พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4609/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์: ศาลมีอำนาจพิจารณาในคดีขัดทรัพย์ได้ แม้มีข้ออ้างเรื่องฉ้อฉล
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์พิพาทไม่ใช่ของจำเลย แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง เพราะผู้ร้องซื้อจากจำเลยแล้ว และโจทก์ต่อสู้ว่าการซื้อขายทรัพย์พิพาททำขึ้นเพื่อฉ้อฉลโจทก์ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนี้โจทก์ ราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาท้องตลาด คู่สัญญาไม่มีเจตนาทำสัญญาผูกพันกันตามกฎหมาย ทรัพย์พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ โจทก์มีสิทธิยึดได้ ประเด็นจึงมีว่าทรัพย์พิพาทยังเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลมีอำนาจชี้ขาดในคดีร้องขัดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการถูกฉ้อฉล ศาลเพิกถอนได้
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลเพราะถูกโจทก์หลอกว่าเป็นการทำเรื่องถอนฟ้อง โดยโจทก์จะเอาเงินจากจำเลยเพียง 140,000 บาท แต่ความจริงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยชำระหนี้โจทก์เป็นเงินกว่า 270,000 บาท เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉล จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ การโอนเช็คไม่เข้าข่ายฉ้อฉล ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยฎีกากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลย เพราะไม่ทำให้การโอนเช็คพิพาทระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ไปได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ แม้มีการโอนสิทธิ แต่การโอนนั้นไม่เข้าข่ายฉ้อฉล ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเช็ค
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยฎีกากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลย เพราะไม่ทำให้การโอนเช็คพิพาทระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ไปได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายทำสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย เว้นแต่พิสูจน์ฉ้อฉลได้ชัดแจ้ง
จำเลยตั้งให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ได้ เมื่อทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกมัดจำเลยไม่ให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยข้อยกเว้น
จำเลยไม่ได้ยืนยันในอุทธรณ์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์และทนายจำเลยกระทำการร่วมกันอันเป็นการฉ้อฉลจำเลย เพียงแต่อ้างว่าสืบทราบว่าโจทก์ให้เงินทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ เป็นการคาดคิดเอาเองของจำเลยฝ่ายเดียว ยังถือไม่ได้ว่ามีการฉ้อฉลเกิดขึ้นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และทนายจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138
จำเลยไม่ได้ยืนยันในอุทธรณ์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์และทนายจำเลยกระทำการร่วมกันอันเป็นการฉ้อฉลจำเลย เพียงแต่อ้างว่าสืบทราบว่าโจทก์ให้เงินทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ เป็นการคาดคิดเอาเองของจำเลยฝ่ายเดียว ยังถือไม่ได้ว่ามีการฉ้อฉลเกิดขึ้นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และทนายจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายทำสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย เว้นแต่มีเหตุฉ้อฉลที่ชัดแจ้ง
จำเลยตั้งให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ได้ เมื่อทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกมัดจำเลยไม่ให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยข้อยกเว้น จำเลยไม่ได้ยืนยันในอุทธรณ์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์และทนายจำเลยกระทำการร่วมกันอันเป็นการฉ้อฉลจำเลย เพียงแต่อ้างว่าสืบทราบว่าโจทก์ให้เงินทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ เป็นการคาดคิดเอาเองของจำเลยฝ่ายเดียว ยังถือไม่ได้ว่ามีการฉ้อฉลเกิดขึ้นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และทนายจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คโดยสุจริต ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถต่อสู้ได้หากไม่ได้กล่าวอ้างถึงการฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็คจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งมี ดอกเบี้ย เกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในมือของโจทก์ได้อย่างไรโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยคบคิดกับผู้หนึ่งผู้ใดฉ้อฉลจำเลย ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริต การที่จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาอย่างไร ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คโดยสุจริตและการต่อสู้เรื่องการฉ้อฉล จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานหากไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องการคบคิดฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็คจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งมี ดอกเบี้ย เกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในมือของโจทก์ได้อย่างไรโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยคบคิดกับผู้หนึ่งผู้ใดฉ้อฉลจำเลย ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริต การที่จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาอย่างไร ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยฉ้อฉลเพื่อเสียเปรียบเจ้าของที่ดินข้างเคียง และการบังคับให้จดทะเบียนภารจำยอม
โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 1 ต่างลงชื่อในบันทึกข้อตกลงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงใหญ่ และได้มาจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากกันเป็นคนละ 1 แปลง แต่ยังไม่ได้จดภารจำยอมทางเดินเข้าออกเนื่องจากยังไม่มีโฉนด ทุกคนทราบว่าทางเดินกว้าง 6 เมตร และจะมาจดภารจำยอมเรื่องทางเดินผ่านเมื่อได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว ดังนี้ เมื่อทุกคนต่างได้รับโฉนดที่แบ่งแยกใหม่แล้ว จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะขายที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 และโจทก์ที่ 4 จะยกที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงไปแล้วก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดโดยอาศัยสิทธิซึ่งกันและกันก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงได้
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของตน และอาศัยอยู่กับตนโดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ทราบว่า จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนทางภารจำยอมมาตั้งแต่แรก โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้อง รีบโอนให้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ก่อนจดทะเบียนภารจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่างทราบดีว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้มาซึ่งทางภารจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภารจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของตนได้โดยไม่จำต้องเพิกถอนการให้
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของตน และอาศัยอยู่กับตนโดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ทราบว่า จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนทางภารจำยอมมาตั้งแต่แรก โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้อง รีบโอนให้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ก่อนจดทะเบียนภารจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่างทราบดีว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้มาซึ่งทางภารจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภารจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของตนได้โดยไม่จำต้องเพิกถอนการให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยฉ้อฉลเพื่อเสียเปรียบเจ้าของที่ดินข้างเคียง และการบังคับให้จดทะเบียนภารจำยอม
โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 1 ต่าง ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงใหญ่ และได้ มาจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากกันเป็นคนละ 1 แปลง แต่ ยังไม่ได้จดภารจำยอมทางเดินเข้าออกเนื่องจากยังไม่มีโฉนด ทุกคนทราบว่าทางเดินกว้าง 6 เมตร และจะมาจดภารจำยอมเรื่องทางเดินผ่านเมื่อได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว ดังนี้ เมื่อทุกคนต่าง ได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว จึงมีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตาม ข้อตกลง แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะขายที่ดินแปลงของตน ให้โจทก์ที่ 5 และที่ 6และโจทก์ที่ 4 จะยกที่ดินแปลงของตน ให้โจทก์ที่ 7 ซึ่ง เป็นเจ้าของที่แท้จริงไปแล้วก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดโดย อาศัยสิทธิซึ่งกันและกันก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงได้ การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตน ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4ซึ่ง เป็นบุตรของตน และอาศัยอยู่กับตน โดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2ถึง ที่ 4 ได้ ทราบว่า จำเลยที่ 1 ต้อง จดทะเบียนทางภารจำยอมมาตั้งแต่ แรก โดย ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้อง รีบโอนให้จำเลยที่ 2ถึง ที่ 4 ก่อนจดทะเบียนภารจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่าง ทราบดี ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้ มาซึ่ง ทางภารจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภารจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะ จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของตน ได้ โดย ไม่จำต้องเพิกถอนการให้