พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษเมื่อข้อเท็จจริงพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลง ศาลสามารถลงโทษตามบทที่มีโทษเบากว่าได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสี่พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดพรากผู้เสียหายที่ 1 โดยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายที่ 1 อายุกว่าสิบห้าปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก ศาลย่อมปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก ซึ่งมีการกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและมีโทษเบากว่าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายได้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษดังที่จำเลยทั้งสี่ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15717/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุกทำลายทรัพย์สิน ไม่ถึงขั้นปล้นทรัพย์ ศาลปรับบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาบุกรุกเข้าไปทำร้ายคนในบ้านผู้เสียหาย เมื่อไม่พบก็นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปเผา มิใช่มุ่งเอาประโยชน์จากทรัพย์จึงไม่ใช่เอาทรัพย์ไปโดยเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหาย การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง
จำเลยที่ 2 กับพวกอีกประมาณ 10 คน บุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายในเวลากลางคืนและใช้อาวุธปืนขู่เข็ญว่าจะทำร้ายผู้เสียหายและกลับออกไปพร้อมนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปด้วยกัน เป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) (3) แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 364 จึงมิอาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฐานความผิดดังกล่าวซึ่งมีโทษหนักกว่าที่โจทก์ขอและถือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษ จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 364 เท่านั้น
จำเลยที่ 2 กับพวกเผารถจักรยานยนต์เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นเจตนาแยกต่างหากจากเจตนาแรกที่บุกรุกเข้าไปจะทำร้ายบุคคลที่อยู่ในบ้านผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานปล้นทรัพย์และฐานทำให้เสียทรัพย์ มิได้แตกต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานความผิดที่ถูกต้อง และมีบทลงโทษเบากว่าที่โจทก์ฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่กระทำความผิดฐานบุกรุกและ ทำให้เสียทรัพย์ ย่อมเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งร่วมกระทำผิดแต่มิได้ฎีกาให้ได้รับประโยชน์ดุจจำเลยที่ 2 ผู้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
จำเลยที่ 2 กับพวกอีกประมาณ 10 คน บุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายในเวลากลางคืนและใช้อาวุธปืนขู่เข็ญว่าจะทำร้ายผู้เสียหายและกลับออกไปพร้อมนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปด้วยกัน เป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) (3) แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 364 จึงมิอาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฐานความผิดดังกล่าวซึ่งมีโทษหนักกว่าที่โจทก์ขอและถือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษ จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 364 เท่านั้น
จำเลยที่ 2 กับพวกเผารถจักรยานยนต์เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นเจตนาแยกต่างหากจากเจตนาแรกที่บุกรุกเข้าไปจะทำร้ายบุคคลที่อยู่ในบ้านผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานปล้นทรัพย์และฐานทำให้เสียทรัพย์ มิได้แตกต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานความผิดที่ถูกต้อง และมีบทลงโทษเบากว่าที่โจทก์ฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่กระทำความผิดฐานบุกรุกและ ทำให้เสียทรัพย์ ย่อมเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งร่วมกระทำผิดแต่มิได้ฎีกาให้ได้รับประโยชน์ดุจจำเลยที่ 2 ผู้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง
การลักบัตรเครดิตของนายจ้างกับการปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เป็นคนละวาระกัน ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้างเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเป็นสินค่าที่จำเลยได้จากร้านค้าคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ รองเท้า และสร้อยข้อมือทองคำ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่กรรมเดียวไม่ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามมาตรา 269/7, การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเฉพาะโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันใช้และฐานร่วมกันนำเข้าบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมจากกระทงละ 2 ปี และ 4 ปี เป็นกระทงละ 1 ปี และ 3 ปี ตามลำดับ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อแต่ละกระทงยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันปลอม นำเข้า และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงินสด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/7 ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในความผิดดังกล่าวกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขโดยปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวางโทษจำคุกให้หนักขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และเนื่องจากเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และมาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันปลอม นำเข้า และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อย่างอื่นแทนการชำระด้วยเงินสด อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/7 ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในความผิดดังกล่าวกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าวและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขโดยปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวางโทษจำคุกให้หนักขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และเนื่องจากเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และมาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษผิดฐานพรากเด็กและพาเด็กเพื่ออนาจาร ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดา ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้กระทำเพื่อการอนาจาร จึงปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อการอนาจาร อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรานี้มาด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ไขในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
