พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, การผิดนัดชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้อง, อำนาจมอบอำนาจ, และการเกิดผิดนัดจากการปฏิเสธการจ่ายเช็ค
โจทก์บรรยายฟ้องมีความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใจความเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจและเห็นได้ชัดว่ามีความหมายถึงจำเลยที่ 3 ฟ้องโจทก์เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของรองอธิบดี, สัญญาค้ำประกัน, สัญญารับสภาพหนี้ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน, การผิดนัดชำระหนี้
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องว่า ขณะฟ้องคดีนี้อธิบดีกรมศิลปากรยังมีตัวดำรงตำแหน่งปฏิบัติราชการได้ พ. รองอธิบดีจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนกรมศิลปากร ดังนี้ ปัญหาว่ากรมศิลปากรมีรองอธิบดีกี่คน และปลัดกระทรวงได้แต่งตั้งให้ พ.รองอธิบดีรักษาการแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2512 หรือไม่ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขณะที่อธิบดีกรมศิลปากรไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พ.รองอธิบดีกรมศิลปากรรักษาราชการแทนอธิบดีจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทกืได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 42 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์
สัญญาค้ำประกันมีการขีดฆ่าข้อความบางแห่งที่พิมพ์เกินไว้ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็นสารสำคัญ แม้ผู้ขีดฆ่าจะไม่ได้ลงชื่อไว้ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันรับฟังไม่ได้ และข้อความในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ถ้า อ. ลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมชำระเงินที่ อ. ยังค้างชำระอยู่ให้โจทก์จนครบถ้วนทันทีไม่ว่าจะมีทางเรียกให้ อ. ชำระหนี้ได้หรือไม่ก็ตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะและบังคับได้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในฐานผู้ค้ำประกันได้เมื่อนางอำไพผิดนัดไม่ชำระ
สัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยเข้าค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์มีข้อความว่าสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อเมื่อกระทรวงการคลังเห็นชอบแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันเป็นข้อสารสำคัญ ส่วนสัญญาข้อ 2 ที่ อ.จะเริ่มผ่อนชำระเงินตั้งแต่เดือนมกราคม 2516 เป็นต้นไปนั้น เป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าโดยคาดว่ากระทรวงการคลังจะอนุมัติมาก่อน เมื่อปรากฏว่ากระทรวงการคลังตอบอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ มิใช่พฤติการณ์ที่โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ อ.
สัญญารับสภาพหนี้ อ.ยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยตกลงจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนๆ ละ 500 บาท ทุกวันที่ 10 ของเดือน โดยไม่แยกจำนวนหนี้เป็นรายๆ ออกต่างหากจากกัน ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกตลอดมาถือได้ว่า เป็นการผิดสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งต้องชำระหนี้ที่ค้างชำรอยู่ทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ทั้งหมดที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายกระดาษกล่องแล้วผิดนัดชำระหนี้ โดยใช้เช็คที่ไม่มีเงินรองรับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2513 เวลากลางวัน จำเลยมีเจตนาฉ้อโกงและโดยทุจริตได้บังอาจกล่าววาจาอันเป็นเท็จหลอกลวง ก. ผู้เสียหายว่าจำเลยประสงค์จะซื้อกระดาษกล่องจำนวน 614 ริม ราคา 500,000 บาท จาก ก. ผู้เสียหายโดยผัดชำระราคาในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ก. ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นความจริงตามที่จำเลยกล่าวหลอกลวง จึงได้มอบกระดาษกล่องจำนวน 614 ริมราคา 500,000 บาท ให้จำเลยรับไปเป็นประโยชน์ของตน ซึ่งความจริงจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงกระดาษกล่อง 614 ริมไปจาก ก. ผู้เสียหายมาแต่แรก โดยจำเลยเจตนาจะไม่ชำระเงินให้แก่ ก. ผู้เสียหายเลย ดังนั้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 เวลากลางวัน จำเลยจึงได้นำเช็คธนาคารศรีนคร จำกัด สำนักงานใหญ่ ฉบับเลขที่ 082013 ลงวันที่สั่งจ่ายวันที่ 30 มิถุนายน 2514 สั่งจ่ายเงินจำนวน 500,000 บาท โดยจำเลยบอกแก่ ก. ผู้เสียหายว่าเป็นเช็คของ ล. มาชำระหนี้ให้แก่ ก. ผู้เสียหาย ฯ ตามคำบรรยายฟ้องแสดงว่า ก.ผู้เสียหายได้ตกลงขายกล่องกระดาษจำนวน 614 ริม ราคา 500,000 บาท ให้จำเลย และจำเลยขอผัดชำระราคาค่ากระดาษกล่อง ต่อมาจำเลยได้นำเช็คมาชำระราคาค่ากระดาษกล่องให้ ก. ผู้เสียหายตามที่ขอผัดไว้จริง แม้โจทก์จะบรรยายในตอนท้ายว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าเช็คฉบับนี้ขึ้นเงินได้ ซึ่งความจริงเช็คที่กล่าวเป็นเช็คที่ธนาคารศรีนคร จำกัด สำนักงานใหญ่มอบให้แก่จำเลย ซึ่งได้เปิดบัญชีเป็นลูกค้าของธนาคาร จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเช็คที่กล่าวไม่มีทางขึ้นเงินได้เลย เพราะจำเลยไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเงิน ซึ่ง ก. ผู้เสียหายหลงเชื่อจำเลยจึงรับเช็คไว้ ก็เป็นเพียงการบรรยายฟ้องให้เห็นว่าเช็คที่จำเลยนำมาชำระราคาค่ากระดาษกล่องไม่สามารถขึ้นเงินจากธนาคารได้เท่านั้น กรณีเป็นเรื่องโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกระดาษกล่องกันแล้ว จำเลยไม่ชำระราคา อันเป็นการผิดสัญญาในทางแพ่ง หาใช่เป็นคำฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การรับช่วงสัญญาและการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ขณะจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับช่วงสัญญาเช่าซื้อต่อจากสามีซึ่งถึงแก่กรรมนั้น มีค่าเช่าซื้อที่ค้างส่งอยู่แล้วรวม 10 งวด การที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 10 งวดนั้นแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับช่วงสัญญาเช่าซื้อ แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้ออีกเพียง 1 งวด จึงไม่ใช่เป็นการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดกัน โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้น พร้อมกับเรียกค่าใช้ทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574และมาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, กำหนดเวลาชำระหนี้, ผิดนัดชำระหนี้, การโต้แย้งคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระ โดยบรรยายฟ้องเกี่ยวกับชนิดและจำนวนสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อพร้อมทั้งราคาและในเงื่อนไขการชำระเงิน ตลอดจนสถานที่ที่ให้โจทก์จัดส่งมอบสินค้าให้จำเลยโดยละเอียด พอที่จำเลยเข้าใจได้เป็นอย่างเดียวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า การชำระเงินค่าสินค้านั้นจำเลยจะต้องชำระภายในกำหนด 45 วันนับตั้งแต่วันสั่งของเสร็จ ถือได้ว่าการชำระหนี้รายนี้มีกำหนดเวลาชำระที่แน่นอนแล้วเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์ไม่ต้องทวงถามอีก
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนจำนวนสินค้าและราคายังคลาดเคลื่อนเป็นอันมากโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทรณ์ที่ไม่ได้รับวินิจฉัยให้นั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า การชำระเงินค่าสินค้านั้นจำเลยจะต้องชำระภายในกำหนด 45 วันนับตั้งแต่วันสั่งของเสร็จ ถือได้ว่าการชำระหนี้รายนี้มีกำหนดเวลาชำระที่แน่นอนแล้วเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์ไม่ต้องทวงถามอีก
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนจำนวนสินค้าและราคายังคลาดเคลื่อนเป็นอันมากโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทรณ์ที่ไม่ได้รับวินิจฉัยให้นั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การเลิกสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อนชื่อที่เรียกคู่สัญญาในสัญญาทุกข้อก็ระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขายแม้มีสัญญาข้อหนึ่งว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองใช้สิทธิ ปลูกสร้างในที่ดินได้ก็มีเงื่อนไขว่านับตั้งแต่วันที่ผู้ขายกรุยดินยกถนนผ่านที่ดินเรียบร้อยแล้วอันมีความหมายชัดว่าผู้ขายไม่ได้มอบที่ดินให้ผู้ซื้อทันทีโจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้ใช้และรับประโยชน์จากที่ดินพิพาทในวันทำสัญญาแต่ประการใด แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน ซึ่งต่างกับสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะต้องนำที่ดินมาให้โจทก์เช่า หรือส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินนั้นโดยมีคำมั่นว่าจะขาย แม้คำบรรยายฟ้องมีว่า โจทก์ได้ตกลงเช่าซื้อที่พิพาท แต่ก็อ้างหนังสือสัญญาท้ายคำฟ้องซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาดังกล่าวที่ส่งศาลและโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวเป็นหลัก. ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514(ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืนแต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514(ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืนแต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ การบังคับตามสัญญา และผลของการผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่าต้องเสียเงินเพื่อเป็นค่าทำศพ 10,000 บาท ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนค่าทำศพจะมีอะไรบ้าง จำนวนเงินเท่าใดเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
เมื่อลูกจ้างของจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้ว แม้ผู้ขับรถคันที่ผู้ตายโดยสารมาจะประมาทด้วยก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ความรับผิดในความเสียหายของจำเลยลดลงหาได้ไม่
เมื่อลูกจ้างของจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้ว แม้ผู้ขับรถคันที่ผู้ตายโดยสารมาจะประมาทด้วยก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ความรับผิดในความเสียหายของจำเลยลดลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ ศาลสั่งโอนที่ดินได้ตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความว่า จำเลยจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ละ 3 เดือน โดยให้จำเลยชำระงวดที่สองนับแต่วันที่ชำระงวดแรก ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระเงินงวดแรกในวันที่ 20 สิงหาคม 2512 จำเลยจึงต้องชำระเงินงวดที่สองให้โจทก์ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 และชำระเงินงวดที่สามในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2513 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามเวลาดังกล่าว ก็ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยผิดนัดชำระเงินตั้งแต่งวดที่สอง สองงวดติดกัน ให้โจทก์ริบเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นกรรมสิทธิ์ของโจกท์ได้ทันที และจำเลยต้องไปโอนใน 3 วัน ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ว่า กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องโอนที่ดินดังกล่าวได้ล่วงพ้นมาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513 จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อนี้อีกด้วย เมื่อศาลฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ หาใช่จะต้องมาเริ่มนับเวลาชำระหนี้กันใหม่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยฟังคำสั่งของศาลฎีกาที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับไม่ เพราะการให้ทุเลาการบังคับ เป็นเรื่องรอการบังคับไว้จนกว่าศาลจะพิพากษา เป็นคนละเรื่องกันกับกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลได้มีคำพิพากษาและมีคำบังคับตามยอมแล้ว
