พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทผู้ลงนามแทนบริษัทในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ต้องรับผิดร่วมกับบริษัท หากบริษัทผิดสัญญา
กรรมการของบริษัทผู้ได้รับมอบอำนาจให้ลงลายมือชื่อในกรมธรรม์ประกันภัยแทนบริษัท ไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ร่วมกับบริษัท
โจทก์ฎีกาว่าตามพยานหลักฐานของโจทก์พึงเห็นได้ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเป็นความจริง จำเลยมิได้จัดการให้โจทก์ตามที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา การละเลยของจำเลยทั้งสองเป็นผลให้โจทก์เสียหายยิ่งกว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์เต็มตามฟ้อง ไม่ใช่ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นว่าไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เพราะมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุอย่างไร.
โจทก์ฎีกาว่าตามพยานหลักฐานของโจทก์พึงเห็นได้ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับเป็นความจริง จำเลยมิได้จัดการให้โจทก์ตามที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา การละเลยของจำเลยทั้งสองเป็นผลให้โจทก์เสียหายยิ่งกว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์เต็มตามฟ้อง ไม่ใช่ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นว่าไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เพราะมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุอย่างไร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการมีอำนาจฟ้องในคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือบริษัทฯ ไม่ใช่นายบุญมา
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า 'นายบุญมา พึ่งทอง ผู้เสียหายซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด เป็น นายบุญมา พึ่งทอง ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด ผู้เสียหาย' ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ว่า 'สำเนาให้จำเลย ศาลจะสั่งคำร้องนี้ในคำพิพากษาของศาล' แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้กล่าวถึงคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์ เมื่อพิเคราะห์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งมีข้อความว่า '.......คำพยานโจทก์ คือ นายบุญมา พึ่งทอง กรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด ผู้เสียหาย.........' แล้ว แสดงว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์ได้แก้คำฟ้องตามคำร้องแล้วโดยปริยาย ดังนั้นผู้เสียหายตามฟ้องคือบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด มิใช่นายบุญมา พึ่งทอง และบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือบริษัทฯ ไม่ใช่กรรมการผู้จัดการ และการแก้ไขคำฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า'นายบุญมาพึ่งทองผู้เสียหายซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดเป็นนายบุญมาพึ่งทองซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดผู้เสียหาย'ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ว่า'สำเนาให้จำเลยศาลจะสั่งคำร้องนี้ในคำพิพากษาของศาล'แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้กล่าวถึงคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งมีข้อความว่า'.......คำพยานโจทก์คือนายบุญมาพึ่งทองกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดผู้เสียหาย.........'แล้วแสดงว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์ได้แก้คำฟ้องตามคำร้องแล้วโดยปริยายดังนั้นผู้เสียหายตามฟ้องคือบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดมิใช่นายบุญมาพึ่งทองและบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด3เดือนพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าชดเชยแม้ฟ้องผิดชื่อบริษัทก็ไม่ถือเป็นฟ้องผิดตัว หากมีเจตนาฟ้องนายจ้างที่แท้จริง
บริษัทจำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วจดทะเบียนตั้งบริษัทส.พรเจริญโภคภัณฑ์คอนติเนตัลจำกัดขึ้นมาใหม่โดยใช้สถานที่ตั้งบริษัทเดิมโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยไม่อาจรู้ได้และบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ก็ได้รับโอนโจทก์กับคนงานอื่นมาเป็นลูกจ้างโดยรับโอนอายุการทำงานมาด้วยมิได้มีการตกลงจ้างกันใหม่แต่อย่างใดข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทที่ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นใหม่และโจทก์ก็มุ่งประสงค์ที่จะฟ้องบริษัทที่เป็นนายจ้างของโจทก์ให้รับผิดในค่าชดเชยนั่นเองแม้จะฟ้องในชื่อเดิมก็มิใช่เป็นเรื่องฟ้องผิดตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677-679/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีโดยคณะกรรมการบริหารของบริษัท
คณะกรรมการของบริษัทโจทก์ซึ่งมี 15 นาย ได้อาศัยอำนาจตามข้อบังคับของโจทก์ลงมติเลือกตั้งกรรมการของโจทก์เป็นคณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดำเนินงานประจำวันของโจทก์อย่างใกล้ชิดโดยเป็นผู้ใช้อำนาจของคณะกรรมการโจทก์จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งของโจทก์เป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกับจำเลยอื่น แล้วไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ การที่กรรมการบริหาร 3 นายในจำนวน 5 นายซึ่งเป็นเสียงส่วนข้างมากโดยมีมติเวียนอนุมัติมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยที่ 4 กับพวกเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และขจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 4ผู้เป็นกรรมการบริหารของโจทก์คนหนึ่ง ถือได้ว่ากรรมการบริหารของโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น การหักกลบลบหนี้ และข้อจำกัดการหักหนี้กับบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้น
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341,342 เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา 341,342 นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้ กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้(จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อการกระทำผิดของตัวแทนในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างผู้ร้องและเป็นกรรมการลูกจ้างนำประกาศและแถลงการณ์แจกให้ ม. และ ช. คนงานของผู้ร้องตรงประตูนอกบริเวณโรงงานของผู้ร้องและบอกให้นำไปแจกแก่คนงานอื่นเมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามพนักงานแจกจ่ายถ้อยคำบทความต่างๆภายในบริเวณบริษัทฯคำว่า "ภายในบริเวณบริษัท" จะมีความหมายถึงในหรือนอกประตูรั้วโรงงานหรือไม่ก็ตาม ผู้คัดค้านก็ได้บอกให้ ม. กับ ช. เอาไปแจกแก่พรรคพวกในโรงงานด้วย และ ม. กับ ช. ได้แจกให้คนงานในโรงงานถือได้ว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำการแทนตัวการคือผู้คัดค้าน เมื่อการกระทำเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตัวการคือผู้คัดค้านผู้ใช้จ้างวานบุคคลให้กระทำผิดดังกล่าวก็ต้องรับผิดในฐานะตัวการในการกระทำผิดตามที่กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ลงชื่อไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท
แม้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจะต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อร่วมกันพร้อมกับประทับตราบริษัทก็ตาม แต่บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ให้การยอมรับว่าบริษัทจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ จึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน บริษัทจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท แม้ลงชื่อไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ และขอบเขตความรับผิดของกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจะต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อร่วมกันพร้อมกับประทับตราบริษัทก็ตามแต่บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ให้การยอมรับว่าบริษัทจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์จึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันบริษัทจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทเลิกโดยผลของกฎหมาย: การตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อไม่มีผู้ชำระบัญชีเดิม
นายทะเบียนบริษัทขีดชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเสียจากทะเบียน และออกแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่โฆษณาแจ้งความดังกล่าวตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1246(5)ซึ่งเป็นกรณีที่บริษัทเลิกโดยผลของกฎหมายไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานถึงเหตุที่จะให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1246(6)บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกลับคืนขึ้นทะเบียนได้
เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ชำระบัญชีได้
เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ชำระบัญชีได้