พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8752/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) เพื่อประกันหนี้กู้เงิน แม้ไม่เกิดสิทธิยึดหน่วง แต่จำเลยมีสิทธิยึดถือได้จนกว่าจะชำระหนี้ครบ
การที่ผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน แม้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วงแก่จำเลยเพราะหนี้ที่จำเลยมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่จำเลยจะได้รับชำระหนี้คืนจากผู้ตายเท่านั้น หาได้มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยที่ดินใบจอง (น.ส.2) ซึ่งครอบครองไว้นั้นจึงไม่เป็นสิทธิยึดหน่วงดังที่โจทก์ฎีกากล่าวอ้างก็ตาม แต่อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งจำเลยมีสิทธิฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้คืนจนเสร็จสิ้นเชิง จำเลยย่อมมีสิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) ดังกล่าวไว้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาบังคับคดีประกัน: ศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุพิเศษได้ แม้มีข้อจำกัดทางกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีเนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาล ได้ทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดี เนื่องจากระยะเวลาการบังคับคดีใกล้จะครบกำหนดแล้ว รายงานดังกล่าวถือว่าเป็นเพียงรายงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ศาลที่เสนอต่อศาลว่า คดีนี้ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ภายในสำนวนและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่จะปรากฏให้เห็นว่ามีเหตุผลใดที่จะต้องขยายระยะเวลาการบังคับคดีออกไป หากมีข้อเท็จจริงที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชั้นต้นก็สามารถอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปได้ ไม่จำเป็นต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6832/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลพร้อมอุทธรณ์เป็นประกัน ไม่ใช่ชำระหนี้ เมื่อถอนอุทธรณ์ เงินคืนเป็นของจำเลย
เงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) กรณีต้องนำเรื่องการถอนฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์ ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้ เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและผู้ร้องโดยเฉพาะ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) กรณีต้องนำเรื่องการถอนฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์ ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้ เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและผู้ร้องโดยเฉพาะ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4771/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเช็คเพื่อชำระหนี้หรือประกันการชำระหนี้ และการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายโดยศาล
ศาลฎีกามีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยว่า ในปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าเช็คตามฟ้องผู้เสียหายคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย กับฎีกาที่ขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาชอบแล้ว ดังนี้ ประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเช็คตามฟ้องผู้เสียหายคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยและขอให้รอการลงโทษ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 คงมีประเด็นแห่งคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าเช็คตามฟ้องออกเพื่อชำระหนี้หรือออกเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงหมายความว่าศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวที่ไม่วินิจฉัยในประเด็นว่าเช็คตามฟ้องเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้หรือออกเพื่อประกันการชำระหนี้ แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่เฉพาะประเด็นแห่งคดีดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบ มาตรา 208 (2) เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวตามที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แล้วพิพากษายืน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8851/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้บุคคลอื่น: สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม
ป.พ.พ. มาตรา 733 ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่ลูกหนี้จำนองทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น จึงใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลหนึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระด้วย
ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์ไม่มีข้อตกลงยกเว้นไว้ว่า หากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวนอยู่ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาเพียงว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น โดยมิได้ระบุให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นอีก ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้นำยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ขายทอดตลาดเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้จะได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะขอให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ต่อไปอีกไม่ได้
ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์ไม่มีข้อตกลงยกเว้นไว้ว่า หากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวนอยู่ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาเพียงว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น โดยมิได้ระบุให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นอีก ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้นำยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ขายทอดตลาดเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้จะได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะขอให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ต่อไปอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: การได้รับชำระหนี้ตามประกันและหนี้มีประกัน
เจ้าหนี้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้และออกหนังสือรับรองตกลงชดใช้ค่าเสียหายแทนลูกหนี้ต่อสถาบันการเงินอื่นตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มูลหนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27 แม้เจ้าหนี้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและหนังสือรับรองดังกล่าวไปภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ก็ไม่ทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิได้รับชำระหนี้แต่อย่างใด
คดีนี้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อันดับที่ 16 โดยแนบสำเนาสัญญาค้ำประกันฉบับภาษาอังกฤษไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้แล้วแต่มิได้ส่งคำแปลของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งต่อมาผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ถอนคำโต้แย้งแล้ว หากผู้คัดค้านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมูลหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นและจำนวนหนี้ดังกล่าว ก็ชอบที่จะกำหนดให้เจ้าหนี้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 ประกอบมาตรา 90/26 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันดับนี้ไปเลย โดยให้เหตุผลเพียงว่าไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิด ซึ่งไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้แนบไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้
คดีนี้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อันดับที่ 16 โดยแนบสำเนาสัญญาค้ำประกันฉบับภาษาอังกฤษไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้แล้วแต่มิได้ส่งคำแปลของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งต่อมาผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ถอนคำโต้แย้งแล้ว หากผู้คัดค้านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมูลหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นและจำนวนหนี้ดังกล่าว ก็ชอบที่จะกำหนดให้เจ้าหนี้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 ประกอบมาตรา 90/26 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อันดับนี้ไปเลย โดยให้เหตุผลเพียงว่าไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิด ซึ่งไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้แนบไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันการคืนทองคำแท่งหรือค่าเสียหาย ไม่ใช่ชำระหนี้ซื้อขายทองคำ ทำให้ไม่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.เช็ค
เช็คทั้งสามสิบสี่ฉบับซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาทสิบเอ็ดฉบับตามฟ้อง จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายจำนวนเงินเท่ากันคือ 116,000 บาท และเป็นการลงวันที่ล่วงหน้าแล้วส่งมอบไว้ให้โจทก์ ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนทองคำแท่งแก่โจทก์ในแต่ละสัปดาห์ได้ จำเลยที่ 1 ตกลงจะชำระเงินตามจำนวนเทียบเท่าราคาทองแท่ง ณ เวลาวันทำบันทึกข้อตกลงนี้ และเมื่อพิเคราะห์บันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญารับฝากทองคำแท่งในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดในการส่งมอบทองคำแท่งแก่โจทก์แล้วทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยและค่าเสียหายอื่น ๆ อีก ดังนี้ถือได้ว่าเช็คทั้งสามสิบสี่ฉบับไม่ได้ออกเพื่อชำระหนี้เฉพาะค่าทองคำแท่งล้วน ๆ ตามราคาที่โจทก์ซื้อ แต่ยังรวมค่าเสียหายอื่น ๆ ไว้อีก จึงแสดงว่าถ้าจำเลยที่ 1 คืนทองคำแท่งแก่โจทก์ได้โดยไม่ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำเช็คไปเรียกเก็บเงินโดยถือการส่งมอบทองคำแท่งคืนโจทก์เป็นสาระสำคัญของสัญญา เช็คพิพาททั้งสิบเอ็ดฉบับจึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายไว้เป็นประกันการคืนทองคำแท่งหรือคืนราคาพร้อมค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้น มิใช่เพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าซื้อขายทองคำแท่งตามน้ำหนักราคาทองคำแท่งอันจะถือว่าเป็นหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อประกันการชำระหนี้ร่วมกัน และสิทธิในการรับเงินคืนเมื่อศาลพิพากษา
เงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ต้องวางต่อศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มาตรา 7 แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์และมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชําระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมคนหนึ่งได้นําเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้ว จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการยื่นอุทธรณ์อีกเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซ้อนเท่านั้น หาใช่เป็นการที่จำเลยที่ 2 วางเงินแทนจำเลยที่ 1 ไม่ และเงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชําระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ หาใช่เป็นการวางเพื่อชําระหนี้แก่คู่ความฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นไม่ จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์ เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ชนะคดี และให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยกําหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะร้องขอให้คืนเงินที่วางนั้นได้