พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นคำขอประธาน ไม่ขัดขวางการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามซึ่งขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามซึ่งขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ทั้งสามเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้หากมีการเพิกถอนแล้วจะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามหรือจำเลยที่3ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน50,000บาทก็ต้องถือว่าคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคำขอประธานจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง การไม่มีเจตนาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
พยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่1นำสืบมายังโต้เถียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกันอยู่การที่จำเลยที่1เข้าไปไถปรับที่ดินก็ด้วยเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิที่จะเข้าไปทำได้จำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกเมื่อจำเลยที่1ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาทจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งคันนาและต้นหว้าที่อยู่ในที่ดินพิพาทด้วย เมื่อในคดีอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แม้คดีส่วนแพ่งคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา40ก็ตามแต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวซึ่งเป็นข้อกฎหมายจึงต้องฟังว่าจำเลยที่1มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีที่ดินพิพาท: การโต้แย้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารสิทธิและการออกทับที่ดิน เป็นฎีกาต้องห้าม
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยมีเลขที่ดินต่างกัน ทั้งรูปที่ดินทั้งสองแปลงก็ไม่เหมือนกันฟังไม่ได้ว่า น.ส.3 ก.ของจำเลยออกทับ น.ส.3 ก.ของโจทก์ โจทก์จึงร้องขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก.ของจำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ฎีกาว่า ล.พยานโจทก์เบิกความว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตนได้มาโดยทางมรดก ต่อมาได้ขายให้แก่ อ.ต่อมา อ.ขายให้แก่โจทก์ โจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องมา จำเลยมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่จำเลยไปขอออกเอกสารสิทธิในที่ดิน จึงเป็นการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ กรณีมีเหตุเพิกถอน น.ส.3 ก.ของจำเลย เพราะออกทับที่ดิน น.ส.3 ก.ของโจทก์นั้นจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่ามีเหตุเพิกถอน น.ส.3 ก.ของจำเลยหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองจริง vs. ชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ส.เมื่อส.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตกได้แก่ ช.มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอด ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตาม ก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อการจำนอง
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของส. เมื่อส.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ช. มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอดผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตามก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหลังมอบอำนาจและข้อตกลงกับทายาท ความจำเป็นในการสืบพยานเพื่อพิสูจน์สิทธิ
จำเลยให้การว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ล.มารดา ม. เมื่อปี 2505 ล.ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งจึงได้มอบอำนาจให้ ม.ใส่ชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ล.โดยกำชับไว้ว่าเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมให้จัดแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาททั้ง 8 คนของ ล. ต่อมาเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของ ล.ตกได้แก่ทายาททั้ง 8 คน หาใช่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม.แต่เพียงผู้เดียวไม่ จำเลยได้รับอนุญาตจากทายาททั้ง 8 คน รวมทั้ง ม.ให้ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิตของจำเลยโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน แม้สิทธิของจำเลยตามที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการได้มานั้นไม่บริบูรณ์ เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะไม่คงเป็นบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันคู่สัญญา และแม้ตามคำให้การของจำเลยจะมิได้ปรากฏว่าโจทก์ผู้จัดการมรดกของ ม.รู้เห็นยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นด้วยแต่หากฟังได้ว่าเป็นความจริงก็เป็นเรื่องเจ้าของรวมจัดการทรัพย์สินในเรื่องอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1358 วรรคสาม ให้ตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม จำเลยจึงอาจมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทได้ คดีจึงมีความจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อไป ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะด่วนสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและการเลิกสัญญาโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ 10 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ
เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อ ๆ มา จึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป กลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ย เมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง จึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7
เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อ ๆ มา จึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป กลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ย เมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง จึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835-1836/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิครอบครองต้องพิสูจน์ได้ว่าครอบครองแทนกันหรือไม่ และพยานหลักฐานใดเชื่อถือได้
ในคดีเดิมโจทก์ที่1และที่3ฟ้องจำเลยอ้างสิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่3083และที่ดินมือเปล่าที่พิพาทแต่คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่3083เท่านั้นมิได้ขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่าดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ดินมือเปล่าจนได้สิทธิหรือไม่แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่1และที่3โดยการเช่าซึ่งยังไม่สิ้นอายุนั้นเป็นการวินิจฉัยนอกคำขอท้ายฟ้องและถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิมคำฟ้องในสำนวนคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคแรกประกอบมาตรา148วรรคแรกและข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่เป็นที่ดินมือเปล่าดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันคู่ความในสำนวนคดีหลังที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสิบมีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยโดยจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสิบหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณะประโยชน์: การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกในที่ดินสาธารณะชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้การเพิกถอนคำสั่งมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินนั้นและที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน200,000บาทต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเป็นคำขอหลักส่วนที่โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นผลที่ได้ตามมาจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ดินแปลงใดเป็นที่สาธารณะหรือไม่ต้องพิจารณาตามสภาพของที่ดินและการใช้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304หรือไม่หากโดยสภาพของที่ดินเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แม้ทางราชการมิได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นที่หวงห้ามและมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ก็หาทำให้กลับไม่เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ไปได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: สิทธิในการครอบครองและผลของการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดสกลนครที่2106/2523ลงวันที่22สิงหาคม2523ที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)ของโจทก์จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้ว่าถ้ามีการเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วจะมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน200,000บาทก็ตามแต่ต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดสกลนครเป็นคำขอหลักส่วนที่โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นผลที่ได้ตามมาจึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ดินที่ประชาชนในหมู่บ้านสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการใช้เลี้ยงสัตว์ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304 การที่จะพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่สาธารณะหรือไม่ต้องพิจารณาตามสภาพของที่ดินและการใช้ที่ดินแปลงนั้นว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304หรือไม่หากโดยสภาพของที่ดินเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แม้ทางราชการจะมิได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นที่หวงห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497ตั้งแต่วันที่1ธันวาคม2497แล้วและแม้ทางราชการจะมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ก็หาทำให้ที่ดินซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่แล้วกลับไม่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ไปได้ไม่