คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตรบุญธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 5 ไม่มีสิทธิมรดก หากไม่จดทะเบียนตามกฎหมายใหม่
บุตร์บุญธรรมก่อนใช้ประมวลแพ่ง ฯ บรรพ 5 ซึ่งผู้รับบุตร์บุญธรรมมิได้จดทะเบียนเป็นบุตร์บุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลแพ่ง ฯ ไม่มีสิทธิได้รับมฤดกของผู้รับบุตร์บุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตายภายหลังที่ใช้บรรพ 5 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินเมื่อภรรยาเสียชีวิต: สามีมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุตรบุญธรรมได้
เมียตาย ญาติข้างเมียจะเรียกเอาสินเดิมไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรม, สิทธิรับมรดก, อายุความมรดก, การจัดการมรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. เนื่องจาก ป. จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โดย ส. ผู้ตาย ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ให้ความยินยอมด้วย โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อน ป. โดยมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัว ป. คู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิรับมรดกของ ส. ด้วยตามมาตรา 1635 แม้ ป. ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. แสดงเจตนาสละมรดกดังกล่าวตามมาตรา 1612 ป. จึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ตามกฎหมาย เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ในส่วนที่ตกแก่ ป. ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนซึ่งรวมถึง ป. คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสามแปลง ให้แก่ตนเองเพียงผู้เดียวจึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และถือได้ว่าการมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นของ ส. ทุกคนเท่านั้น จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ในส่วนที่ตกได้แก่ ป. คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8516/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลดหย่อนภาษีค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา: บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิเท่าบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 47 (1) (ญ) กำหนดให้ลดหย่อนภาษีสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวปรากฏตามเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ.2548 คือ โดยที่มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 กำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ให้กำเนิดบุตร สมควรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนหรือสามีภริยาของตน นำค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ การหักลดหย่อนดังกล่าวย่อมไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมที่ได้อุปการะเลี้ยงดูผู้รับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด ทั้งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรก็กำหนดไว้ว่า ผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาของตนจึงจะใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ป.รัษฎากร มาตรา 47 (1) (ญ) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11182/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ภายหลังมีเจตนาจะเพิกถอน แต่ไม่ถือเป็นการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย
ภายหลังผู้ตายจดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ผู้ตายมาทราบความจริงว่าได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมผิดไปจากเจตนาของตน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ดำเนินการเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด กลับไปเล่าเรื่องราวให้แก่ จ. เขียนบันทึกความเดือดร้อนให้ผู้ตายลงลายมือชื่อไว้ แม้บันทึกดังกล่าวจะมีข้อความแสดงเจตนาของผู้ตายที่ไม่ประสงค์จะรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเป็นการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9198/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นทายาทและผู้จัดการมรดก: สิทธิของผู้รับบุตรบุญธรรมในการจัดการมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติว่า เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองหรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของที่แท้จริงและถูกต้อง ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านจะไม่มีใบจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมาแสดงก็ตามแต่มีสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนที่มีความเกี่ยวข้องและสามารถใช้อ้างอิงแทนกันได้มาแสดง จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของเอกสาร แต่ผู้ร้องคงมีแต่คำเบิกความลอย ๆ และไม่ได้โต้แย้งว่าสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวไม่ถูกต้องทั้งเบิกความว่า ไม่ทราบข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายเคยจดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมหรือไม่ เมื่อชั่งน้ำหนักคำพยานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้ว จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายจดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมแล้วตามข้อความที่ปรากฏในสำเนาทะเบียนบ้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเลิกบุตรบุญธรรมและการเริ่มนับอายุความเมื่อบุตรบุญธรรมจงใจละทิ้งผู้รับ
โจทก์และภริยาของโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์จึงเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย ย่อมมีอำนาจฟ้องขอเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมได้
จำเลยซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมจงใจละทิ้งโจทก์กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงโดยไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลยเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องกัน ตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมก็ยังคงมีอยู่ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี แล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/34 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเลิกบุตรบุญธรรม: การละทิ้งต่อเนื่องจนกว่าจะกลับมาอยู่ด้วยกัน
จำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โดยกลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลย การจงใจละทิ้งโจทก์ของจำเลยจึงมีพฤติการณ์ต่อเนื่องกันตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมยังคงมีอยู่ อายุความยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/34 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราบุตรบุญธรรมโดยใช้กำลังประทุษร้าย แม้ผู้เสียหายไม่ขัดขืน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่สมัครใจ
พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันมา การที่ผู้เสียหายอาศัยอยู่กับจำเลยมาตั้งแต่อายุได้เพียง 2 ปี และเป็นบุตรบุญธรรมจำเลยด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายโดยปกติย่อมไม่มีความสัมพันธ์แบบชู้สาว อีกทั้งผู้เสียหายมีคนรักอยู่ด้วย จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายจะยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา แม้ผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายไม่ได้ต่อสู้ขัดขืนก็ตาม แต่เพราะเคยถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรามาก่อนและผู้เสียหายขัดขืนถูกจำเลยทำร้ายโดยใช้เท้าถีบ ทั้งยังต่อว่าผู้เสียหายทำนองว่าขอแค่นี้ไม่ได้หรือไง ผู้เสียหายจึงไม่กล้าที่จะต่อสู้ขัดขืนจำเลย จึงรับฟังได้ว่า ผู้เสียหายถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้เกิดจากความสมัครใจหรือยินยอมของผู้เสียหาย การที่จำเลยถอดกางเกงของผู้เสียหายออกแล้วสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ชักเข้าออกจนสำเร็จความใคร่ ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
of 14