คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในคดีฉ้อโกง: การหลอกลวงด้วยเอกสารเท็จและเช็คไม่มีมูล
สัญญากู้ที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์ร่วมนั้น จำเลยทำในนามของ ป. ซึ่งไม่มีตัวจริง ทั้งเช็คที่จำเลยนำมาแลกจำเลยยืมของบุคคลอื่นมาเป็นเช็คที่ปิดบัญชีแล้ว ลายมือชื่อที่จำเลยลงในเช็คก็ใช้ภาษาจีนไม่เป็นไปตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคารเช็คที่ใช้แลกเงินจากโจทก์ร่วมไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ การหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วมโดยทำหลักฐานการกู้หรือมอบเช็คให้โจทก์ร่วมดังกล่าวก็เป็นการหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินนั่งเอง จำเลยมิได้มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญากู้ หรือเช็คที่นำไปแลกแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3938/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์พิพาทโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลังรับแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการละเมิดหากมีเหตุอันควรสงสัย
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางก็เพราะมีมูลเหตุเกิดจากพฤติการณ์ที่ ว. หลอกลวงซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์แล้วไปขายต่อให้บุคคลภายนอกโดยไม่นำเงินค่ารถไปชำระแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยว่ารถยนต์พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือ ว. การร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นสิทธิของโจทก์ในฐานะประชาชนที่จะกระทำได้โดยชอบธรรมไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการทำละเมิดกฎหมายอันจะเกิดแก่โจทก์ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจไปยึดรถยนต์พิพาทมาเป็นของกลาง แม้จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแต่ก็เป็นดุลพินิจและอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินคดีแก่ ว. ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อำนาจไว้พฤติการณ์แห่งคดียังไม่ถึงขนาดที่จะรับฟังได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อ หรือมีเจตนาจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยฝ่ายเดียว การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฉ้อโกงที่ไม่ระบุชื่อกฎหมาย แต่เนื้อหาชัดเจนเพียงพอ ศาลไม่ถือว่าฟ้องไม่สมบูรณ์
หน้าคำฟ้องของโจทก์ลงข้อหาว่าฉ้อโกง และโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพเท่ากับจำเลยยอมรับว่าได้กระทำการต่างๆ ดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง แม้ว่าส่วนคำขอท้ายฟ้องพิมพ์ไว้แต่เพียงว่าขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 59, 341โดยมิได้อ้างชื่อกฎหมายแห่งมาตรานั้นๆ ก็ตาม แต่เมื่อประมวลคำฟ้องโจทก์แล้วทราบได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษนั้นคือ ป.อ.ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ทั้งมาตราที่พิมพ์ไว้ในคำขอท้ายฟ้องตรงกับมาตราที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.ในหมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดตกบกพร่องเพียงแต่มิได้ระบุชื่อของกฎหมายเท่านั้น แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษเป็นกฎหมายอะไร จึงหาเพียงพอที่จะถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)ไม่ ฟ้องโจทก์สมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาไม่ระบุชื่อกฎหมายที่อ้างถึง แต่จากเนื้อหาฟ้องสามารถระบุได้ว่าอ้างถึงกฎหมายอาญา จึงถือเป็นฟ้องสมบูรณ์
หน้าคำฟ้องของโจทก์ลงข้อหาว่าฉ้อโกง และโจทก์บรรยายฟ้อง ถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะ ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์บรรยาย มาในฟ้อง แม้ว่าส่วนคำขอท้ายฟ้องพิมพ์ไว้แต่เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 59,341 โดยมิได้อ้างชื่อกฎหมาย แห่งมาตรานั้น ๆ ก็ตาม แต่เมื่อประมวลคำฟ้องโจทก์แล้วทราบได้ว่า กฎหมายที่ขอให้ลงโทษนั้นคือประมวลกฎหมายอาญาซึ่งใช้บังคับอยู่ ในปัจจุบัน ทั้งมาตราที่พิมพ์ไว้ในคำขอท้ายฟ้องตรงกับ มาตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาในหมวด 3 ความผิด ฐานฉ้อโกง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดตกบกพร่องเพียงแต่มิได้ ระบุชื่อของกฎหมายเท่านั้น แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็น ได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษเป็นกฎหมายอะไร จึงหาเพียงพอที่จะ ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) ไม่ ฟ้องโจทก์สมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้นและการฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลยกฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อเป็นข้อพิพาทสัญญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.นี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ได้
