พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านที่ 1 บรรยายคำคัดค้านไว้แล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับพินัยกรรมและมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่จำต้องแนบพินัยกรรมมาท้ายคำคัดค้านด้วย การที่คำคัดค้านระบุว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านที่ 1เพียงผู้เดียว แต่ชั้นพิจารณาได้ความตามพินัยกรรมว่า ทรัพย์สินรายการที่ 1 เจ้ามรดกได้ทำสัญญาจะขายให้บุคคลภายนอก เงินที่ได้ยกให้กับผู้คัดค้านที่ 1 ส่วนหนึ่ง กับยกให้ ส. อีกส่วนหนึ่งส่วนทรัพย์รายการที่ 2 ตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด เช่นนี้เป็นเรื่องพยานหลักฐานที่นำสืบได้ความไม่เต็มบริบูรณ์ตามคำคัดค้านและก็ยังได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ที่อ้างเทปบันทึกเสียงเป็นพยานจะต้องถอดข้อความในเทปออกมา หรือต้องนำเทปมาเปิดในขณะพิจารณาคดีของฝ่ายที่อ้างเองหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะการนำสืบเสียงพูดเป็นการนำสืบวัตถุพยาน พินัยกรรมฉบับหลังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกรายเดียวกับที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับก่อนเท่านั้น มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697 สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับก่อนจึงระงับ ส่วนข้อกำหนดในการตั้งผู้จัดการมรดกยังคงมีผลอยู่แต่ตามพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้อง ด.และช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ถ้าผู้ใดตาย ให้ผู้มีชีวิตอยู่ดำเนินการแทน ดังนั้นเมื่อด.ตายผู้ร้องต้องร่วมกับช. จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งเฉพาะผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกด้วยเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใด ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมและไม่มีส่วนได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกจึงเหมาะสม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ข้อขัดแย้งของผู้จัดการมรดกและการส่งมอบบัญชี
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้อง ส่วนผู้ร้องสอดที่ 1 ถูกโต้แย้งว่า ได้นำทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งไปจำหน่าย ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก กรณีเห็นได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ไม่อาจเข้าร่วมจัดการเพื่อประโยชน์ของกองมรดกโดยไม่มีข้อขัดแย้งได้ ตามพฤติการณ์จึงไม่อาจตั้งผู้ร้องสอดที่ 1 ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 2 ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามพินัยกรรม หากผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย อำนาจจะสิ้นสุดลง
ศาลมีคำสั่งตั้ง จ. ม. และ ท. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม ซึ่งตามพินัยกรรมข้อ 4 กำหนดไว้ว่า ในการจัดการมรดกนั้นให้ผู้จัดการมรดกจัดการร่วมกัน ดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก จึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมคือต้องจัดการร่วมกัน ถ้า ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งคนใดตาย ไปคนที่เหลืออยู่ย่อมไม่มีอำนาจจะจัดการมรดกต่อไป ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกเดิม คือ จ. ม.และ ท. เสียแล้วตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแทน ข้อเท็จจริงปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาว่า ม. และ ท.ถึงแก่ความตาย แล้ว จ. จึงไม่มีอำนาจจัดการมรดกรายนี้อีกต่อไปและผู้ร้องไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนผู้จัดการมรดกอีก ดังนี้ไม่มีเหตุที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องต่อไป ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังจำเลยถึงแก่กรรม และการฟ้องคดีเกี่ยวกับจัดการมรดก
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1ผู้มรณะนั้นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์จึงให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังไปแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของโจทก์ที่ 1 ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 2เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 เสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการไม่มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก กรณีที่ดินแปลงหนึ่งถูกสละโดยทายาท ทำให้ไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. เจ้ามรดกทางพิจารณาได้ความว่า ย. ได้ทำหนังสือสละที่ดินมรดกมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และ ร. ไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่น ย. ย่อมไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินมรดก กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือแบ่งปันมรดกสำหรับ ย.จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการไม่มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก ทำให้ไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.เจ้ามรดกทางพิจารณาได้ความว่าย. ได้ทำหนังสือสละที่ดินมรดกมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และ ร. ไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่น ย. ย่อมไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินมรดก กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือแบ่งปันมรดกสำหรับ ย.จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน: เสียงข้างมากมีอำนาจตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องให้ศาลชี้ขาดเมื่อเสียงไม่เท่ากัน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกันตามคำสั่งของศาลเมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 ยินยอมให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้เข้ารับโอนใบอนุญาตโรงเรียนสืบต่อจาก น. แต่ผู้ร้องที่ 2คัดค้าน ดังนี้เป็นการจัดการมรดกซึ่งผู้จัดการมรดกทำการตามหน้าที่โดยเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงเท่ากันในอันที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726
ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกเสียงข้างมาก ไม่ต้องขอศาลชี้ขาดหากไม่ใช่กรณีเสียงเท่ากัน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกันตามคำสั่งของศาลเมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 ยินยอมให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้เข้ารับโอนใบอนุญาตโรงเรียนสืบต่อจาก น. แต่ผู้ร้องที่ 2คัดค้าน ดังนี้เป็นการจัดการมรดกซึ่งผู้จัดการมรดกทำการตามหน้าที่โดยเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงเท่ากันในอันที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการร่วม กรณีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันได้ และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลบัญชี
การที่จะขอให้ศาลชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันแล้วมีความเห็นแตกต่างกันจนไม่สามารถจัดการมรดกได้ และเกิดมีเสียงเท่ากัน การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันละเลยเพิกเฉยไม่ยอมเข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้ร้องในอันที่จะจัดการมรดกนั้น มิใช่เป็นกรณีที่จะมาขอให้ศาลชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
ผู้จัดการมรดกจะมาร้องขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกให้ธนาคารส่งและแจ้งบัญชีเงินฝากรวมทั้งหลักฐานการเบิกถอนและสรรพเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ตายหรือของผู้คัดค้านต่อศาลเพื่อให้ตนตรวจสอบหาได้ไม่ เป็นเรื่องที่ผู้จัดมรดกจะต้องดำเนินการเองตามสิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย.
ผู้จัดการมรดกจะมาร้องขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกให้ธนาคารส่งและแจ้งบัญชีเงินฝากรวมทั้งหลักฐานการเบิกถอนและสรรพเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ตายหรือของผู้คัดค้านต่อศาลเพื่อให้ตนตรวจสอบหาได้ไม่ เป็นเรื่องที่ผู้จัดมรดกจะต้องดำเนินการเองตามสิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน หากขัดแย้งจนจัดการมรดกไม่ได้ จึงขอให้ศาลชี้ขาดได้ ธนาคารไม่เกี่ยวข้อง
การที่จะขอให้ศาลชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันแล้วมีความเห็นแตกต่างกันจนไม่สามารถจัดการมรดกได้ และเกิดมีเสียงเท่ากัน การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันละเลยเพิกเฉยไม่ยอมเข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้ร้องในอันที่จะจัดการมรดกนั้น มิใช่เป็นกรณีที่จะมาขอให้ศาลชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ผู้จัดการมรดกจะมาร้องขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกให้ธนาคารส่งและแจ้งบัญชีเงินฝากรวมทั้งหลักฐานการเบิกถอนและสรรพเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ตายหรือของผู้คัดค้านต่อศาลเพื่อให้ตนตรวจสอบหาได้ไม่ เป็นเรื่องที่ผู้จัดมรดกจะต้องดำเนินการเองตามสิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย.