พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยใช้หลักฐานทางบัญชีของคู่สัญญา: ชอบด้วยกฎหมายหากไม่มีข้อจำกัด
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ตามเอกสารหมายจ.1 แผ่นที่ 20 ระบุไว้ชัดเจนว่าบริษัท ส.ผู้ซื้อได้ชำระค่าที่ดินจำนวน 70 ล้านบาทให้โจทก์ผู้ขายเรียบร้อยแล้ว สัญญาดังกล่าวทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนตามกฎหมายเชื่อว่า ได้มีการชำระค่าที่ดินครบถ้วนตามนั้น ที่โจทก์นำสืบว่า การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 16 และ 17กล่าวคือ ชำระเป็นเงินสด 35 ล้านบาท โดยผ่อนชำระเป็น 5 งวด งวดละ7 ล้านบาท แต่ละงวดห่างกัน 1 ปี จำนวนที่เหลือ 35 ล้านบาท ชำระเป็นหุ้นของบริษัท ส.ในปี 2526 และ 2527 ได้รับชำระมาแล้วปีละ 7 ล้านบาท ปี 2528ไม่ได้รับ ปี 2529 ได้รับชำระเพียง 2 ล้านบาท นั้น เป็นการนำสืบที่ขัดต่อสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 อีกทั้งสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1แผ่นที่ 16 ถึง 17 เป็นสัญญาที่ทำกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. กรรมการและผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเป็นญาติกัน อาจจะทำสัญญาดังกล่าวกันอย่างไรหรือเมื่อใดก็ได้ และจะให้มีผลผูกพันกันจริงหรือไม่ก็ได้ และตามบัญชีงบดุลของบริษัท ส.ก็ลงไว้ว่า ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่บริษัทโจทก์เป็นเงิน 7 ล้านบาท และตั้งบริษัทโจทก์เป็นเจ้าหนี้ 70 ล้านบาท และลงว่าได้ชำระค่าหุ้นเป็นเงิน 35 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 70 ล้านบาท ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวแสดงว่าบริษัท ส.ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 70 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อบริษัท ส.ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากโจทก์ก็ได้นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมธนาคาร ในวันเดียวกันจำนวน70 ล้านบาท แสดงว่า บริท ส.นำเงินที่กู้ยืมดังกล่าวมาชำระราคาที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าหุ้นให้บริษัท ส. 35 ล้านบาท และให้บริษัท ส.กู้ยืมจำนวน 28ล้านบาท จึงเชื่อได้ว่าโจทก์มีรายได้จากการขายที่ดินจำนวน 70 ล้านบาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำการประเมินและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยนำรายได้ดังกล่าวมาลงบัญชีรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 จึงชอบแล้ว
คดีนี้ถ้าตรวจดูเฉพาะเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์เท่านั้นก็ไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงกำหนดรายได้ให้น้อยลงเพื่อที่จะเสียภาษีให้น้อยกว่าความเป็นจริง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยถือเอาเอกสารหลักฐานทางบัญชีของบริษัทที่ติดต่อเกี่ยวข้องกับโจทก์มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์มาพิจารณาประกอบการประเมิน จึงชอบแล้ว
คดีนี้ถ้าตรวจดูเฉพาะเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์เท่านั้นก็ไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงกำหนดรายได้ให้น้อยลงเพื่อที่จะเสียภาษีให้น้อยกว่าความเป็นจริง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยถือเอาเอกสารหลักฐานทางบัญชีของบริษัทที่ติดต่อเกี่ยวข้องกับโจทก์มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำเอกสารหลักฐานทางบัญชีของโจทก์มาพิจารณาประกอบการประเมิน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งการขายทอดตลาดไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ที่จดทะเบียน แม้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของแต่ยังมิได้จดทะเบียนแก้ไข ถือเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลยทราบแล้ว โดยส่งประกาศขายทอดตลาดไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองท้ายฟ้องแม้จำเลยจะอ้างว่าสำนักงานใหญ่ได้ขายให้ผู้อื่นไปแล้ว แต่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยแต่อย่างใด จึงถือว่าภูมิลำเนาอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยยังคงอยู่ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งหมายต่าง ๆ ให้แก่จำเลยณ ภูมิลำเนาที่จดทะเบียนในหนังสือรับรองท้ายฟ้อง จึงเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: เงื่อนไขบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
