พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความประกันภัย, การรับสภาพหนี้, และเหตุสุดวิสัยในการเช่าซื้อรถยนต์
ผู้รับประกันภัยที่ถูกผู้เอาประกันภัยยื่นคำร้องขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องผู้เอาประกันภัยให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไป มีสิทธิยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ได้
ภายหลังจากที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อได้ติดต่อให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่จำเลยร่วมมิได้ปฏิเสธความรับผิด แต่ให้นำบันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวนไปประกอบด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องอันเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคแรก
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจอดไว้บริเวณซอยลาดพร้าว 84อันเป็นสถานที่ซึ่งคนทั่วไปรวมทั้งคนร้ายสามารถเข้าออกได้โดยสะดวก ส. ควรคาดหมายได้ว่าอาจมีคนร้ายเข้าไปลักรถยนต์ไปได้โดยง่าย จึงอาจป้องกันมิให้คนร้ายลักรถยนต์ได้โดยระมัดระวังให้มากกว่าที่กระทำดังกล่าว การที่ ส. เพียงแต่ล็อกคลัตซ์และกุญแจประตูรถ ยังไม่พอที่จะถือว่าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เมื่อรถยนต์ถูกคนร้ายลักไปจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้ผู้เช่าซื้อพ้นความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
ภายหลังจากที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อได้ติดต่อให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่จำเลยร่วมมิได้ปฏิเสธความรับผิด แต่ให้นำบันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวนไปประกอบด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องอันเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคแรก
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจอดไว้บริเวณซอยลาดพร้าว 84อันเป็นสถานที่ซึ่งคนทั่วไปรวมทั้งคนร้ายสามารถเข้าออกได้โดยสะดวก ส. ควรคาดหมายได้ว่าอาจมีคนร้ายเข้าไปลักรถยนต์ไปได้โดยง่าย จึงอาจป้องกันมิให้คนร้ายลักรถยนต์ได้โดยระมัดระวังให้มากกว่าที่กระทำดังกล่าว การที่ ส. เพียงแต่ล็อกคลัตซ์และกุญแจประตูรถ ยังไม่พอที่จะถือว่าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เมื่อรถยนต์ถูกคนร้ายลักไปจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้ผู้เช่าซื้อพ้นความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นและข้อตกลงการประกันภัย: การบังคับชำระหนี้ที่ถูกต้องตามสัญญา
ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นนี้ ป.พ.พ.มาตรา 655 วรรคแรกบัญญัติห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ถ้าดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่า1 ปี คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว หาได้บัญญัติว่าข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้กู้กับผู้ให้กู้ไม่ เมื่อข้อตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลเสียจากข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ย่อมต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องบังคับให้ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้อีก เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือที่แสดงข้อตกลงจำเลยทั้งสามในฐานะผู้กู้ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยค้างชำระเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับต้นเงินได้ และยินยอมเสียดอกเบี้ยในต้นเงินใหม่ในอัตราเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยจำนวน99,828.77 บาท ที่จำเลยทั้งสามค้างชำระเป็นเวลา 1 ปี มาทบเข้ากับต้นเงิน1,100,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2537 รวมเป็นเงิน 1,199,828.77 บาทแล้วคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในต้นเงินที่มีดอกเบี้ยทบเข้าด้วย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 55922เป็นประกันหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม โดยมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันว่าผู้จำนองยินยอมจะเอาประกันอัคคีภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองตามข้อตกลงนี้ไว้กับบริษัทประกันภัยที่ผู้รับจำนองเห็นชอบ โดยผู้รับจำนองเป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยตามจำนวนเงินที่ผู้รับจำนองจะแจ้งให้ทราบแต่ละปี โดยผู้จำนองยินยอมเสียเงินค่าเบี้ยประกันภัยเองตลอดไปทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยดังกล่าวและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบนั้น ตามข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไป จำเลยทั้งสองก็ต้องชำระคืนแก่โจทก์ ดังนั้น หากโจทก์ยังมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ปี 2540 หลังจากฟ้องคดีแล้วนั้น จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ชำระเบี้ยประกันภัยที่จำเลยยังไม่มีหนี้ต้องชำระและยังไม่ทราบจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่แน่นอนอีกด้วย นอกจากนี้ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ระบุจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะขอให้จำเลยชำระ จึงไม่อาจทราบว่าจำเลยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจบังคับให้ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 55922เป็นประกันหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม โดยมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันว่าผู้จำนองยินยอมจะเอาประกันอัคคีภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองตามข้อตกลงนี้ไว้กับบริษัทประกันภัยที่ผู้รับจำนองเห็นชอบ โดยผู้รับจำนองเป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยตามจำนวนเงินที่ผู้รับจำนองจะแจ้งให้ทราบแต่ละปี โดยผู้จำนองยินยอมเสียเงินค่าเบี้ยประกันภัยเองตลอดไปทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยดังกล่าวและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบนั้น ตามข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไป จำเลยทั้งสองก็ต้องชำระคืนแก่โจทก์ ดังนั้น หากโจทก์ยังมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ปี 2540 หลังจากฟ้องคดีแล้วนั้น จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ชำระเบี้ยประกันภัยที่จำเลยยังไม่มีหนี้ต้องชำระและยังไม่ทราบจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่แน่นอนอีกด้วย นอกจากนี้ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ระบุจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะขอให้จำเลยชำระ จึงไม่อาจทราบว่าจำเลยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต: ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี
ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่เป็นการประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889หาใช่การประกันวินาศภัยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิตไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิได้อย่างกรณีการประกันวินาศภัยดังนั้นแม้โจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน50,000บาทให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโจทก์ก็หามีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเพื่อฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินคำฟ้องในคดีประกันภัย ศาลไม่อาจวินิจฉัยชดใช้ค่าเสียหายนอกเหนือจากที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความเสียหายของสินค้าที่บรรจุในลังหมายเลข 8 ว่า เครื่องสูบจำนวน 4 ชุด หลวม ท่อแตกเสียหาย โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าสินค้าในลังหมายเลข 8 คือ เครื่องสูบจำนวน 4 ชุด สูญหาย จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดจากสินค้าเครื่องสูบจำนวน 4 ชุด ซึ่งบรรจุในลังหมายเลข 8 เสียหาย เพราะเครื่องสูบหลวม ท่อแตกเสียหายเท่านั้น มิได้กล่าวอ้างให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดจากสินค้าเครื่องสูบสูญหายด้วย ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าสินค้าในลังหมายเลข 8 เสียหายเพราะเครื่องสูบหลวมนั้นไม่ได้เกิดจากการขนส่ง แต่เป็นเพราะ ความบกพร่องของสินค้าที่ส่งมาจากต่างประเทศซึ่งสัญญาประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหาย ประเด็นที่เกี่ยวกับสินค้าในลังหมายเลข 8 จึงมีเพียงว่า เครื่องสูบจำนวน 4 ชุด หลวม ท่อแตกเสียหายตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดแม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นว่าสินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงใด ก็หาได้หมายถึงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะนำสืบถึงความเสียหายอื่น ๆ นอกเหนือจากที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องไม่ การที่โจทก์นำสืบและฎีกาขอให้ได้ รับชดใช้ค่าเสียหายสำหรับเครื่องสูบ 4 ชุด ที่สูญหายไป จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงและฎีกาให้จำเลยรับผิดใน เรื่องนอกเหนือคำฟ้อง ซึ่งไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องยืนยันสภาพความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแน่นอน การที่โจทก์นำสืบถึงความเสียหายอย่างอื่นนอกเหนือจากความเสียหายที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงมิใช่เป็นการนำสืบในรายละเอียดของความเสียหายที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องนั้นได้
การที่ศาลจะมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ได้แม้โจทก์จะนำสืบค่าเสียหายไม่ได้แน่นอนนั้น หมายถึงกรณีที่โจทก์นำสืบถึงความเสียหายตามคำฟ้องได้แล้ว แต่นำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้แน่นอนเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องยืนยันสภาพความเสียหายที่โจทก์ได้รับมาแน่นอน การที่โจทก์นำสืบถึงความเสียหายอย่างอื่นนอกเหนือจากความเสียหายที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงมิใช่เป็นการนำสืบในรายละเอียดของความเสียหายที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจกำหนดค่าเสียหายสำหรับความเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องนั้นได้
การที่ศาลจะมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ได้แม้โจทก์จะนำสืบค่าเสียหายไม่ได้แน่นอนนั้น หมายถึงกรณีที่โจทก์นำสืบถึงความเสียหายตามคำฟ้องได้แล้ว แต่นำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้แน่นอนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อระบุความสัมพันธ์ของจำเลยกับผู้กระทำละเมิด และการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน80-5080สมุทรสาครโดยเป็นนายจ้างหรือเป็นตัวการได้ใช้จ้างวานให้ผู้ขับซึ่งเป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่1เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ในฐานะเป็นตัวการแล้วผู้ขับดังกล่าวได้กระทำละเมิดชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าประการแรกผู้ขับขี่เป็นทั้งลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่1และประการที่สองเป็นตัวแทนซึ่งขับรถโดยมีจำเลยที่1เป็นตัวการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ในฐานะตัวการเพื่อให้จำเลยที่1รับผิดทั้งสองประการจึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา862วรรคสองผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยซึ่งระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยแต่ความหมายของผู้เอาประกันภัยตามกฎหมายต้องเป็นผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยเท่านั้นดังนั้นเมื่อส. เป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยจึงเป็นผู้เอาประกันภัยส่วนที่ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อช.บุตรส. ช.จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์และเมื่อคดีนี้มิได้พิพาทกันเองระหว่างคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ไปแล้วโดยรับช่วงสิทธิมาเนื่องจากรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดวินาศภัยขึ้นการที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าส.เป็นผู้เอาประกันภัยแต่ตามตารางกรมธรรม์มีชื่อช.ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบต่างกับคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีผู้ขับขี่ขาดต่ออายุใบอนุญาต แต่ความเสียหายมิใช่เกิดจากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด โดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อน ก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลย และผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน และขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.10 และ 3.9.2 เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่น ๆ แล้ว ทั้งตามคำให้การของจำเลย จำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่า ผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาท ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้น กรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น จึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว และหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่
ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 มีข้อความว่า "บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้" ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุก ๆ ข้อ และรวมถึง ข้อ 3.9 ตอนท้ายด้วย และข้อ3.9.2 มีข้อความว่า "การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน 180 วัน ฯลฯ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ" และตอนท้ายของข้อ 3.9 มีข้อความว่า "การยกเว้นตามข้อ 3.9 จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้" ดังนี้ เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน 180 วัน แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 ต่อโจทก์
ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 มีข้อความว่า "บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้" ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุก ๆ ข้อ และรวมถึง ข้อ 3.9 ตอนท้ายด้วย และข้อ3.9.2 มีข้อความว่า "การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน 180 วัน ฯลฯ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ" และตอนท้ายของข้อ 3.9 มีข้อความว่า "การยกเว้นตามข้อ 3.9 จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้" ดังนี้ เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน 180 วัน แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัย: การยกเว้นความรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ใบอนุญาตหมดอายุ แต่ความเสียหายมิใช่จากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่เพียงใดโดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อนก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลยและผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า180วันและขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่าตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ1.10และ3.9.2เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยานศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษาดังนี้กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่นๆแล้วทั้งตามคำให้การของจำเลยจำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้นกรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วและหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่ ตามตารางกรมธรรม์ข้อ1.10มีข้อความว่า"บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้"ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุกๆข้อและรวมถึงข้อ3.9ตอนท้ายด้วยและข้อ3.9.2มีข้อความว่า"การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใดๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน180วันฯลฯในเวลาเกิดอุบัติเหตุ"และตอนท้ายของข้อ3.9มีข้อความว่า"การยกเว้นตามข้อ3.9จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้"ดังนี้เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน180แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ตามตารางกรมธรรม์ข้อ1.10ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุมในคดีประกันภัย จำเป็นต้องระบุความสัมพันธ์ของผู้เอาประกันภัยกับความรับผิด
จำเลยผู้รับประกันวินาศภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ก่อวินาศภัยอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุการณ์นั้น แต่เมื่อคำฟ้องบรรยายเพียงว่าจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกทั้งสองคันที่ไปก่อนเหตุวินาศภัยขึ้นโดยมิได้บรรยายถึงบุคคลผู้เอาประกันที่ต้องผูกพันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเบื้องต้นอันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จะเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ เป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น จึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม โจทก์เพียงแต่ขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่มิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงศาลละ 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตาราง 1 ข้อ 2(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุมในคดีประกันภัย จำเลยไม่ต้องรับผิดหากคำฟ้องไม่แสดงนิติสัมพันธ์ผู้เอาประกันภัย
จำเลยผู้รับประกันวินาศภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ก่อวินาศภัยอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุการณ์นั้นแต่เมื่อคำฟ้องบรรยายเพียงว่าจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกทั้งสองคันที่ไปก่อนเหตุวินาศภัยขึ้นโดยมิได้บรรยายถึงบุคคลผู้เอาประกันที่ต้องผูกพันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเบื้องต้นอันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จะเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้เป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นจึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม โจทก์เพียงแต่ขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่มิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีจึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงศาลละ200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตาราง1ข้อ2(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับและนายจ้าง, การยกเว้นความรับผิดของประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่ 1ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้น จำเลยที่ 3 ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่ 3 ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด จำเลยที่ 3 ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ
เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร จำเลยที่ 1 กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปได้ครึ่งคัน จำเลยที่ 1 ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนน จึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลอง ดังนี้ เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว
ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่าง ๆ ด้วย ก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
รถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนน โดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญา ก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบ และเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร จำเลยที่ 1 กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปได้ครึ่งคัน จำเลยที่ 1 ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนน จึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลอง ดังนี้ เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว
ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่าง ๆ ด้วย ก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
รถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนน โดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญา ก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบ และเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด