พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: พิจารณาจากลูกหนี้ผิดนัด ไม่ใช่หมดอายุความของลูกหนี้ และการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าระยะเวลา 10 ปีไม่ได้ แต่เหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดเป็นเรื่องที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดไปด้วยเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม
แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาเพียงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะนั้นอายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังสะดุดหยุดอยู่ก็ตาม
แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย ยังไม่มีการยกเลิกการล้มละลาย และยังไม่ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์รายได้เป็นครั้งที่สุด อายุความที่จะฟ้องลูกหนี้ยังคงสะดุดหยุดอยู่ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้ยกเหตุผลโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และฎีกาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องฎีกาข้อแรกถึงข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบแล้วลงท้ายฎีกาว่าโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ขอให้โจทก์ฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยมิได้ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบข้อไหนอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ใช้แก่จำเลยสูงเกินไปนั้น เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อแรก คดีคงเหลือปัญหาตามฎีกาซึ่งเป็นเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว เมื่อโจทก์มิได้ยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถือว่าเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมศาลกับการชำระหนี้: การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ไม่ใช่การชำระหนี้
การที่จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 มิใช่เป็นการชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ถือเป็นการชำระหนี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงิน
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมของจำเลยเป็นการปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิใช่เป็นการชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินตามคำพิพากษาครบถ้วน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2535 ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ปรากฏว่า เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางไว้ต่อศาลแล้ว ส่วนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ ก็ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินมาวางเป็นประกันไว้ต่อศาลแล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน2535 โดยเป็นการวางเงินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ซึ่งสั่งตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2535 จึงถือได้ว่าจำเลยได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลในกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แล้ว ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและประกันตามคำสั่งศาล เพื่ออุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ การปฏิบัติตามกำหนดเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2535 ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ปรากฏว่า เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางไว้ต่อศาลแล้ว ส่วนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ ก็ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินมาวางเป็นประกันไว้ต่อศาลแล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 โดยเป็นการวางเงินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ซึ่งสั่งตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2535 จึงถือได้ว่าจำเลยได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 234 แล้ว ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4614/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกับการคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลฎีกาชี้ขาดสิทธิในการรับเงินคืน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้เงินแก่โจทก์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยทั้งสามผู้เป็นโจทก์ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 150 วรรคสองประกอบตาราง 1(1)(ก) ค่าขึ้นศาลเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายบังคับให้คู่ความที่ยื่นคำฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์หรือฟ้องฎีกาจะต้องเสียในขณะยื่นคำฟ้องนั้น ส่วนการคืนค่าขึ้นศาลแก่คู่ความ ศาลจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกากับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลในการยื่นอุทธรณ์และฎีกานั้น เป็นเงินคนละส่วนกัน การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นผลให้จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอรับเงินจำนวนดังกล่าวที่วางไว้ในการยื่นอุทธรณ์และฎีกาคืนจากศาลชั้นต้นได้ ส่วนค่าขึ้นศาลที่จำเลยทั้งสามต้องเสียในการยื่นอุทธรณ์และฎีกานั้น ไม่อยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ที่ศาลจะคืนให้ได้ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4263/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามสัดส่วนทุนทรัพย์ที่แพ้คดี
เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเงิน105,000 บาท ก็ไม่ควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกับจำเลยดังกล่าวเกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 3 แพ้คดี และศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลชั้นต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการประเมินภาษีอากรและการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิผู้จัดการมรดก ความถูกต้องของเอกสาร และค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ผู้ร้องที่ 1 มิได้อุทธรณ์คดีในส่วนส่วนผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นข้อยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องที่ 1ไม่มีสิทธิฎีกา สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านระบุชื่อ ช. เป็นบิดาของผู้ร้องที่ 2แต่ผู้ร้องที่ 2 มิได้นำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามเอกสารดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง