พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การพิสูจน์เจตนาลวงและผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่านิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะ โดยอ้างว่านิติกรรมการขายฝากและสัญญาเช่าเป็นิติกรรมอำพราง ให้จำเลยรับเงินไถ่ถอนและแก้ทะเบียนที่ดินคืนเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่า นิติกรรมขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมแท้จริงไม่อำพราง สัญญาเช่าสิ้นอายุแล้ว ขอให้ขับไล่นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตาที่แสดงออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508)(ประชุมใหญ่)
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตาที่แสดงออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508)(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: โมฆะของนิติกรรมที่ปรากฏ และผลบังคับใช้ของนิติกรรมที่ถูกซ่อน
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่านิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะ โดยอ้างว่านิติกรรมการขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมอำพราง ให้จำเลยรับเงินไถ่ถอนและแก้ทะเบียนที่ดินคืนเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่านิติกรรมขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมแท้จริงไม่อำพราง สัญญาเช่าสิ้นอายุแล้วขอให้ขับไล่นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508 ประชุมใหญ่)
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางต้องทำตามแบบกฎหมาย การตกลงกันเองไม่สมบูรณ์
นิติกรรมอำพรางที่ท่านให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรค 2 น้น จะต้องเป็นนิติกรรมที่กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ในกรณีที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้กระทำอย่างถูกต้องจึงจะบังคับได้ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1783/2492 ฉะนั้น การจำนองที่ดินที่เพียงแต่ว่าได้ตกลงกันและหาได้ทำตามแบบดังว่าไม่ จึงไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางต้องทำตามแบบกฎหมาย หากไม่ทำตามแบบก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้
นิติกรรมอำพรางที่ท่านให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นนิติกรรมที่กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายเช่น ในกรณีที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้กระทำอย่างถูกต้องจึงจะบังคับได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1783/2492 ฉะนั้น การจำนองที่ดินที่เพียงแต่ว่าได้ตกลงกันและหาได้ทำตามแบบดังว่าไม่ จึงไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยเกินอัตรา ศาลพิจารณาตามเจตนาคู่สัญญา
โจทก์กู้เงินจำเลย แต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก นิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ (แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญา เพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ เอง
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญา เพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่ไม่ผูกพันจริง ศาลวินิจฉัยเป็นนิติกรรมกู้เงินได้
โจทก์กู้เงินจำเลยแต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากนิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ(แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญาเพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ เอง
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญาเพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียวในการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน
เมื่อจำเลยถูกศาลสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวแก่ทรัพย์สินของจำเลย การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ การที่จะต่อสู้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางความจริงที่จำเลยจำนองไว้กับฝ่ายโจทก์นั้น จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินการต่อไป และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงสละข้อต่อสู้ข้อนี้แล้วโดยจำเลยมิได้โต้แย้ง คำแถลงนี้แต่ประการใด จำเลยจะยกข้อนี้ขึ้นมาต่อสู้และจะขอสืบพยานอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินหลังพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน
เมื่อจำเลยถูกศาลสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใดๆ เกี่ยวแก่ทรัพย์สินของจำเลย การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตามมาตรา22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายการที่จะต่อสู้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางความจริงที่จำเลยจำนองไว้กับฝ่ายโจทก์นั้น จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินการต่อไป และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงสละข้อต่อสู้ข้อนี้แล้วโดยจำเลยมิได้โต้แย้งคำแถลงนี้แต่ประการใด จำเลยจะยกข้อนี้ขึ้นมาต่อสู้และจะขอสืบพยานอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาที่ทำไว้ไม่ตรงเจตนาจริง จำนวนหนี้เป็นโมฆะหากเกินเงินทดรอง
หากการที่จำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ ส่อแสดงว่าในใจจริงของจำเลยมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันเต็มตามจำนวนในสัญญากู้ แต่เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามสัญญากู้เพียงเท่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองทยอยแทนจำเลยเป็นคราวๆไปจริงเท่านั้น โดยโจทก์ก็ได้รู้ถึงเจตนาของจำเลยเช่นว่านี้แล้ว จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องตามสัญญากู้เกินกว่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปจริง ย่อมเป็นโมฆะ