คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: เอกสารแสดงเจตนาครบถ้วนสมบูรณ์ แม้มิได้ใช้คำว่า 'สัญญา' ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
เอกสารแม้จะมิได้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ก็มีข้อความระบุชัดแจ้งถึงข้อตกลงของคู่กรณีในอันที่จะทำการซื้อขายที่ดินโดยระบุชัดเจนทั้งตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ ราคาที่ซื้อขายทอดตลาดจนวิธีการและกำหนดเวลาในการปฏิบัติการชำระหนี้ได้สาระสำคัญครบถ้วน จึงมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1ตามกฎหมายโดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจ เอกสารสัญญาจะซื้อจะขายเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการเสนอของคู่กรณีโดยถูกต้องสมบูรณ์ มีสาระสำคัญครบถ้วนมีผลเป็นนิติกรรมแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้สนองรับคู่กรณีผู้แสดงเจตนาย่อมต้องผูกพันตามผลนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาซื้อขายที่ดิน: ข้อตกลงก่อนสัญญาผูกพันได้ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน คู่ความทั้งสองฝ่ายได้มีการต่อรองราคากัน เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว ฝ่ายจำเลยได้วางมัดจำไว้แก่ฝ่ายโจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท แม้ไม่มีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเรื่องราคาซื้อขายดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองการที่โจทก์นำสืบข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และผู้ร้องเป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อคดีนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาผูกมัดในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นความรับผิดจากละเมิดของลูกจ้างต่อนายจ้าง และการผูกพันคำพิพากษาในคดีก่อน
จำเลยให้การว่า ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยอุทธรณ์ว่า ฟ้องเคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าใครเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบจำเลยไม่เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินสดที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาทโจทก์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการสอบสวนผลการสอบสวนไม่สามารถหาสาเหตุแห่งการที่เงินสดสูญหายไป แต่จำเลยยอมรับว่าเงินสดที่ขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเป็นคนครอบครองเงินเงินสูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งจำเลยก็ให้การว่าเงินได้ขาดหายไปขณะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการและสมุห์บัญชี ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยจำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานและลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานที่ดีของโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแล้ว ยังเป็นคำฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดหน้าที่ที่จำเลยต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดอายุความเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี แม้คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงานหรือใช้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไปจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย แต่เหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ แม้คดีก่อนจำเลยจะเป็นฝ่ายฟ้องโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องจำเลย แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม หมายถึง โจทก์จะเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกิน 5 ปี แล้วไม่ได้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างส่งก่อนวันฟ้องนับย้อนหลังไปไม่เกิน5 ปี โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องได้ หาใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแล้ว สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งจะขาดอายุความไปทั้งหมดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมผูกพันคู่ความ แม้เป็นผู้เยาว์ หากไม่เคยอุทธรณ์คัดค้าน
โจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 448/2529 ของศาลชั้นต้นมี ม. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทน คดีดังกล่าวถึงที่สุดด้วยการประนีประนอมยอมความในศาล แม้โจทก์จะเป็นผู้เยาว์และการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจะมิได้ขออนุญาตศาลก่อน คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ก็ย่อมผูกพันโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 หากโจทก์ไม่พอใจคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอย่างใดก็ชอบจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการค้ำประกันมีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือซึ่งมีข้อความระบุถึงเลขที่ วันออกเช็ค และจำนวนเงินตามเช็คพิพาท และมีข้อความตอนท้ายใจความว่า จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้อ่านข้อความเข้าใจดีแล้วจึงลงลายมือชื่อรับรองไว้เป็นหลักฐาน และลงลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันด้วย คำว่า "ค้ำประกัน" มีความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ว่าอันค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ดังนั้นเมื่อตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทไม่ชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 3 จะยอมชำระแทน เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยนิติบุคคล แม้กรรมการจะทำธุรกรรมส่วนตัว หากสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ฝาก ย่อมผูกพันนิติบุคคลตามหลักตัวแทนเชิด
การที่โจทก์นำเช็คเงินสดจำนวน 2,000,000บาท ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการเรียกเก็บเงินแล้วไปที่บริษัทจำเลย พนักงานของจำเลยได้รับฝากเงินจำนวนดังกล่าวแล้วดำเนินการออกเช็คพิพาท ซึ่ง พ.กับง.กรรมการของบริษัทจำเลยร่วมกันลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายพร้อมกับแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยรับฝากเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และโจทก์ได้รับของขวัญและของที่ระลึกต่าง ๆมีชื่อบริษัทจำเลยพร้อมตราประทับจากบริษัทจำเลย ทั้งจำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาและเพื่อการเคหะ จำเลยสามารถกู้ยืมเงินและรับเงินจากประชาชนโดยตกลงจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเป็นวิธีการจัดหามาซึ่งเงินทุนของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยและอยู่ในวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยเชิดพ.และง. เป็นตัวแทน จำเลยต้องผูกพันรับผลการกระทำของพ.และง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3311/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ถูกต้อง และจำเลยที่ 2 ผูกพันตามหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ไม่รู้เห็นด้วย
แม้บัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ข) ที่ใช้บังคับในปัจจุบันกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท แต่ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว บัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรที่บังคับใช้ในเวลานั้นกำหนดให้ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท ก็ตาม ถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ หนังสือค้ำประกันมีข้อความระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชดใช้เงิน แก่บริษัท ข้าพเจ้ายอมค้ำประกันและรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่าซื้อ และยอมให้บริษัทผ่อนเวลาชำระหนี้ ผ่อนผันการชำระหนี้ได้ตามจำนวนครั้งหรือตามเงื่อนไขที่บริษัทจะเห็นสมควร" แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยินยอมให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่รู้เห็นด้วย จำเลยที่ 2 ยังคงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์เพราะหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระแก่โจทก์ แต่โจทก์ผ่อนผันลดหย่อนให้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่กรณีและบริวาร โจทก์ต้องบังคับคดีตามสัญญาเดิม
คดีก่อนโจทก์ขับไล่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ออกจากที่ดินพิพาทส่วนจำเลยที่ 3 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าวโดยโจทก์ยอมยกที่ดินเนื้อที่ 91 ตารางวา ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมจะรื้อเรือนและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ภายใน 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ทำการรื้อถอนภายในกำหนด จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องคืนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ คำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบริวาร นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอม เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ยอมรื้อเรือนและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทโจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นบริวารในคดีก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ดังนั้น ปัญหาที่โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรที่จะได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลยร่วม แม้ไม่มีลายมือชื่อ หากใบแต่งทนายระบุชัดเจน
ใบแต่งทนายความของจำเลยร่วมระบุว่าให้ทนายความของจำเลยร่วมมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีลายมือชื่อจำเลยร่วมอยู่ด้วยแต่เมื่อทนายความจำเลยร่วม ทนายความจำเลย และโจทก์กับทนายความโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและข้อตกลงหรือการสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมไปด้วยแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้และมีผลผูกพันจำเลยร่วมด้วย ที่จำเลยร่วมฎีกาว่าศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยร่วมก่อนมีคำสั่งนั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 52