คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,659 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีโรงเรือนและที่ดินพร้อมดอกเบี้ย: กำหนดเวลาเริ่มนับดอกเบี้ยต้องเป็นวันคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินพร้อมเงินเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือน นับจากวันฟังคำพิพากษานี้จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งหมายถึงนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อได้ความว่าคดีนี้มิได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงพิพากษาให้จำเลยคืนเงินภาษีภายใน 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าไม่คืนให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน จนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และการคิดดอกเบี้ยจากเงินชดเชย
ค่าเช่าบ้านที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือนแม้จะมีจำนวนแน่นอนและจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ค่าเช่าบ้านดังกล่าวจำเลยจ่ายเป็นค่าที่พักให้แก่ลูกจ้างของจำเลยที่ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงงานมาบตาพุดซึ่งเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างของจำเลยเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อค่าเช่าบ้านดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง แม้จำเลยจะนำไปรวมกับเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเป็นค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ ก็ไม่ทำให้ค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นสวัสดิการกลายเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อและการคำนวณดอกเบี้ยเบี้ยปรับที่เหมาะสม
ค่าเสียหายอันเป็นค่าเช่าที่จำเลยจะต้องชำระก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญานั้น เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยโดยชอบ และยึดรถยนต์ที่ให้เช่าคืนมาจากจำเลยสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จะอาศัยสัญญาเช่ามาฟ้องเรียกค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระอีกมิได้ จะเรียกได้ก็แต่เพียงค่าที่จำเลยได้ใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่ามาตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองรถยนต์อยู่ตามมาตรา 391 วรรคสามเท่านั้น ซึ่งการเช่ารถยนต์กรณีนี้เป็นการเช่าแบบลิสซิ่งโดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าแล้วโจทก์มีภาระผูกพันต้องให้จำเลยมีสิทธิเลือกซื้อรถยนต์ที่เช่าได้ในราคาถูกกว่าราคาในท้องตลาดเป็นการตอบแทน โจทก์เป็นแหล่งเงินทุนประกอบธุรกิจหากำไรจากการให้เช่ารถยนต์หรือให้เช่าซื้อ จึงน่าเชื่อว่าในการกำหนดค่าเช่าแบบลิสซิ่งโจทก์จะต้องคำนวณค่าเช่ารถยนต์และค่าดอกเบี้ยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าด้วย ดังนั้น ค่าเช่าที่โจทก์กำหนดไว้ในสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งจึงน่าจะสูงกว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าแบบธรรมดา
ค่าเสียหายอันเป็นค่าเช่าที่จำเลยต้องชำระหลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญานั้น แม้ตามสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนโดยถือว่าค่าเช่าทั้งหมดถึงกำหนดชำระ และโจทก์อาจฟ้องเรียกเงินค่าเช่าทั้งหมดและเงินอื่น ๆ ซึ่งถึงกำหนดชำระและซึ่งจะถึงกำหนดชำระในภายหน้าตามสัญญาเช่าก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
แม้สัญญาเช่าจะมีข้อความระบุไว้ว่าถ้าไม่มีการชำระเงินตามที่โจทก์เรียกร้องจำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยในการผิดสัญญาที่กำหนดในตารางต่อท้าย และตารางต่อท้ายสัญญาเช่าได้ระบุอัตราดอกเบี้ยในการผิดสัญญาร้อยละ 21 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งก่อนและหลังสัญญาค้ำประกัน, การกำหนดดอกเบี้ย, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ประมวลรัษฎากรฯ ที่ระบุให้ตราสารต้องปิดแสตมป์ในอัตราที่กำหนดไว้ จึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามมาตรา 118นั้น มีเฉพาะตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น ส่วนสัญญาทรัสต์รีซีทไม่อยู่ในรายการให้ต้องปิดแสตมป์ สำหรับตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตแม้จะไม่มีแสตมป์ปิดไว้ แต่โจทก์ผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเป็นธนาคารพาณิชย์ ชำระค่าอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ เป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ฯ ดังนั้นแม้ตราสารดังกล่าวจะไม่มีแสตมป์ปิดไว้แต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าได้ชำระอากรแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในช่วงเวลาใดได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร ซึ่งเมื่อโจทก์จ่ายเงินชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปตาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินตราต่างประเทศแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ตกลงกันไว้ เมื่อโจทก์จ่ายเงินแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 37.155 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินในระยะเวลาตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องมีค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาท จึงฟังว่าอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเงินบาทไทยตามที่โจทก์นำสืบ ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
จากเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เข้าก่อหนี้กับโจทก์ ไม่ว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีอยู่ก่อนที่จะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ขณะทำสัญญาค้ำประกัน หรือหลังทำสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น หนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนทำหนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์หลังทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่างก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การหักชำระหนี้, ค่าขึ้นศาล: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้หักเงินชำระหนี้และคืนค่าขึ้นศาลส่วนเกิน
แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจและมีผลใช้บังคับได้เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่ พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ก็ตามแต่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวไม่ได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 การที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ซึ่งศาลยุติธรรมจะนำมาใช้บังคับแก่คดีเป็นประกาศที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้ และความชอบด้วยกฎหมายของการบังคับคดี
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่า ในกรณีจำเลยทั้งสี่ผิดนัดยอมชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากจำนวนที่ค้างชำระนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ และจำเลยทั้งสี่ผิดนัด แต่เมื่อถึงวันนัดพร้อมโจทก์แถลงต่อศาลว่า จะให้โอกาสจำเลยทั้งสี่อีกครั้งโดยให้ชำระเงินส่วนค้างทั้งหมดแก่โจทก์ส่วนที่เหลือให้ชำระตามวันเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้แถลงขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยในยอดเงินที่ค้างชำระด้วย แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยจากยอดเงินที่จำเลยทั้งสี่ผิดนัด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยแสดงเจตนาแก่จำเลยทั้งสี่ว่าติดใจจะเรียกร้องดอกเบี้ยส่วนนี้แต่อย่างใด จนกระทั่งจำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ทั้งหมดครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนหุ้นโมฆะเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามรูปแบบกฎหมาย จำเลยต้องคืนเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ย
สัญญาโอนหุ้น มีการลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ไว้ จึงถือเป็นหลักฐานในการโอนหุ้น แต่เมื่อหุ้นของบริษัท บ. ทั้งหมดเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อและยังไม่ได้ออกใบหุ้น ซึ่งการโอนหุ้นดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง ที่กำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ แล้วถือว่าเป็นโมฆะ เมื่อสัญญาโอนหุ้นระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือการโอนหุ้นดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธ.ป.ท. และการคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้เงินระบุว่า จำเลยผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บจากผู้กู้ยืมได้ ดังนั้น เมื่อขณะทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไว้ร้อยละ 19 ต่อปี การที่สัญญากู้เงินกำหนดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจึงเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและตามข้อตกลงของคู่สัญญาแล้วไม่ทำให้สัญญาในส่วนนี้เป็นโมฆะ ทั้งการคิดดอกเบี้ยโจทก์ก็คิดตามประกาศของโจทก์ซึ่งมีอัตราขึ้นลง มิได้คิดตามที่สัญญากู้เงินกำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงนับว่าเป็นคุณแก่จำเลย แต่การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยให้ไถ่ถอนจำนองให้เสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี ดังนั้น ภายหลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมคือร้อยละ 15.5 ต่อปีต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์ไม่อาจอาศัยข้อสัญญาซึ่งสิ้นสุดไปแล้วมาทำการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากจำเลยให้สูงขึ้นตามประกาศของโจทก์ได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา: โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมได้ หากจำเลยเคยตกลงไว้แต่แรก
ธนาคารโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยให้จำเลยชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี ดังนั้น ภายหลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมคือร้อยละ 15.5 ต่อปี ไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์ไม่อาจอาศัยข้อสัญญาซึ่งสิ้นสุดไปแล้วมาทำการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากจำเลยให้สูงขึ้นตามประกาศของโจทก์ได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามมาตรา 9
ภาษีเงินได้ที่บริษัทจำเลยนำส่งกรมสรรพากรและเงินประกันสังคมที่นำส่งสำนักงานประกันสังคม จำเลยออกให้ลูกจ้างทุกคนรวมทั้งโจทก์ ซึ่งเงินสองจำนวนดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้มีเงินได้และลูกจ้างผู้ประกันตนมีหน้าที่ต้องชำระโดยจำเลยจะหักจำนวนเงินดังกล่าวไว้จากค่าจ้างและนำส่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อจำเลยมิได้หักเงินดังกล่าวจากค่าจ้างของโจทก์แต่ออกเงินนั้นแทนโจทก์ ภาษีเงินได้และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่จำเลยออกให้จึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายแทนโจทก์ มิได้จ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นเงินประเภทอื่น มิใช่เงินที่จำเลยและโจทก์ตกลงจ่ายกันเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 และเป็นเงินที่จ่ายให้สำหรับระยะเวลาที่จะมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้าง ดังนั้น สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 และมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 9 วรรคหนึ่งด้วย
of 166