บุตรที่จะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูและการให้การศึกษาจากบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคแรก จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายตามเงื่อนไขที่ประกาศ ผู้สู้ราคารายใหม่หลังหมดเวลาไม่มีผล
ในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านนับ 1 ถึง 2แล้วหยุดราคาไว้เพื่อนำเสนอผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณาว่าจะอนุมัติให้ขายหรือไม่ เป็นการทำตามคำโฆษณาบอกขายที่ผู้คัดค้านได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคา ซึ่งมีผลผูกพันผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 การกระทำของผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้สู้ราคาสู้ราคาเกินกำหนด ผู้ขายมีสิทธิ์เคาะไม้ขายได้
ผู้คัดค้านได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้โดยกำหนดเงื่อนไขในการขายไว้ว่าผู้คัดค้านจะขานราคาครั้งแรกเป็นเงิน 11,400,000 บาท และผู้สู้ราคาจะต้องเสนอสู้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นเงินครั้งละ 100,000 บาท เมื่อผู้สู้ราคาเสนอสู้ราคาแล้วผู้คัดค้านจะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้ง หากมีผู้สู้ ราคาสูงขึ้นก็จะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้งใหม่ การขานราคาแต่ละครั้งผู้คัดค้านจะบันทึกราคาไว้เป็นหลักฐานแล้วอ่านให้ผู้สู้ราคาซื้อทรัพย์ฟังด้วย หากไม่มีผู้ใดสู้ราคาอีกก็จะนับ 2 สามสี่ครั้ง เพื่อรอให้มีการสู้ราคาสูงขึ้น ถ้าหากไม่มีผู้ใดสู้ราคาแล้ว ผู้คัดค้านจะหยุดราคาไว้แล้วนำเสนอผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณาและมีคำสั่งว่าจะอนุมัติให้ขายหรือไม่ เมื่อมีคำสั่งประการใดผู้คัดค้านก็จะปฎิบัติตามคำสั่งนั้น ในกรณีมีคำสั่งอนุมัติให้ขายผู้คัดค้านจะนับ 3 และเคาะไม้โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาต่อไปอีก เป็นคำโฆษณาบอกขายที่ผู้คัดค้านได้แถลงไว้ก่อน เผดิมการสู้ราคา ซึ่งมีผลผูกพันผู้ซื้อตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 เมื่อผู้คัดค้านเปิดประมูลการขายทอดตลอด ผู้เข้าสู้ราคาซื้อทรัพย์ได้เสนอราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้ทรัพย์เสนอราคาที่ 12,100,000 บาท ผู้คัดค้านได้ขานราคาและนับไปถึง 2 แล้ว ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดสู้ราคาให้สูงขึ้นไปอีกผู้คัดค้านจึงหยุดราคาไว้แล้วเสนอเรื่องให้ผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณา ระหว่างนี้ผู้ร้องได้เสนอราคาสูงขึ้นไปอีกเป็นเงิน 12,200,000 บาท แต่ผู้คัดค้านไม่ยินยอมให้มีการสู้ราคาต่อไปและได้นับ 3 แล้วเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขายจากผู้อำนวยการขายทอดตลาด เช่นนี้การกระทำของผู้คัดค้านจึงชอบกฎหมาย การที่ผู้ร้องได้เสนอสู้ราคาสูงขึ้นไปอีกในระหว่างนั้น เป็นการสู้ราคาเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ผู้คัดค้านได้โฆษณาเปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาได้ การสู้ราคาดังกล่าวจึงไม่มีผลตามกฎหมายและไม่เป็นเหตุให้ต้องเปิดการประมูลสู้ราคากันต่อไปอีก เพราะมิฉะนั้นแล้วการขายทอดตลาดก็อาจจะยืดเยื้อออกไปไม่มีที่สิ้นสุด การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายหรือในคดีอื่น ๆผลปฎิบัติย่อมจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือจะต้องขายให้เป็นผลดีทั้งแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้รวมตลอดถึงบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อมีการขายทอดตลาดไม่มีข้อโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาในท้องตลาด จึงไม่มีข้อที่จะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ การขายทอดตลาดของผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะไม่สมบูรณ์หลังลงลายมือชื่อในต้นร่างคำพิพากษา - คำพิพากษายังชอบ