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงรับรองฎีกา และความผิดฐานฉ้อโกงจากสัญญาซื้อขายหุ้น
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้น: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่ฟ้องบังคับตามสัญญาได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวงแต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัทส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้วซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาเมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ มีโทษร้ายแรง แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฉ้อโกง ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารยังคงอยู่
การที่จำเลยปลอมโฉนดซึ่งเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา266(1)เป็นความผิดที่มีโทษจำคุกขั้นสูงถึงสิบปีพฤติการณ์ที่จำเลยปลอมโฉนดและนำโฉนดที่จำเลยปลอมไปหลอกลวงกู้เงินโจทก์ร่วมถึง600,000บาทนั้นมีลักษณะเป็นภัยร้ายแรงต่อโจทก์ร่วมและสุจริตชนโดยทั่วไปซึ่งมิใช่วิสัยของคนที่เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดมาเป็นเวลาถึง5ปีเช่นจำเลยจักพึงกระทำแม้จำเลยจะใช้ค่าเสียหายเป็นที่พอใจจนโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงไปแล้วก็มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาฉ้อโกงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)เท่านั้นแต่ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งจำเลยกระทำนั้นหาได้ระงับไปด้วยไม่พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีฉ้อโกง: การพิสูจน์การรับรู้ความผิดและวันร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341อันเป็นคดีความผิดอันยอมความได้นั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้เสียหายได้ทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อใดเพื่อที่จะได้รู้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนหรือไม่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ในคดีอาญานั้นจำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้แม้จะไม่ให้การก็ได้เมื่อจำเลยให้การอย่างไรหรือจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการขายที่ดินเท็จ: การแสดงข้อความเท็จเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและการหลอกลวงให้ซื้อขาย
จำเลยที่2กับพวกคงมีแต่สำเนานส.3กที่ถ่ายมาจากที่ทางราชการเก็บรักษาไว้เท่านั้นโดยยังมิได้มีการรวบรวมซื้อที่ดินจากชาวบ้านเพื่อนำมาขายให้โจทก์ร่วมดังนั้นแม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะระบุข้อความในอนาคตว่าจำเลยกับพวกจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อขายภายใน1ถึง3เดือนนับแต่โจทก์ร่วมชำระมัดจำครบแต่ตามข้อความในเอกสารดังกล่าวมีความว่าขณะทำสัญญาจำเลยกับพวกมีสิทธิในที่ดินที่จะนำมาขายให้โจทก์ร่วมเป็นการแสดงข้อความในปัจจุบันอยู่ด้วยเมื่อข้อความดังกล่าวเป็นเท็จโดยความจริงจำเลยกับพวกมิได้ตั้งใจจะขายสิทธิในที่ดินให้โจทก์ร่วมโจทก์ร่วมหลงเชื่อจำเลยกับพวกในการแสดงข้อความเท็จและจ่ายเงินมัดจำให้ไปการกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341 จำเลยที่1รู้จักกับโจทก์ร่วมมาก่อนเป็นผู้ติดต่อพาโจทก์ร่วมไปดูที่ดินจนโจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาวางมัดจำและทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทประกอบกับขณะจะทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่1ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมดูสัญญาซื้อขายที่ฝ่ายจำเลยทั้งสองอวดอ้างว่าได้ทำไว้กับชาวบ้านแล้วแสดงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาทุจริตหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์ร่วมโดยแบ่งหน้าที่กันทำจึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง
of 94