คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยประมาทจากการจุดไฟเผาหญ้า: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากการดับไฟที่เหลืออยู่ในกำลังของผู้อื่น
จำเลยกับ ส.ช่วยกันจุดไฟเผาหญ้าตามร่องสวน แล้วดับไปทีละร่อง ต่อมาเมื่อจำเลยกลับไปแล้วไฟได้ลุกไหม้ขึ้น เมื่อได้ความว่าขณะที่จำเลยกลับไปมี ส.กับค. ช่วยกันดับไฟอยู่แล้วและการดับไฟที่เหลือไม่เกินกำลังบุคคลทั้งสอง แต่การที่ไฟเกิดลุกไหม้ขึ้นภายหลังเกิดจากความประมาทของ ส. ที่มิได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ ดังนี้ การจุดไฟและละเว้นไม่อยู่ช่วยดับไฟของจำเลย ยังไม่เป็นการกระทำโดยประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำเลยไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิด
ก่อนเกิดเหตุ 1 เดือน จำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตผู้ตายขึงสายไฟฟ้าผ่านที่นาผู้ตายไปยังที่นาจำเลยทั้งสองเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าในการดักจับหนู เฉพาะเวลากลางคืนระหว่าง19 นาฬิกา ถึง 5 นาฬิกา ดังนั้น จึงต้องมีการต่อกระแสไฟฟ้าเข้าสายไฟฟ้าเมื่อถึงเวลาจะใช้และปลดสายที่ต่อกับกระแสไฟฟ้าออกเมื่อเลิกใช้ในเวลากลางวัน เหตุคดีนี้เกิดเวลากลางวันระหว่างเวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง 15 นาฬิกา ห่างจากวันเริ่มขึงสายไฟฟ้าดักจับหนูครั้งแรกประมาณ 1 เดือน เชื่อว่าได้มีการปลดสายที่ต่อกับกระแสไฟฟ้าออกและต่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สายไฟฟ้าดังกล่าวหมุนเวียนมาแล้วหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายที่มีผู้ต่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สายไฟฟ้าแล้วเกิดเหตุขึ้นนั้น ไม่มีพยานรู้เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำหรือเห็นจำเลยที่ 1 ได้กระทำการอย่างใดอันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาทปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสายไฟฟ้า เป็นเหตุให้ผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยผ่านดูดร่างกายจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททางละเมิด: ผู้ขับขี่ต้องระมัดระวังปฏิบัติตามกฎจราจร การประเมินค่าเสียหายจากละเมิด
ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุมีป้ายจราจรติดตั้งไว้ 2 ป้าย ป้ายแรกเขียนว่า ให้ระวังรถไฟ และอีกป้ายหนึ่งเขียนว่า หยุด แต่จำเลยที่ 1ไม่ได้หยุดรถ และเมื่อเห็นรถไฟแล่นมาขณะอยู่ห่างประมาณ 30 เมตรจำเลยที่ 1 เร่ง เครื่องยนต์เพื่อขับข้ามทางรถไฟให้พ้น แต่ไม่ทันจึงเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับรถไฟ ดังนี้ จำเลยที่ 1ละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร กลับฝ่าฝืนและเสี่ยงภัยอย่างชัดแจ้งตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทอย่างร้ายแรงแม้การรถไฟแห่งประเทศไทยโจทก์ไม่มีแผงกั้นทางขณะรถไฟแล่นผ่านที่เกิดเหตุ ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย แต่เป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว โจทก์เคยตกลงค่าเสียหายกับพนักงานสอบสวนตามบันทึกประจำวันว่าโจทก์เสียหาย 50,000 บาท บันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการประเมินความเสียหายชั้นต้น แต่ค่าเสียหายที่แท้จริงจะต้องรอตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารนั้นเป็นค่าเสียหายที่แน่นอนแล้ว โจทก์มีระเบียบในการคิดค่าเสียหายไว้ใช้เป็นหลักในการคิดค่าเสียหาย ไม่ได้ใช้เฉพาะกับกรณีของจำเลยเท่านั้น ค่าขาดประโยชน์โจทก์ได้คิดเปรียบเทียบกับรถยนต์ว่าควรจะเป็นเท่าใด มีรายละเอียดที่พอเชื่อ ถือได้ ส่วนค่าปั้นจั่นยกรถแม้ปั้นจั่นจะเป็นของโจทก์ แต่ก็ต้องมีการขนย้ายและเสียค่าใช้จ่ายเมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดก็ต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความประมาทเลินเล่อจำวันนัดสืบพยานคดีผิดพลาด ศาลฎีกาตัดสินให้รับผิดชอบความเสียหาย
ทนายความจะต้องจดวันนัดพิจารณาจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาล การที่จำเลยซึ่งเป็นทนายความของโจทก์อ้างว่าจำวันนัดสืบพยานผิดพลาดตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาล จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง หาใช่เหตุสุดวิสัยไม่และเมื่อจำเลยไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจนศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เพราะกรณีแห่งคดีนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททั้งสองฝ่าย แต่จำเลยมีโอกาสหลีกเลี่ยงได้ยังประมาทชน ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายสองในสาม
แม้เหตุที่รถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเพราะความประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์จอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุต ก็เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎจราจร ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ จึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ที่มีส่วนประมาทด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223
แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืน โดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหาย โดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบมิให้ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วสูงชนรถยนต์ของโจทก์ เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคันได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่าโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่ารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ด้วย พฤติการณ์แห่งคดีสมควรกำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของจำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททางละเมิด: การประเมินความรับผิดชอบเมื่อทั้งสองฝ่ายมีส่วนประมาท และการแบ่งความรับผิดชอบตามพฤติการณ์
แม้เหตุที่รถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเพราะความประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์จอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุต ก็เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎจราจร ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อ จะปกป้องบุคคลอื่น ๆ จึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 422 ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด ความ เสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะความผิดของ โจทก์ที่มีส่วนประมาทด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ มากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือ ว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อน กว่ากันเพียงไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยง ความเสียหาย โดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบ มิให้ ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถด้วยความเร็วสูง ชนรถยนต์ของโจทก์ เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคัน ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่า โจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่า รถยนต์ของโจทก์ ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตราย แก่กาย เนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ด้วย พฤติการณ์แห่งคดีสมควร กำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของ จำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของเจ้าของรถและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากละเมิดของลูกจ้าง รวมถึงประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 เข้าแล่นในเส้นทางเดินรถประจำทางของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการเดินรถรับส่งผู้โดยสาร จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุโดยประมาทชนโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจำเลยทั้งสามต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานใด แต่ตามคำฟ้องแสดงชัดว่าจำเลยที่ 3 อนุญาตให้เจ้าของรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเข้าแล่นในเส้นทางเดินรถประจำทางของจำเลยที่ 3 โดยเจ้าของรถและจำเลยที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของเจ้าของรถคันเกิดเหตุซึ่งจำเลยที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมด้วย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย ฟ้องโจทก์ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับเกี่ยวกับจำเลยที่ 3โดยชัดแจ้งแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 3 เข้าใจข้อหาดี ได้ให้การต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์กล่าวในฟ้องให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานมีผลประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัท ธ. ซึ่งจำเลยที่ 2เป็นกรรมการผู้จัดการ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของบริษัทดังกล่าว ต้องถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้องไม่
จำเลยที่ 1 เห็นโจทก์ข้ามถนนอยู่ข้างหน้าในระยะที่สามารถชะลอความเร็วให้โจทก์เดินข้ามถนนไปได้โดยปลอดภัย แต่หาได้กระทำไม่ กลับเร่งความเร็วขึ้นเพื่อจะขับให้ผ่านพ้นโจทก์ไปก่อน แต่ไม่พ้นกลับเฉี่ยวชนโจทก์ แม้โจทก์จะข้ามถนนนอกทางม้าลายก็มิใช่หมายความว่าโจทก์ประมาทเสมอไป กรณีดังกล่าวหากจำเลยที่ 1 ชะลอความเร็วลง เหตุย่อมไม่เกิดขึ้น ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาประเด็นจุดชนที่ไม่ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยในเรื่องจุดชนว่าอยู่ในทางเดินรถของจำเลยที่ 2การที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าจุดชนอยู่ในทางเดินรถของจำเลยที่ 2จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้ฝากในการดูแลสมุดเช็ค ทำให้เกิดการปลอมลายมือชื่อ และตัดสิทธิในการอ้างลายมือชื่อปลอม
โจทก์มอบสมุดเช็คไว้กับ ค. ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีของโจทก์ และให้ ค.เป็นผู้กรอกข้อความลงในเช็คก่อนที่จะนำมาให้ส.ผู้จัดการโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย การที่ ค. ปลอมลายมือชื่อ ส. ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท กับทั้งเมื่อจำเลยส่งการ์ดบัญชีมาให้โจทก์ โจทก์มิได้ตรวจสอบดูรายการถอนเงินว่าถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นความประมาทของโจทก์ที่ทำให้ ค. ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ โจทก์จึงเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: โจทก์ต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์และประมาทของลูกจ้าง
ศาลอาญาพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งให้ร่วมรับผิดกับ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ได้ความสมฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
of 56