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว แต่ต่อมาไปดำรงตำแหน่งที่ศาลอื่นก่อนที่จะลงนามในคำพิพากษาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงจดแจ้งหมายเหตุกลัดติดสำนวนไว้ว่า "คดีนี้ได้ทำคำพิพากษาโดยนาย ป. ได้ร่วมประชุมปรึกษาเป็นองค์คณะดังลงนามไว้แล้วในต้นร่างคำพิพากษา แต่นาย ป.ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งที่ศาลอื่นก่อนที่จะลงนามในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความ ข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาล เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วย ดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสองแล้ว
ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วย ดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสองแล้ว
ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาศาลอุทธรณ์ตั้งผู้จัดการทรัพย์สินร่วมกับจำเลยเดิม ไม่เกินคำขอและชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม 2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรกและสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบและเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาเฉพาะข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบและเป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมายแม้ผู้รับแจ้งย้ายที่อยู่และไม่มีหลักฐานที่อยู่ใหม่
โจทก์ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังบ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 5 ที่ 6 ตามที่ปรากฏในสัญญาจำนอง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านทางไปรษณีย์ แต่ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ส.ทนายโจทก์ขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ที่ 6 แจ้งย้ายไปอยู่บ้านเลขที่ 35ถนนราชวิถี แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อ ส.ขอคัดสำเนาทะเบียน-บ้านเลขที่ 35 เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนเขตดุสิตแจ้งว่าไม่มีบ้านเลขที่ดังกล่าว แม้ส.จะยื่นคำร้องขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 35 หลังจากโจทก์ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ก็เข้าใจได้แล้วว่าในช่วงระหว่างวันที่จำเลยที่ 5 ที่ 6แจ้งย้ายออกจากบ้านภูมิลำเนาเดิมถึงวันที่ ส. ยื่นคำร้องไม่มีบ้านเลขที่ 35 ตั้งอยู่บนถนนราชวิถี แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยย้ายที่อยู่และไม่สามารถส่งถึงได้ โดยการประกาศทางหนังสือพิมพ์
โจทก์ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังบ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 5 ที่ 6 ตามที่ปรากฏในสัญญาจำนองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านทางไปรษณีย์แต่ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ส.ทนายโจทก์ขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ที่ 6 แจ้งย้ายไปอยู่บ้านเลขที่ 35 ถนนราชวิถีแขวงจิตรลดาเขตดุสิตกรุงเทพมหานครเมื่อส.ขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 35 เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนเขตดุสิตแจ้งว่าไม่มีบ้านเลขที่ดังกล่าว แม้ส.จะยื่นคำร้องขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 35 หลังจากโจทก์ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ก็เข้าใจได้แล้วว่าในช่วงระหว่างวันที่จำเลยที่ 5ที่ 6 แจ้งย้ายออกจากบ้านภูมิลำเนาเดิมถึงวันที่ ส. ยื่นคำร้องไม่มีบ้านเลขที่ 35 ตั้งอยู่บนถนนราชวิถีแขวงจิตรลดาเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์จึงชอบแล้ว