พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตทุเลาการบังคับคดี: เหตุผลเพียงพอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ที่จำเลยยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งว่า พิเคราะห์แล้วคดีไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์นั้นเป็นการแสดงว่าศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาเหตุผลตามคำร้องของจำเลยและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีดุลพินิจไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับและถือได้ว่าเป็นการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในการมีคำสั่งตามคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 และการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น
คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องบรรยายข้อสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรก โดยย่อให้ได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีเรื่องอื่น และขอให้ศาลอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่มีการออกหมายบังคับคดีนี้ สำหรับเงื่อนไขตามมาตรา 290 วรรคสี่ เป็นกำหนดเวลาที่ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาในทันทีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้ยื่นเข้ามาในกำหนดเวลาหรือไม่ ถ้ายื่นเกินกำหนดศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องจึงไม่ใช่ข้อที่ผู้ร้องต้องบรรยายมาในคำร้อง ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่จำเลยไม่มีเงินจะชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้ผู้ร้องจึงมาร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ พอแปลได้ว่า ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย ถือได้ว่าผู้ร้องอ้างในคำร้องแล้วว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 290 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน: การฟ้องรังวัดที่ดินแปลงเดียวกันซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
คดีแรกศาลพิพากษาตามยอมว่าที่พิพาทตามแผนที่เป็นของโจทก์โจทก์ฟ้องเป็นคดีที่สองให้จำเลยรังวัดแบ่งที่ดิน น.ส.3 ให้แก่โจทก์ตามแผนที่พิพาทดังกล่าว ศาลพิพากษายกฟ้องว่า เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีที่สามขอให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดิน น.ส.3 อีกแม้จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองร่วมกับจำเลย คำฟ้องในคดีที่สองและที่สามก็เป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อคดีที่สองยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีที่สามจึงเป็นฟ้องซ้อนตามป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภูมิลำเนาของจำเลยและกำหนดเวลาการยื่นคำขอพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์ตามมาตรา 208 วรรคหนึ่งตอนท้าย เมื่อมีการส่งคำบังคับโดยเจ้าหน้าที่ศาลให้แก่จำเลยทั้งสองโดยการปิดคำบังคับไว้ ณ ภูมิลำเนาจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม2531 จำเลยทั้งสองยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2531จึงเลยกำหนด 15 วัน นับจากวันที่การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาว่าสัญญาเป็นโมฆะแล้ว ฟ้องใหม่เรียกเงินมัดจำจากสัญญานั้น ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาแล้วถึงที่สุด คดีใหม่มีมูลคดีและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดี: เหตุจำเป็นต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ใช่การยื่นบัญชีระบุพยาน
การพิจารณาให้เลื่อนคดีต้องพิเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ว่ามีเหตุจำเป็นหรือไม่ส่วนการที่คู่ความที่ขอเลื่อนคดีจะยื่นบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่มิใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณา ดังนั้น เมื่อทนายจำเลยขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกโดยอ้างเหตุว่าต้องเดินทางไปงานเผาศพป้าซึ่งอยู่คนละจังหวัดหากจะมาว่าความก่อนก็จะไปไม่ทันงาน โจทก์คัดค้าประการเดียวว่าจำเลยประวิงคดี มิได้คัดค้านว่าข้ออ้างของทนายจำเลยไม่เป็นความจริงกรณีนับว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถาน หากข้อเท็จจริงใหม่เพิ่งทราบหลังการชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2527 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ว่า จากการตรวจ สภาพอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ปรากฏว่า คานคอนกรีตรองรับชั้นดาดฟ้าแตก ร้าวรวม 18 แห่ง ซึ่ง จำเลยทั้งสองได้ แจ้งให้โจทก์ทราบในวันเดียวกัน โจทก์ไม่ยอมรับผิดในงานที่ชำรุด บกพร่องดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงจ้าง ให้บุคคลภายนอกซ่อมแซม สิ้นค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 81,800 บาท จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์ต้อง รับผิดจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 258,490 บาท ข้อความที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบภายหลังจากการชี้สองสถานแล้ว ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากชี้สองสถานแล้วได้ เพราะเป็นข้อที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: เมื่อข้อเท็จจริงใหม่ปรากฏหลังการชี้สองสถาน จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำให้การได้
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานในวันที่ 18 มิถุนายน 2527 แล้วจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งว่าจากการตรวจสภาพอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ปรากฏว่าคานคอนกรีตรองรับชั้นดาดฟ้าแตกร้าวรวม 18 แห่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองได้แจ้งให้โจทก์ทราบในวันเดียวกัน โจทก์ไม่ยอมรับผิดในงานที่ชำรุดบกพร่องดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงจ้างให้บุคคลภายนอกซ่อมแซมสิ้นค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 81,800 บาท จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 258,490 บาท ข้อความที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบภายหลังจากการชี้สองสถานแล้ว ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากชี้สองสถานแล้วได้เพราะเป็นข้อที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานตามมาตรา 180(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา หรือหาประกันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 234 เป็นบทบัญญัติบังคับผู้อุทธรณ์คำสั่งต้อง นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล และนำเงินมาชำระตาม คำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อ ศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งนั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้อง แจ้งให้จำเลยทราบไม่.