พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีอาญา: ดุลพินิจศาลและการพิสูจน์ความผิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 ซึ่งนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญา โดยอาศัยมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแม้จะบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงแต่ก็มีข้อยกเว้นต่อไปว่าความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งศาลว่าให้เป็นอย่างอื่นจึงมิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าเสียทีเดียวประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226 บัญญัติว่าพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้และมาตรา 227 วรรคแรก ก็บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงคำพยานบอกเล่าที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวกัน – ยาเสพติด – รอการลงโทษ – ดุลพินิจศาล
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าฟ้องโจทก์เฉพาะ กระทงความผิดฐานผลิตกัญชาหรือปลูกต้นกัญชาและกระทงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาที่ปลูกไว้ดังกล่าวนั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องอ้างว่าการกระทำผิดสองฐานนี้เป็นความผิดต่างกระทงต่างกรรมกันจำเลยให้การรับสารภาพ และศาลล่างลงโทษมาเป็นสองกรรมก็ตาม แต่ความผิดทั้งสองฐานความผิดดังกล่าวก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้และเมื่อได้ยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยจะฎีกาขึ้นมาเพียงขอให้รอการลงโทษ ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้าม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงรวมข้อดุลพินิจในการกำหนดโทษต่อไปได้ด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่9/2527)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่9/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า การวินิจฉัยราคาที่ดินตามฟ้อง และการใช้ดุลพินิจของศาลในการคืนค่าธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและขอแบ่งสินสมรสหลายรายการ ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงตกลงกันในการแบ่งทรัพย์สินบางรายการ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดให้แบ่งทรัพย์สินที่ตกลงกันได้นั้นไปตามที่คู่ความตกลงกัน ส่วนรายการที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนี้ ศาลไม่อาจคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่จะทำให้ศาลมีอำนาจคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องได้
การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9 ล้านบาทขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธว่าที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่สินสมรส แต่ไม่ได้โต้เถียงในเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงพิพาทมีราคา 9 ล้านบาท
การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9 ล้านบาทขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธว่าที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่สินสมรส แต่ไม่ได้โต้เถียงในเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงพิพาทมีราคา 9 ล้านบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาเอกสารก่อนสืบพยาน & การใช้ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยแถลงว่าจำเลยยังมิได้รับสำเนาเอกสารจากโจทก์ แต่จำเลยก็ขอให้สืบพยานโจทก์ไปได้ และคัดค้านไปพร้อมกันว่าขอมิให้ศาลรับฟังเอกสารของโจทก์ ซึ่งขัดกันอยู่ในตัว ปรากฏว่าโจทก์ส่งสำเนาเอกสารให้ทนายจำเลยก่อนวันสืบพยานถึง 7 วัน ความล่าช้าจึงมิได้อยู่ที่โจทก์ ทั้งโจทก์แถลงว่าหากให้เลื่อนคดีไป โจทก์ก็พร้อมที่จะทำสำเนาเอกสารให้จำเลย แต่จำเลยก็ยังยืนยันให้สืบพยานโจทก์ไปในวันนั้นเองเพื่อหวังผลว่าศาลจะไม่รับฟังพยานเอกสารของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานเอกสารของโจทก์ในพฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนทนายและความชอบธรรมในการประวิงคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 มิได้บังคับว่าเมื่อทนายความยื่นคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการเป็นทนายของคู่ความ ศาลจะต้องอนุญาตเสมอไป จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งตามควรแก่กรณี จำเลยได้ขอเลื่อนคดีมาแล้ว 4 ครั้ง ด้วยเหตุที่พยานป่วยหนึ่งครั้ง พยานมาศาลเพียงปากเดียวหนึ่งครั้ง จำเลยป่วยหนึ่งครั้งและพยานไม่มาศาลหนึ่งครั้ง สำหรับในวันนัดสืบพยานจำเลยก่อนที่ทนายจำเลยจะยื่นคำร้องขอถอนตัวนั้น ปรากฏว่าพยานจำเลยมีตัวจำเลยกับพยานอื่นหนึ่งปากมาศาล แต่โจทก์คัดค้านจึงต้องเลื่อนคดีไป โดยทนายจำเลยแถลงว่าจะนำพยานมาศาล 3 ปาก ขอหมายเรียกพยานหนึ่งปากหากไม่นำพยานมาศาลก็ไม่ติดใจสืบ ครั้นถึงวันนัดปรากฏว่าจำเลย ทนายจำเลยและพยานจำเลยไม่มาศาล คงมีแต่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยมาศาลและยื่นคำร้องที่ทนายจำเลยขอถอนตนจากการเป็นทนายต่อศาลและอ้างว่าติดว่าความในคดีอื่นจึงไม่อาจมาศาลได้ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ตัวจำเลยจะต้องมาศาลและนำพยานจำเลยมาศาลด้วยตามที่ได้แถลงไว้ในนัดก่อนเพราะศาลอาจสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยขอถอนตนจากการเป็นทนายและให้สืบพยานจำเลยไปก็ได้ พฤติการณ์ของจำเลยในการขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง และไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานครั้งสุดท้ายถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น ศาลไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องการตรวจพิสูจน์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเอกสารสัญญากู้ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คงมีคำสั่งในคำร้องของจำเลยฉบับเดียวกันนี้เพียงว่า ให้นำสำนวนคดีที่จำเลยอ้างมาผูกรวมไว้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยจนจำเลยแถลงหมดพยานไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา โดยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกเรื่องการตรวจพิสูจน์เอกสารขึ้นเพื่อการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละแล้วซึ่งการขอให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารและการนำสืบโดยผู้ชำนาญการพิเศษ ทั้งถือได้ว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยยกเอาข้อที่ตนได้สละ และมิได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นมาเป็นข้ออุทธรณ์เพื่อขอให้มีการสืบพยานจำเลยในข้อนี้ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่แก้ไขใหม่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิขอตรวจพิสูจน์หลักฐาน และดุลพินิจศาลในการตรวจพิสูจน์เอกสาร
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเอกสารสัญญากู้ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คงมีคำสั่งในคำร้องของจำเลยฉบับเดียวกันนี้เพียงว่า ให้นำสำนวนคดีที่จำเลยอ้างมาผูกรวมไว้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยจนจำเลยแถลงหมดพยานไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา โดยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกเรื่องการตรวจพิสูจน์เอกสารขึ้นเพื่อการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละแล้วซึ่งการขอให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารและการนำสืบโดยผู้ชำนาญการพิเศษ ทั้งถือได้ว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยยกเอาข้อที่ตนได้สละ และมิได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นมาเป็นข้ออุทธรณ์เพื่อขอให้มีการสืบพยานจำเลยในข้อนี้ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่แก้ไขใหม่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ของกลางในคดีอาญาและการบังคับคดีแพ่ง: สิทธิของผู้ร้องและดุลพินิจศาล
แม้ทองคำของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดมา และพนักงานอัยการจะต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา อาจถูกศาลพิพากษาให้ริบและตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทองคำดังกล่าวศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบ ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีนั้นจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึด หรือยกเลิกหมายบังคับคดีได้
การที่จะให้งดการบังคับคดีหรือจะให้บังคับคดีต่อไปย่อมเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ที่จะใช้ให้เหมาะสมแก่รูปคดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทองคำที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นทรัพย์ของกลาง พนักงานอัยการจะต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาซึ่งกำลังพิจารณาคดีอยู่ในศาล และอาจถูกศาลพิพากษาให้ริบและตกเป็นของแผ่นดินได้ การที่ศาลใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีสำหรับทองคำนั้นไว้จึงเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
การที่จะให้งดการบังคับคดีหรือจะให้บังคับคดีต่อไปย่อมเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ที่จะใช้ให้เหมาะสมแก่รูปคดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทองคำที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นทรัพย์ของกลาง พนักงานอัยการจะต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาซึ่งกำลังพิจารณาคดีอยู่ในศาล และอาจถูกศาลพิพากษาให้ริบและตกเป็นของแผ่นดินได้ การที่ศาลใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีสำหรับทองคำนั้นไว้จึงเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชี้สองสถานและทำแผนที่พิพาทเป็นดุลพินิจศาล ไม่บังคับตามกฎหมาย หากไม่ทำให้การพิจารณาคดีง่ายขึ้น ศาลไม่จำเป็นต้องทำ
การชี้สองสถานนั้นเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าการชี้สองสถานจะทำให้การพิจารณาคดีง่ายเข้า ก็จะกำหนดให้มีการชี้สองสถาน แต่ถึงหากจะมีการชี้สองสถานไป ก็ไม่ทำให้การพิจารณาง่ายยิ่งขึ้นไปแต่ประการใด ก็ไม่จำเป็นต้องมีการชี้สองสถานและทำแผนที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง พิจารณาจากเหตุผลและพฤติการณ์คดี
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่นั้น ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลโดยพิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลอื่นทั่วไปในคดีประกอบกัน