสภาพหรือไม่เทศบาลจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลขาดจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลการยื่นคำร้องไม่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของหน้าที่เทศบาลและเทศบาลมีอำนาจยื่นคำร้องได้เองโดยไม่ต้องให้นายกเทศมนตรีทำการแทนในนามของนายกเทศมนตรี.