พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ: การรับรองและการพิสูจน์ลายมือชื่อ
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ประเทศเยอรมนี มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดี แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะไม่มีเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในประเทศเยอรมนีรับรองมา แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้สอบสวนและจำเลยก็ไม่ร้องขอให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ ถือว่าศาลและจำเลยมิได้สงสัยอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานมาสืบหักล้างว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ใช่ของโจทก์ก็ฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีโดยถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: อำนาจฟ้องเริ่มตั้งแต่ในไทย แม้ความผิดสำเร็จต่างประเทศ
แม้ผู้เสียหายจะยอมให้จำเลยร่วมประเวณีซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ก็เป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 38 ปี และมีภริยาอยู่แล้ว ไม่ได้มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่งแล้ว
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง เริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ที่ปากซอยหน้าบ้านในประเทศไทย แม้จำเลยจะไปร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่น การกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง เริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ที่ปากซอยหน้าบ้านในประเทศไทย แม้จำเลยจะไปร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่น การกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การกระทำเริ่มในไทย แม้สำเร็จที่ต่างประเทศ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
แม้ผู้เสียหายจะยอมให้จำเลยร่วมประเวณีซึ่งถือไม่ได้ว่า เป็นการข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหาย ซึ่งมีอายุยังไม่เกิน 18 ปีไปเสียจากบิดามารดา ก็เป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 38 ปีและมีภริยาอยู่แล้ว ไม่ได้มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยาการกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารเริ่มขึ้นตั้งแต่จำเลยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ที่ปากซอยหน้าบ้านในประเทศไทยแม้จำเลยจะไปร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ประเทศญี่ปุ่นการกระทำของจำเลยส่วนหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของประเทศนั้นให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: หลักฐานหนังสือมอบอำนาจจากต่างประเทศที่ถูกต้อง และการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิกแห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิกจากประธานศาล และคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญาเดินรถไฟระหว่างสยามกับรัฐมาเลเซีย และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
ประกาศกระแสพระบรมราชโองการให้ใช้สัญญาว่าด้วยการเดิน รถไฟระหว่างพระราชอาณาจักรสยามกับกลันตันไทรบุรีเปอร์ลิศและสหรัฐมลายู ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467 ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นกฎหมายเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วศาลรู้เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการพิจารณาคดี แม้จำเลยอยู่ต่างประเทศ หากทราบเรื่องแต่ไม่ดำเนินการถือเป็นจงใจขาดนัด
ขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไปทำงานอยู่ที่ประเทศคูเวตการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับเจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีปิดที่บ้านของจำเลยเพราะไม่มีผู้ใดยอมรับไว้แทนจำเลย แต่จำเลยก็ได้มีจดหมายติดต่อส่งข่าวระหว่างจำเลยกับทางบ้านจำเลยเป็นประจำการที่จำเลยทราบเรื่องถูกโจทก์ฟ้องแล้ว ไม่ขวนขวายที่จะตั้งทนายความหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นสู้คดีแทน ถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด จะขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากจำเลยทำงานอยู่ต่างประเทศ และมีจดหมายติดต่อกลับไทย แต่ไม่ดำเนินการใดๆ ถือจงใจขาดนัด
ขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไปทำงานอยู่ที่ประเทศคูเวตการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับเจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีปิดที่บ้านของจำเลยเพราะไม่มีผู้ใดยอมรับไว้แทนจำเลย แต่จำเลยก็ได้มีจดหมายติดต่อส่งข่าวระหว่างจำเลยกับทางบ้านจำเลยเป็นประจำการที่จำเลยทราบเรื่องถูกโจทก์ฟ้องแล้ว ไม่ขวนขวายที่จะตั้งทนายความหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นสู้คดีแทน ถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด จะขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่างประเทศ: สิทธิลูกจ้างตามสัญญาเดิม แม้ทำงานในไทย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยทำในประเทศอังกฤษ โดยให้โจทก์ทำงานในประเทศมาเลเซีย ได้กำหนดเงื่อนไขในการจ้างและสิทธิของลูกจ้างไว้โดยชัดแจ้งแม้ต่อมาจำเลยจะส่งโจทก์เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีระเบียบข้อบังคับคู่มือพนักงานใช้บังคับเฉพาะลูกจ้างของจำเลยซึ่งกระทำกันในประเทศไทยเท่านั้น โจทก์จะเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่มีจำนวนมากกว่าสัญญาจ้างจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามคู่มือพนักงานฉบับดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวแทน, ฟ้องซ้อน, และการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศต่อมาบริษัทท. ผิดสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยรับไปจากโจทก์จำเลยให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริงเพียงแต่ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุอื่นจึงเป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ป.วิ.พ.มาตรา173วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีนั้นแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งจะถือว่าคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้าม จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบอำนาจเฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการแม้ว่าจำเลยจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ก็ไม่ทำให้ฐานะความเป็นตัวแทนของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปการที่บริษัทตัวการจัดให้โจทก์เข้าทำงานได้ในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้ทำงานและมิได้รับค่าจ้างโดยมิใช่เป็นความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามป.พ.พ.มาตรา824.