อนึ่ง แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ
อนึ่ง แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อของโจร: ศาลปรับบทลงโทษจากมาตรา 357 วรรคแรก เป็นวรรคสอง หลังจำเลยซื้อทรัพย์ที่ได้จากการปล้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยช่วยซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใดๆ ซึ่งวิทยุเทปติดรถยนต์จำนวน 1 เครื่อง ที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์กระบะของบริษัท ส. ซึ่งถูก จ. กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ไป โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการปล้นทรัพย์ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสาม ดังนี้ คำบรรยายฟ้องดังกล่าวทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสาม โดยมิได้ระบุขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ให้สอดคล้องกับคำบรรยายฟ้องก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างวรรคผิดเท่านั้น มิใช่เรื่องคำฟ้องโจทก์ข้อแย้งกันแต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
ทางพิจารณาโจทก์นำสืบได้ว่า จำเลยซื้อวิทยุเทปติดรถยนต์กระบะที่ถูก จ. กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ไปโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการปล้นทรัพย์ ถือว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมแล้ว เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างวรรคผิด ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยซื้อวิทยุเทปดังกล่าวไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก จึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ และมิใช่เรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องแต่อย่างใด ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อ้างวรรคผิดเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ทางพิจารณาโจทก์นำสืบได้ว่า จำเลยซื้อวิทยุเทปติดรถยนต์กระบะที่ถูก จ. กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ไปโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการปล้นทรัพย์ ถือว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมแล้ว เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างวรรคผิด ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยซื้อวิทยุเทปดังกล่าวไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก จึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ และมิใช่เรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องแต่อย่างใด ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อ้างวรรคผิดเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แม้ฟ้องขอลงโทษตามมาตราอื่น ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดที่พิสูจน์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรกด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก ศาลก็ปรับบทลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษและเป็นการพิพากษาเกินคำขอดังที่โจทก์กล่าวอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามลักทรัพย์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะ: การตีความความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ และการปรับบทลงโทษ
เงินที่จำเลยทั้งสองพยายามลักจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ไม่ใช่ทรัพยที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (10) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ปรับบทลงโทษตามมาตรา 335 (10) จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กและการพิจารณาโทษสถานเบา
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยจำเลยเอาอวัยวะเพศของจำเลยถูไถบริเวณอวัยะเพศของผู้เสียหาย และใช้มือลูบคลำอวัยะเพศของผู้เสียหายหลายครั้งอันเป็นการกระทำอนาจารโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องจึงต้องรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกการกระทำความผิดเป็นกรรมต่างกัน และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ออกเป็นสองกรรมต่างกัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 โดยการกระทำของจำเลยทั้งสี่ในกรรมแรกตามฟ้องเป็นเรื่องจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกับ อ. ขอให้หรือรับว่าจะให้เงินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ในการนำคนต่างด้าวไปทำบัตรประจำตัวประชาชน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 ซึ่งจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 ส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสี่ในกรรมที่สองเป็นเรื่องจำเลยทั้งสี่ร่วมกับ ค. แจ้งข้อความและแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการในการที่ อ. ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนและมีชื่อและรายการในทะเบียนบ้าน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 50 วรรคหนึ่ง และ ป.อ. มาตรา 267 ซึ่งจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 แม้ความผิดดังกล่าวจะกระทำต่อเนื่องกับความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน และจุดประสงค์ในการกระทำความผิดเป็นอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ อ. แต่ความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 144 มีลักษณะสภาพความผิดและอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากการกระทำความผิดอื่น ๆ โดยเมื่อจำเลยทั้งสี่ร่วมกันขอให้หรือรับว่าจะให้เงินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการโดยมิชอบด้วยหน้าที่ก็เป็นความผิดสำเร็จในตัวกรรมหนึ่งแล้ว และต่อมาจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานอื่นขึ้นอีกจึงเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นสองกรรมต่างกันโดยชัดแจ้ง และจำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคท้าย บัญญัติความว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ต้องระวางโทษหนักขึ้น เมื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้มีสัญชาติไทยทุกคน กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตามมาตรา 14 (1) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคท้าย มาด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคท้าย บัญญัติความว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ต้องระวางโทษหนักขึ้น เมื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้มีสัญชาติไทยทุกคน กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตามมาตรา 14 (1) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคท้าย มาด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225