คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สมรสไม่จดทะเบียนสมรส ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหาย
คู่สมรสที่แต่งงานกันหลังวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งตายไป คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดอุปการะจากคู่สมรสเสียชีวิต กรณีขับรถประมาท
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาททำให้ภริยาโจทก์ตายนั้น ถือได้ว่าการที่ภริยาโจทก์ตายลงนั้นทำให้โจทก์ผู้เป็นสามีต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443,1453 เช่น ค่าจ้างคนปฏิบัติโจทก์แทนผู้ตายระหว่างที่โจทก์อยู่โรงพยาบาลและค่าขาดการปฏิบัติอุปการะของผู้ตายต่อโจทก์ตลอดกาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขัดทรัพย์ของคู่สมรส: แม้มิได้ระบุในคำร้อง แต่หากนำสืบได้ว่าทรัพย์สินเป็นของภริยา ผู้ร้องก็มีสิทธิ
แม้ในคำร้องจะมิได้กล่าวว่าทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์เป็นของภรรยาผู้ร้อง แต่ในชั้นพิจารณานำสืบได้ความว่าเป็นทรัพย์ของภรรยาผู้ร้องก็ถือได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ของภรรยาได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทำละเมิดต่อที่นาทำกินของคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน
ชายหญิงเป็นสามีภรรยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและได้ทำนาร่วมกันมา จำเลยทำละเมิดต่อที่นาแปลงนั้น ชายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ในนามของตนเอง และหญิงก็ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เพราะมีส่วนได้เสีย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดก: สิทธิทายาทตามคำพิพากษาศาลฎีกา & การเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ป.พ.พ.
ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนว่าที่สวนยางรายนี้เป็นมรดกของนายนวล ซึ่งทายาทของนายนวลมีสิทธิที่จะได้รับการแบ่งทรัพย์รายนี้ตามกฎหมาย จำเลยในคดีหลังนี้ ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนนั้นด้วย จะกลับมาโต้แย้งคัดค้านในคดีหลังนี้ว่าที่สวนยางรายเดียวกันนั้น เป็นทรัพย์ของตนฝืนคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าว ไม่ได้
ก่อนใช้ป.พ.พ.เมื่อชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันท์ผัวเมียโดยเปิดเผย ก็เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำต้องจดทะเบียนการสมรส บุตรที่เกิดแต่ชายหญิงเป็นทายาทโดยธรรมของชายหญิงนั้นตามป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในหนี้ของคู่สมรส และการไม่มีอำนาจฟ้องผู้รับมรดกที่หย่าแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ไปใช้จ่ายหาเลี้ยงในครอบครัวเมื่อสามีตายจำเลยเป็นผู้รับมรดกจึงขอให้จำเลยรับผิด
เมื่อคดีโจทก์ฟังไม่ได้ว่าหนี้นั้นเป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ.ม.1482 (1) จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชอบร่วมกับนายวุ่น โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานจำเลยเป็นภรรยานายวุ่นได้
ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้รับมรดกนายวุ่นโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดฐานเป็นผู้รับมรดกนายวุ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้ของคู่สมรสหลังการหย่าและการไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้รับมรดก
โจทก์ฟ้องว่าสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ไปใช้จ่ายหาเลี้ยงในครอบครัวเมื่อสามีตายจำเลยเป็นผู้รับมรดกจึงขอให้จำเลยรับผิด
เมื่อคดีโจทก์ฟังไม่ได้ว่าหนี้นั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482(1) จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดร่วมกับนายวุ่น โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานจำเลยเป็นภรรยานายวุ่นได้
ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้รับมรดกนายวุ่น โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดฐานเป็นผู้รับมรดกนายวุ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและมรดก: การพิสูจน์สถานะคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน และสิทธิในทรัพย์สินที่ได้มาหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันมาก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 จึงขอให้ศาลแสดงว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นสินสมรส โจทก์มีสิทธิสองส่วนจำเลยหนึ่งส่วน
จำเลยต่อสู้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวจำเลย ๆ เป็นภรรยาโจทก์หลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ภายหลังได้หย่าขาดและแบ่งทรัพย์กันแล้ว ดังนี้ แม้ในคดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ว่าลักตัดยางในสวนพิพาทศาล่จะฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ5 ก็ดี ในคดีใหม่นี้ ศาลก็ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้ว และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันได้ เพราะคดีใหม่นี้+หาได้เกี่ยวเนื่องมาจากคดีอาญาที่หากันว่าลักตัดยางในสวนพิพาทไม่ คู่ความมาพิพาทกันด้วยสิทธิในครอบครัว และทรัพย์สินในทางแพ่ง เป็นเรื่องใหม่อีกโสดหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมร่วม: สิทธิการยกทรัพย์หลังคู่สมรสเสียชีวิต ไม่ผูกพันตามข้อตกลงเดิม
สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าวายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ฯถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ" และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ)ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา (นางจันทร์)ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี(ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรมสามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีข้อผูกพันตาม กฎหมาย ที่สามี(ขุนอุปพงษ์ฯ)จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตามกฎหมาย สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใครๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยา ว่าจะให้โจทก์ก็ตาม ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะยกทรัพย์ให้แก่โจทก์เมื่อตาย แต่เมื่อมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ไว้โดยตรงดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 536 แล้วก็ใช้บังคับไม่ได้ และเรื่องนี้เป็นการยกทรัพย์ให้กันตามพินัยกรรมไม่ใช่เรื่องคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374
ข้อผูกพันให้ทรัพย์ตกได้แก่โจทก์ใช้บังคับมิได้เพราะขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการจดทะเบียนสมรส: สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสและบิดามารดา
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเอง บิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชาย หรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้
of 20