คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมาทเลินเล่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยประมาทเลินเล่อทำให้เจ้าของสิทธิได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ต้องรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)จำเลยโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนำยึดที่ดินดังกล่าวขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตนเองอ้างว่าเป็นที่ดินของ พ. ลูกหนี้จำเลยโดยไม่ได้ตรวจสอบว่าที่ดินดังกล่าวมีหนังสือสำคัญแล้วหรือไม่และเป็นที่ดินของลูกหนี้ของตนหรือไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยให้การเพียงว่าขณะที่จำเลยนำยึดที่ดินพิพาทมีเพียงใบภ.บ.ท.5ไม่มีหลักฐานเอกสารสิทธิอย่างอื่นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์เป็นเอกสารปลอมจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยยึดที่ดินพิพาทโดยประมาทเลินเล่ออันเป็นการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยยึดที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา183วรรคสองอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา142(5)ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนด้วยการซื้อจาก พ. ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ พ. โดยมิชอบจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา284วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8028/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารค้ำประกันสัญญา ความผิดพลาดของเอกสารและการละเลยหน้าที่
จำเลยเป็นผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. โดยจำเลยเป็นผู้รับหนังสือค้ำประกันมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เพื่ออ้างอิงว่ามีหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ผู้รับจ้างต้องนำมาเป็นหลักประกันในการทำสัญญาจ้างและต้องลงรายการของหนังสือค้ำประกันแล้ว แต่จำเลยไม่ได้ทำการตรวจสอบหนังสือค้ำประกันเท่าที่ควรจะกระทำเช่น ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง" ของหนังสือค้ำประกัน ไม่มีเลขที่ของสัญญาจ้าง คงมีแต่วันที่ของสัญญาจ้างเท่านั้น และในหนังสือค้ำประกันของธนาคาร สัญญาลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แต่ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง สธ.32/2530"กลับลงวันที่เป็น "วันที่ 28 พฤษภาคม 2530" ซึ่งหากเป็นสัญญาในวันที่ลงในหนังสือค้ำประกันวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แล้วจะไปค้ำประกันสัญญาจ้างลงวันที่ 28พฤษภาคม 2530 ซึ่งยังไม่ได้ทำสัญญาจ้างกันเลยได้อย่างไร เมื่อหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีพิรุธ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องตรวจสอบว่าทำไมหนังสือค้ำประกันจึงมีพิรุธเช่นนี้หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบเอกสารนี้ให้ปรากฏความจริงเสียก่อน และหากยังเป็นที่สงสัยอยู่อีก จำเลยก็ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนั้นว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจริงหรือไม่เพราะสัญญาค้ำประกันมีมูลค่าสูงถึง 20,000,000 บาท การละเลยของจำเลยเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาจ้างและขณะนำหนังสือค้ำประกันมาประกอบสัญญาจ้างไม่มีระเบียบให้ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7839/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายกรณีถูกรอนสิทธิจากการซื้อขายทรัพย์สิน และขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่ทะเบียน
โจทก์ได้ซื้อรถคันพิพาทไปจากจำเลยทั้งสองในราคา300,000 บาท โดยไม่ทราบว่าเป็นรถที่ถูกลักมาและมีใบคู่มือการจดทะเบียนปลอมมาก่อน ต่อมาเจ้าพนักงานได้ตรวจพบว่าใบคู่มือการจดทะเบียนของรถคันพิพาทเป็นเอกสารปลอมจึงมีการยึดรถคันพิพาทไปจากโจทก์เพื่อคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริง จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ขายจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ถูกรอนสิทธิโดยชดใช้ ราคารถคันพิพาทแก่โจทก์ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิหักเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการใช้รถคันพิพาทจากโจทก์ด้วยนั้น การที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการใช้รถคันพิพาทนั้น มิใช่เป็นค่าหรือราคารถคันพิพาทที่จำเลยจะต้องส่งคืน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักกับราคาของรถคันพิพาทได้ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยในปัญหาที่ว่าความเสียหายอันเกิดแต่การรอนสิทธินั้นโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดขึ้น โจทก์จึงต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายกึ่งหนึ่งด้วยนั้น ในปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้น แม้จำเลยทั้งสองจะได้อุทธรณ์ในข้อนี้มาด้วย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบลายมือชื่อ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆไปการที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้กับจำเลยกับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยจึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์จำเลยจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ การที่เช็คพิพาทซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งมีการปลอมลายมือชื่อโจทก์นั้นแสดงว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้ผู้ฝากมีส่วนประมาทเลินเล่อ