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยผิดนัดชำระเงินตั้งแต่งวดที่สอง สองงวดติดกัน ให้โจทก์ริบเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นกรรมสิทธิ์ของโจกท์ได้ทันที และจำเลยต้องไปโอนใน 3 วัน ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ว่า กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องโอนที่ดินดังกล่าวได้ล่วงพ้นมาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513 จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อนี้อีกด้วย เมื่อศาลฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ หาใช่จะต้องมาเริ่มนับเวลาชำระหนี้กันใหม่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยฟังคำสั่งของศาลฎีกาที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับไม่ เพราะการให้ทุเลาการบังคับ เป็นเรื่องรอการบังคับไว้จนกว่าศาลจะพิพากษา เป็นคนละเรื่องกันกับกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลได้มีคำพิพากษาและมีคำบังคับตามยอมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้มีเหตุสุดวิสัยและโจทก์ไม่เร่งรัดหนี้
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ ได้ให้เครดิตแก่ลูกค้าของธนาคารไป จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายในกรณีไม่จำเป็นต้องเสีย โจทก์ได้สั่งย้ายจำเลยเข้าประจำสำนักงานใหญ่ จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยสัญญาจะผ่อนชำระเป็นรายปี โจทก์ตกลงจะให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ ต่อไปเพื่อช่วยเหลือให้จำเลยมีโอกาสได้ไปเรียกร้องหนี้สินจากลูกค้าเพื่อโจทก์จะหักหนี้ให้จำเลย ข้อตกลงของโจทก์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ โจทก์ช่วยเหลือจำเลย หาใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนตาม สัญญาประนีประนอมยอมความไม่.
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์แล้ว แต่จำเลยป่วยเป็นอัมพาต ไปรับหน้าที่ไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการทวงถามหรือฟ้องร้องเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ และทำให้โอกาสที่จะเอาชำระหนี้ จากลูกหนี้หมดไปก็ตามแต่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อยู่แล้ว จำเลยจึงยังคงต้อง รับผิดตามสัญญา
ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย ก่อนทำสัญญาคณะกรรมการของโจทก์ก็ได้ประชุมกัน และมีมติให้งดคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แม้สัญญาจะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด แต่เมื่อ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็มิได้ฟ้องร้องหรือถือว่าจำเลยผิดนัดจริงจังและเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยกลับมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาโดยมิได้เรียกดอกเบี้ยด้วย ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามครั้งสุดท้ายของโจทก์แล้วและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่นั้นไป
โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยกลับไปดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์แล้ว แต่จำเลยป่วยเป็นอัมพาต ไปรับหน้าที่ไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้ดำเนินการทวงถามหรือฟ้องร้องเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ และทำให้โอกาสที่จะเอาชำระหนี้ จากลูกหนี้หมดไปก็ตามแต่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อยู่แล้ว จำเลยจึงยังคงต้อง รับผิดตามสัญญา
ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยยอมรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย ก่อนทำสัญญาคณะกรรมการของโจทก์ก็ได้ประชุมกัน และมีมติให้งดคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แม้สัญญาจะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด แต่เมื่อ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็มิได้ฟ้องร้องหรือถือว่าจำเลยผิดนัดจริงจังและเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยกลับมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาโดยมิได้เรียกดอกเบี้ยด้วย ดังนี้ต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามครั้งสุดท้ายของโจทก์แล้วและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่นั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่เพียงพอ
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยตกลงกันในศาล ได้กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนดจึงได้ชื่อว่าผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 โจทก์ขอให้ศาลบังคับคดีได้ทันที ข้อที่จำเลยอ้างว่ามีกิจธุระจำเป็นไปต่างจังหวัดและเกิดเจ็บป่วยระหว่างทางจึงไม่สามรถชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดนั้น ก็ไม่ปรากฏในคำร้องว่าจำเลยเจ็บป่วยขนาดไหน เพราะการป่วยเป็นไข้และความดันโลหิตสูงในกรณีปกติก็เดินทางกันได้ ที่จำเลยอ้างว่าเดินทางต่อมาไม่ได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205