พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 242: ทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนของหมั้นเป็นเงิน10,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนสินสอดเป็นเงิน 50,000 บาทหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 สามารถแยกออกจากหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคนละส่วนกันได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์แต่ละส่วนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน – ประเด็นผิดสัญญาเดิมเหมือนกัน ศาลยกฟ้องตามมาตรา 173(1) ป.วิ.พ.
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1โอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายโดยอ้างว่าจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยที่1ให้การว่าจำเลยที่1มีหน้าที่ต้องขายที่พิพาทให้จำเลยที่2ก่อนไม่ได้ผิดสัญญาคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามทำการฉ้อฉลโอนขายที่พิพาทเพื่อหลีกเลี่ยงไม่โอนขายให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายขอให้จำเลยที่1โอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยที่1ให้การว่าสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เป็นเพียงสิทธิตามสัญญาแต่สิทธิของจำเลยที่2กับจำเลยที่1เป็นหน้าที่ตามกฎหมายการโอนทำโดยสุจริตขอให้ยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมีเหมือนกันว่าจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1จึงเป็นเรื่องเดียวกันต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินตามข้อตกลงนอกสัญญา ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 94(ข)
ตามสัญญาซื้อขายที่ดินท้ายเอกสารหมาย ล.5 ระบุราคาที่ซื้อขายกันเพียง 3,000,000 บาท ทั้งที่ราคาที่ซื้อขายกันจริงตามที่คู่ความรับกันว่ามีราคา9,500,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายท้ายเอกสารหมาย ล.5 จะมีข้อความว่า ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เรียบร้อยแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่ายังได้รับชำระค่าที่ดินไม่ครบถ้วน ก็หาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายที่ดินท้ายเอกสารหมาย ล.5 เพราะคู่ความได้รับกันแล้วว่าซื้อขายกันจริงในราคา 9,500,000 บาท ไม่ใช่ตามราคาที่ระบุในสัญญาดังกล่าว การนำสืบว่ายังได้รับค่าที่ดินไม่ครบถ้วนตามราคาที่แท้จริงตามที่รับกัน จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดสิทธิบังคับคดีหลัง 10 ปี แม้บังคับคดีบางส่วนไปแล้ว ประเด็นคือระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.
โจทก์ได้บังคับคดีแก่ที่ดินจำนองของจำเลยออกขายทอดตลาด ได้เงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์บางส่วนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2530 แล้ว แต่โจทก์เพิ่งร้องขอให้บังคับคดี แก่ทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มเติมเพื่อบังคับชำระหนี้ตาม คำพิพากษาในส่วนที่เหลือเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2536จึงพ้นกำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2524ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยได้อีกต่อไป ปัญหาข้อโต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดไว้หรือไม่อันเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายวิธีสารบัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจนำบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติมาใช้ปรับแก่กรณีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ซ้ำซ้อนหลังศาลตัดสินเรื่องกรรมสิทธิ์เดิม: ฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
แม้คดีก่อนที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยกับคดีนี้คู่ความที่ฟ้องและถูกฟ้องจะผลัดกันเป็นโจทก์ จำเลย แต่คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ในคดีก่อนกับคดีฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยในคดีนี้ก็ถือเป็นคดีประเภทเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาในประเด็นแห่งคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้ขับไล่จำเลยอีก โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท คดีโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดียวกัน อันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานเพิ่มเติมจากสัญญา นอกเหนือจากที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ป.วิ.พ. มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตามหนังสือสัญญาที่ทำกันเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2537อีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้นจึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดสำคัญของหนี้และดอกเบี้ย ทำให้ไม่เป็นไปตามหลัก ป.วิ.พ. มาตรา 172
คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าจำเลยคนไหนเป็นผู้เบิกเงินไปจากบัญชี เริ่มเบิกเงินเมื่อใด ครั้งสุดท้ายวันใด จำนวนเงินที่เบิกไปจากบัญชีเบิกไปตามสัญญาฉบับไหน แต่ละสัญญาและรวมทั้งสองสัญญาเป็นเงินจำนวนเท่าใดโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราใด เมื่อครบกำหนดตามสัญญามีจำนวนหนี้แต่ละสัญญาอย่างไรเงินฝากของจำเลยที่โจทก์นำมาหักชำระหนี้เป็นเงินฝากของจำเลยคนไหน มีจำนวนเท่าใดและนำไปหักหนี้ตามสัญญาฉบับไหน ยอดหนี้ที่ยังเหลืออยู่เป็นหนี้ตามสัญญาฉบับไหน โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องรับผิดในหนี้จำนวน378,397.80 บาท แต่คำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดในวงเงิน 200,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่14 พฤษภาคม 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากนี้ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวไว้ว่ามีการเบิกเงินไปจากบัญชีครบวงเงินจำนวน 200,000 บาท เมื่อใด เพราะตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่มีการเบิกเงินเกินบัญชี มิใช่คิดจากวันทำสัญญา คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 180 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง บัญญัติไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า ฯลฯ (2) คู่ความที่ขแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณีและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องไว้ 2 ประการ คือ ประการแรก กรณีที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน และคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องแต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็อาจยื่นคำร้องหลังวันดังกล่าวได้ ประการที่สอง กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ย่อมจะยื่นคำร้องหลังวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ มาใช้แก่คดีนี้ได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยในชั้นพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ในชั้นนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่าการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 180 หรือไม่ จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างสัญญาจำนองและหนังสือมอบอำนาจ: ขอบเขตการนำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
การนำสืบว่า การทำสัญญาจำนองไม่มีการมอบเงินกัน เป็นการนำสืบหักล้างว่าการกู้เงินไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
ส่วนการที่จำเลยนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่การนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงมิใช่กรณีที่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 94 จำเลยนำสืบได้
ส่วนการที่จำเลยนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่การนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงมิใช่กรณีที่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 94 จำเลยนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องใหม่ภายใต้มาตรา 148(3) ป.วิ.พ.
ในกรณีที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ มาตรา 148(3)แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติรับรองให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งได้ด้วยว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายในอายุความ โดยไม่มีเงื่อนไขหรือวางกฎเกณฑ์ไว้ว่า ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวได้ภายในเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์อย่างใดจึงเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยสั่งได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร แม้ศาลชั้นต้นจะสืบพยานหลักฐานไปแล้ว แต่เมื่อมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นก็สามารถใช้ดุลยพินิจพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ได้