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมมิใช่ลายมือของโจทก์ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจบังคับการใช้เงินจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคหนึ่ง จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไปการที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท2ฉบับโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมจึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์จำเลยจะอ้างขอตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัยและถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันทีเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา1008วรรคหนึ่่งตอนท้ายหาได้ไม่ จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท2ฉบับรวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหารต่อการยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่ – การประมาทเลินเล่อต้องทำให้เกิดการยักยอก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ที่3ที่5ที่7และที่10ทำให้โจทก์เสียหายทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไรฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริตจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้วหาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัดปล่อยให้จำเลยที่1เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฎิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่1สามารถปลอมใบนำส่งเงินปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงินข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฎิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่ แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวันแล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้ายและให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้องทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้นย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-หน้าที่ธนาคารจ่ายเช็ค-ความรับผิดข้าราชการ-ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมทางหลวงประมาทเลินเล่อกีดขวางการจราจร ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ไม่มีโอกาสหลีกเลี่ยง
กรมทางหลวงจำเลยขุดดินมากองไว้บนถนนทางหลวงที่ใช้สำหรับยวดยานพาหนะผ่านไปมาในลักษณะกีดขวางการจราจรในช่องเดินรถของผู้ตายโดยเพิ่งขุดกองไว้ในวันเกิดเหตุ แต่มิได้ติดตั้งป้ายสัญญาณหรือไฟสัญญาณเตือนให้ผู้ขับยวดยานพาหนะผ่านไปมาทราบว่ามีกองดินอยู่ข้างหน้า จำเลยย่อมคาดได้แต่แรกว่าหากไม่มีป้ายสัญญาณและไฟสัญญาณในเวลากลางคืนให้เห็นชัดเจนแล้วก็อาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายจากกองดินดังกล่าวได้โดยง่าย เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างมาก การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถของตนในเวลากลางคืนด้วยความเร็วธรรมดาโดยไม่มีโอกาสเห็นกองดินที่จำเลยดำเนินการขุดไว้ข้างหน้าตามสมควรจนทำให้รถผู้ตายชนกองดินดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากการประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
แม้โจทก์จะได้รับเงินทำบุญในการจัดงานศพ ก็ถือว่าเป็นเงินที่ให้แก่กันตามประเพณีในสังคม จึงเป็นคนละส่วนกันค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ไม่อาจนำมาหักออกจากค่าปลงศพที่โจทก์ได้จ่ายไปจริงเพื่อลดภาระหนี้ที่จำเลยทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของจำเลยในการก่อสร้างทางหลวงทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
กรมทางหลวงจำเลยขุดดินมากองไว้บนถนนทางหลวงที่ใช้สำหรับยวดยานพาหนะผ่านไปมาในลักษณะกีดขวางการจราจรในช่องเดินรถของผู้ตายโดยเพิ่งขุดกองไว้ในวันเกิดเหตุแต่มิได้ติดตั้งป้ายสัญญาณหรือไฟสัญญาณเตือนให้ผู้ขับยวดยานพาหนะผ่านไปมาทราบว่ามีกองกินอยู่ข้างหน้าจำเลยย่อมคาดได้แต่แรกว่าหากไม่มีป้ายสัญญาณและไฟสัญญาณในเวลากลางคืนให้เห็นชัดเจนแล้วก็อาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายจากกองดินดังกล่าวได้โดยง่ายเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างมากการที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถของตนในเวลากลางคืนด้วยความเร็วธรรมดาโดยไม่มีโอกาสเห็นกองดินที่จำเลยดำเนินการขุดไว้ข้างหน้าตามสมควรจนทำให้รถผู้ตายชนกองดินดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากการประมาทเลินเล่อของจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะได้รับเงินทำบุญในการจัดงานศพก็ถือว่าเป็นเงินที่ให้แก่กันตามประเพณีในสังคมจึงเป็นคนละส่วนกันค่าใช้จ่ายในการปลงศพไม่อาจนำมาหักออกจากค่าปลงศพที่โจทก์ได้จ่ายไปจริงเพื่อลดภาระหนี้ที่จำเลยทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ, การต่อสู้คดีนอกคำให้การ, และการนับอายุความ
ในการยื่นคำให้การกฎหมายบัญญัติไว้แต่เพียงว่าให้จำเลยแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าหากจำเลยหลายคนถูกฟ้องให้รับผิดร่วมกันแล้วจำเลยทุกคนจะต้องอ้างเหตุเหมือนกันหรือสอดคล้องต้องกัน ดังนั้นจำเลยแต่ละคนจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรก็ได้ ไม่ต้องคำนึงว่าคำให้การของตนจะขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยอื่นหรือไม่ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คำให้การของจำเลยที่ 4ขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยที่ 5 หรือไม่
จำเลยที่ 3 ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือที่ 2กล่าวคือ ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็นนายทหารเวรเวลาเกิดเหตุได้เปิดประตูเข้าไปในห้องปฏิบัติงานโดยไม่มีเหตุอันควรและไม่มีเหตุจำเป็นถึง 2 ครั้ง โดยไม่ปรากฏว่ามีหัวหน้าเวร 1 คน และเสมียนเวร 1 คน ร่วมเป็นพยานรู้เห็นด้วย ทั้งไม่ได้ลงปูมไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบวินัยแล้ว ยังประมาทเลินเล่ออีกด้วย เมื่อคนร้ายเข้าไปทางประตูที่จำเลยที่ 3 เปิดทิ้งไว้ และลักเอาเบ้าแพลทินัมจำนวน 4 เบ้าของโจทก์ไป จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
เฉพาะจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่ให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุม จำเลยที่ 3 มิได้หยิบยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพราะนอกเหนือคำให้การของตน และถือว่าจำเลยที่ 3 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความเป็นปีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 158 เดิม ประกอบด้วยมาตรา 159 วรรคสองเดิม กล่าวคือ มิให้นับวันที่ 23 ธันวาคม 2529 ซึ่งเป็นวันแรกรวมคำนวณเข้าด้วยเพราะมิได้มีการเริ่มอะไรในวันนั้น ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2529เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 23 ธันวาคม 2530 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะครบ 1 ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 52