คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้ออกตั๋วทำเอง มีผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา มิได้บัญญัติกำหนดวิธีการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไว้โดยเฉพาะเจาะจงทั้งข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เรียกว่าเป็นสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องตั้งข้อเรียกร้องตามข้อตกลงในสัญญาโดยเรียกว่าเป็นสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมิได้ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เช่นนี้ แม้ผู้ออกตั๋วทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเองก็มีผลบังคับได้ จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้ออกตั๋วทำเอง มีผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3เอกเทศสัญญามิได้บัญญัติกำหนดวิธีการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไว้โดยเฉพาะเจาะจงทั้งข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เรียกว่าเป็นสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินการที่โจทก์บรรยายคำฟ้องตั้งข้อเรียกร้องตามข้อตกลงในสัญญาโดยเรียกว่าเป็นสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินและข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมิได้ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชนเช่นนี้แม้ผู้ออกตั๋วทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเองก็มีผลบังคับได้จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลผูกพัน
การที่ผู้ร้องเสนอขอชดใช้เงินและขอลดดอกเบี้ยคดีนี้เท่ากับเป็นการประนีประนอมยอมความ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5) ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้ก็เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของผู้ร้องหรือไม่ เป็นการขอความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามมาตรา 32 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับข้อเสนอ และมีมติตามข้อเสนอของผู้ร้องแล้ว ก็เท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการประนีประนอมยอมความ หากผู้คัดค้านเห็นว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้เกิดโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายตาม ป.พ.พ. ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งห้าม ตามมาตรา 36 ซึ่งบัญญัติให้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น และถ้าไม่มีคำสั่งศาลห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติ ก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้น กรณีไม่มีทางที่ผู้คัดค้านจะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นผิดไปจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ เมื่อมติที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนที่ลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ร้องยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามนั้น เมื่อผู้ร้องได้นำเงินไปชำระตามมติดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้เพิ่มเติมอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความ: แม้ไม่มีการประทับตราบริษัทและไม่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไป แต่ในวันเดียวกันนั้น ร.ซึ่งเป็นน้องชายของ ย.และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้โทรสารถึง ก.ทนายความของจำเลยที่ 1เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งจำเลยที่ 3 รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วย ดังนี้ เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาท ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รับรองสัญญาประนี-ประนอมยอมความนี้ก็ดี หามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากเจตนาแก้ไขข้อพิพาทและมีผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของ ย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้โทรสารถึง ก. ทนายความของจำเลยที่ 1 เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งจำเลยที่ 3 รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วย ดังนี้ เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาท ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดี หามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากมีเจตนาและผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่2ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่1แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่1ได้โทรสารถึงก. ทนายความของจำเลยที่1เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่1จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งจำเลยที่3รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วยดังนี้เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาทก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่1และถือว่าจำเลยที่1ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่1ก็ดีหรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่1ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดีหามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่1แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และการผูกพันตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา ฎีกานี้ตัดสินว่าการโอนสิทธิการเช่ามีผลผูกพันกับโจทก์
คู่สัญญาเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทคือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลย แต่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าด้วยการแบ่งรายได้ค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศว่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์เรียกเข้าหรือเรียกออก โจทก์จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นาทีละ 4 บาท และกำหนดด้วยว่าการเรียกเก็บเงินองค์การ-โทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะเป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการและกล่าวถึงว่าองค์การ-โทรศัพท์แห่งประเทศไทยและโจทก์ตกลงที่จะแบ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนฝ่ายละครึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นความตกลงภายในระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนกันในการหาประโยชน์และผลกำไรร่วมกัน นอกจากนี้ระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทยของโจทก์ ฉบับที่ 224 ว่าด้วยบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศพ.ศ.2535 หมวด 6 ว่าด้วยการระงับบริการและการยกเลิกการระงับบริการข้อ 32 มีข้อความว่า ผู้เช่าโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ประสงค์จะดำเนินการตาม ข้อ 31.1 ให้ยื่นคำขอระงับ/ยกเลิกการขอระงับบริการต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การขอระงับการใช้บริการหรือยกเลิกการระงับดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยได้แจ้งการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์หมายเลขพิพาทให้แก่จำเลยร่วมต่อผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2535 และพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ลงชื่อรับแบบขอโอนและรับโอนสิทธิการเช่าสองฝ่ายตามเอกสารหมาย ล.3 ในวันเดียวกันนั้นต้องถือว่าจำเลยได้แจ้งระงับการใช้บริการแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้ว และเอกสารหมาย ล.3ซึ่งเป็นแบบฟอร์มขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเองมีใจความว่า จำเลยมีความประสงค์จะขอโอนสิทธิการเช่าพร้อมทั้งภาระผูกพันต่าง ๆ และหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนและที่จะปรากฏต่อไปให้แก่จำเลยร่วม ประกอบกับหลังจากมีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามเอกสารหมาย ล.3 แล้ว องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องส่งเรื่องให้โจทก์ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับรู้การโอนสิทธิการเช่าซึ่งได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามเอกสารหมาย ล.3 ดังกล่าวแล้ว และมีผลผูกพันไปถึงโจทก์ด้วยตามข้อตกลงระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์ และระเบียบของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นจำเลยจึงยกเอาการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวขึ้นยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา306 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงพ้นจากความรับผิดในหนี้ค่าบริการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและการระงับข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ผลผูกพันและการขอบเขต
ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า สิทธิของจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปเนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องและประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาลแรงงานและรับเงินจากโจทก์ไปแล้ว เมื่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในจำนวนค่าเสียหายตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ที่พึงได้รับจากโจทก์นั้นได้ระงับไปด้วยการประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว และด้วยเหตุประนีประนอมยอมความเดียวกันนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ตามที่ฟ้องย่อมระงับไปด้วยเช่นกัน ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องตลอดจนที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน 10 วัน แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดี ทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ตามมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้
คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่ง ทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใด ๆ มากกว่านั้นอีก แสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่ จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9779/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามสัมปทานและการเลิกสัญญา ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขในสัญญา
ตามสัมปทานข้อ 7 กำหนดให้สัมปทานอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย กฎ และข้อบังคับทั้งปวงที่ประกาศใช้บังคับอยู่แล้วในขณะนี้และที่จะได้ประกาศใช้บังคับต่อไปในภายหน้า ผู้รับสัมปทานจะอ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ ในสัมปทานเป็นข้อยกเว้นมิให้ต้องถูกบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับนั้น ๆ หรือจะอ้างเหตุที่ได้รับ หรือจะได้รับโทษตามกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ต้องถูกบังคับตามสัมปทานนี้หาได้ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐผู้มีอำนาจให้รัฐมนตรีมีคำสั่งหยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงการจัดโครงการทำไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งเป็นคำสั่งที่ใช้รวมกันทุกสัมปทานใน 14 จังหวัดภาคใต้ คำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎและข้อบังคับที่ประกาศใช้บังคับภายหลังมีสัมปทานทำไม้ ย่อมมีผลผูกพันโจทก์มิให้อ้างเอาข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นมิให้ถูกบังคับตามคำสั่งดังกล่าวตามสัมปทานทำไม้ข้อ 7 ได้
สัมปทานข้อ 34 กำหนดว่า "ถ้าผู้รับสัมปทานประสงค์จะขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ 2 ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ให้สัมปทานทราบว่า ประสงค์จะเลิกสัมปทานตั้งแต่เมื่อใด และผู้รับสัมปทานจะหยุดทำไม้นับแต่วันที่แจ้งก็ได้ แต่ผู้รับสัมปทานยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัมปทานนี้ จนถึงวันที่ผู้ให้สัมปทานกำหนดให้เป็นวันเลิกสัมปทาน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ให้สัมปทานได้รับหนังสือแจ้งขอเลิกสัมปทาน
การเลิกสัมปทานตามวรรคหนึ่ง ผู้รับสัมปทานไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้ตามข้อ 31 คืน"
ตามข้อสัมปทานดังกล่าวเป็นเรื่องขอเลิกสัมปทานก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัมปทานซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 30 ปี เมื่อโจทก์ได้แจ้งขอเลิกสัมปทาน ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัมปทาน หนังสือบอกเลิกสัมปทานดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัมปทานโดยความสมัครใจของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประกันที่วางไว้คืน ทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในสัมปทานข้อ 34 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: ผลผูกพันนายจ้างต่อการเลิกจ้างโดยตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจ
ว. เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลยซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่าว. มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลยและเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิดว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ว. เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ดังนั้นการที่ว. บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่าว.เป็นตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821
of 81