พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งการใช้ดินระเบิดในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยิงปืนในหมู่บ้านและทางสาธารณะในเวลากลางคืน อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ถือได้ว่าศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดที่จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมานั้นยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 นั้น ก็เพื่อประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยยิงปืนซึ่งไม่ได้ใช้ดินระเบิดอันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6607/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเทปจากการกระทำผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปฯ ไม่เข้าข่ายทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
การกระทำของจำเลยเป็นแต่เพียงความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยมิได้รับอนุญาตเท่านั้น ดังนั้นเทปของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับสินบนละเว้นการจับกุม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา เมื่อได้พบและกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมและนายสุเธียรมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันมิใช่การแกล้งกล่าวหา การที่จำเลยที่ 1 ไม่จับกุมแต่กลับขู่เข็ญเรียกเงินแล้วละเว้นไม่จับกุมโจทก์ร่วมและนายสุเธียร จึงไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะมาด้วย ก็ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปและเป็นบทที่โจทก์ฟ้องมาได้ สำหรับจำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าพนักงานแต่ร่วมกระทำผิดฐานนี้ด้วย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในชั้นไต่สวนมูลฟ้องถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ได้ หากเป็นข้อสำคัญในคดี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่าเป็นการเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกัน ส่วนคำว่าข้อสำคัญในคดี หมายถึง เนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความ มิใช่เรื่องขั้นตอนในการเบิกความถ้าพยานเบิกความเท็จและข้อความที่เบิกความเป็นสาระสำคัญของคดีที่เบิกความไม่ว่าจะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาของศาล ก็เป็นการเบิกความเท็จที่เป็นข้อสำคัญในคดีเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นข้อสำคัญในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
การเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล ไม่ว่าจะเป็นชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกันส่วนคำว่าข้อสำคัญในคดีก็หมายถึงเนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความหาใช่เรื่องขั้นตอนในการเบิกความไม่ ดังนั้นถ้าพยานเบิกความเท็จและข้อความที่เบิกความเป็นสาระสำคัญของคดีที่เบิกความ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาของศาล ก็เป็นการเบิกความเท็จที่เป็นข้อสำคัญในคดีอันเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเพื่อประโยชน์ในการจัดการมรดก: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
จำเลยเป็นน้อง ส. ขณะจำเลยเบิกความในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.นั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่า ส.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้โจทก์และผู้อื่นแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก และไม่มีฐานะเป็นทายาทที่จะร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก การที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่าส.มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ใด และมิได้ตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก เป็นเหตุให้ศาลเชื่อตามคำเบิกความของจำเลย และตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.คำเบิกความของจำเลยจึงเป็นข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเอกสารทางการเงินและเช็คของนายจ้างเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เอาใบวางบิลกับบิลเงินสดและใบส่งของซึ่งเป็นเอกสารของโจทก์ร่วมไปเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมโดยมีเจตนาจะเอาเงินค่าสินค้าเป็นของตนเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารของโจทก์ร่วมในประการหนึ่งที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และการที่เอาเช็คที่ลูกค้าของโจทก์ร่วมสั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คแล้วเบิกเงินไปเป็นของตนเป็นการทำให้เช็คดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารของโจทก์ร่วมไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จำเลยที่ 1จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกหลายคดี - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) - คดีไม่เกี่ยวพันกัน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีและเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน กรณีจึงจะอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 91(3) คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 รวม8 คดี และฟ้องจำเลยที่ 2 รวม 9 คดีนั้นแต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกัน เป็นคดีไม่เกี่ยวพันกันไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกิน 50 ปีได้ ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 91(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกหลายคดี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ใช้ได้เฉพาะคดีเกี่ยวพันหรือไม่รวมการพิจารณาเท่านั้น
การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี และเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน คดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีนี้และคดีอื่นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อกันนั้น แต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกันเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกินกว่า 50 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 ได้ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ และก็มิได้หมายความว่าหากลงโทษจำคุกสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับแล้วศาลต้องลงโทษจำคุกจำเลยไปทีเดียว จะรอการลงโทษไม่ได้