พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเก็บกินจากการตอบแทนการยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิเรียกร้องบังคับให้จดทะเบียนได้
การที่จำเลยตกลงด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ก็เพื่อเป็นการ ตอบแทนที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทนก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้น และเมื่อได้มีการจดทะเบียนเช่นนั้นแล้ว การได้มาโดยนิติกรรมดังกล่าวซึ่งสิทธิเก็บกินอันเป็นทรัพย์สิทธิก็ย่อมบริบูรณ์ตามกฎหมายสมเจตนาของคู่กรณี สิทธิของโจทก์ตามนิติกรรมดังกล่าวนี้เป็นสิทธิ เรียกร้องระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณี ตราบใดที่ จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังมิได้ โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจ ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเก็บกินจากการยกที่ดินเป็นของขวัญ: สิทธิเรียกร้องบังคับจดทะเบียนได้
โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกิน ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทน ในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้น ตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สมบูรณ์หากมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นต้องมีข้อจำกัด
แม้ ท.เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท.ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภาระจำยอมหรือเปิดทางพิพาทแก่โจทก์
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สมบูรณ์เมื่อยังมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นไม่มีเมื่อมีทางสาธารณะ
แม้ท.ยินยอมให้ทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมเมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การได้มาจึง ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท. ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นบุตร ถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งหาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณี ทายาทรับมรดกไม่ความยินยอมของ ท.ที่ให้ทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท โดยอาศัยเหตุนี้ได้ คลองหม่อมเจิมเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 การที่ปัจจุบันราษฎรมิได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวก เท่าการสัญจรทางบก หาได้ทำให้คลองหม่อมเจิมสิ้นสภาพ จากการเป็นทางสาธารณะไปไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์อยู่ ติดคลองหม่อมเจิมซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สมบูรณ์หากไม่ได้จดทะเบียน & ทางสาธารณะยังคงสภาพ แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์
แม้ ท. เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณี ที่โจทก์ได้ภารจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อ ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อม ไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งและคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วยเมื่อ ท. ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มี ผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภารจำยอมหรือเปิดทางพิพาท แก่โจทก์ การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะ เมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าว กีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎร ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้ คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะ อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: ผลผูกพันตามระยะเวลาและหน้าที่จดทะเบียน
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยลงวันที่ทำสัญญาคือ12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งกำหนดอายุการเช่าไว้เป็นเวลา 20 ปี 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่า สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี คือมีผลบังคับจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ข้อกำหนดต่าง ๆ ทุกข้อในสัญญาเช่าพิพาทย่อมมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน ดังนี้ ข้อกำหนดให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มีนาคม2536 ตามข้อ 5 และ 6 แห่งสัญญาเช่าพิพาท ย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามตราบเท่าที่สัญญาเช่าดังกล่าวมีผลบังคับได้คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์2539 เช่นกัน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้อาศัยข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าข้อที่ 5 และ 6บอกกล่าวเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้คือไปจดทะเบียนการเช่าตั้งแต่วันที่26 กันยายน 2537 และฟ้องร้องเพื่อการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17มกราคม 2539 ภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าพิพาทซึ่งรวมถึงข้อกำหนดข้อ 5 และ 6ยังมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น จำเลยไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาที่ได้ผูกพันไว้โดยชอบดังกล่าว จึงชอบศาลจะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่านั้นได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นมีผลบังคับใช้ได้เพียง 3 ปี โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนได้ภายในระยะเวลาสัญญา
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย ลงวันที่ทำสัญญาคือ 12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งกำหนดอายุการเช่า ไว้เป็นเวลา 20 ปี 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียน การเช่า สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี คือมีผลบังคับจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ข้อกำหนดต่าง ๆ ทุกข้อในสัญญาเช่าพิพาทย่อมมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน ดังนี้ ข้อกำหนดให้ผู้เช่าและ ผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญา ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มีนาคม 2536 ตามข้อ 5 และ 6 แห่งสัญญาเช่าพิพาท ย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามตราบเท่าที่สัญญาเช่าดังกล่าว มีผลบังคับได้คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 เช่นกันเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้อาศัยข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่า ข้อที่ 5และ 6 บอกกล่าวเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติ การชำระหนี้คือไปจดทะเบียนการเช่าตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2537 และฟ้องร้องเพื่อการบังคับใช้สิทธิ ดังกล่าวเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2539 ภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าพิพาทซึ่งรวมถึงข้อกำหนดข้อ 5 และ 6ยังมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้อง ปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น จำเลยไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะหลุดพ้น ความรับผิดตามสัญญาที่ได้ผูกพันไว้โดยชอบดังกล่าว จึงชอบศาลจะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่านั้นได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการจดทะเบียน: ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อนหน้านี้ที่ยังมิได้จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วยจาก ส.ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนนั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน สิทธิใครเหนือกว่า
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส. แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองเดิมที่ไม่จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จากส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้ ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนาย ผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้าน ยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดี ในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้