พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้องได้ แม้ผู้สั่งจ่ายมีข้อพิพาทกับผู้ทรงคนก่อน
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คโจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดย มี ข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้จำเลย ที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็นแต่อย่างใดจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าในการสร้างท่าเทียบเรือขยายพื้นที่เกินสัญญาเดิม ผู้รับโอนที่ดินไม่ต้องรับผิดชอบ
ตามสัญญาเช่าที่ดินที่ จ. เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ผู้เช่าระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายใน เขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้นมิได้ระบุว่าถ้าผู้เช่าสร้าง ท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำหน้าที่ดินที่เช่า ผู้ให้เช่าจะต้อง ยินยอมลงชื่อด้วย ฉะนั้น การที่ จ. ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองให้โจทก์สร้างท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำที่ดินที่เช่าตามใบอนุญาตกรมเจ้าท่าจึงเป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่า ไม่ผูกพันจำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าจาก จ. และการที่โจทก์ทำคำร้องขอขยายท่าเทียบเรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ ก็เป็นการเพิ่มภาระให้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องรับผิดชอบมากขึ้นกว่าความรับผิดตามสัญญาของเจ้าของที่ดินเดิมแม้โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลยว่าโจทก์รับเป็นผู้รับผิดชอบเอง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้กระทำนอกเหนือไปจากสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของผู้รับโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิฎีกาเมื่อไม่ใช่คู่ความ
ในคดีชั้นร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่ ไม่ ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดี แล้วแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา โจทก์เป็น เพียง บุคคลภายนอกแม้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนคนหนึ่งอาจถูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการโอนต่อไป ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่คู่ความหรือถูกโต้แย้ง สิทธิในชั้นนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 โจทก์จึง ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์กับผู้ทรงคนก่อนได้
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงซึ่งมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนเว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบ มาตรา 989 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ ส. เพื่อค้ำประกันโดยไม่มีมูลหนี้ จำเลยชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ ส.แล้วแต่ส.ใช้อุบายชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คด้วยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี และไม่จำต้องสืบพยาน เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้รับโอนเช็คพิพาทที่ได้มาโดยไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ฉ.โดยไม่มีมูลหนี้และโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญา เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็คโดยผู้รับโอนที่ไม่มีมูลหนี้และไม่สุจริต ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ฉ. โดยไม่มีมูลหนี้และโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญา เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับเมื่อกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับโอนจริง การครอบครองก่อนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่เกิดสิทธิ
จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับเจ้าของที่ดินซึ่งนำที่ดินมาจัดสรรขาย ต่อมาเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้สลับกันโดยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กับ ส. ผู้ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งและจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงที่ ส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้โอนให้แก่จำเลย เช่นนี้ การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินเดิม จำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาทในช่วงเวลาก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินเดิมผู้จัดสรรหาได้ไม่ และไม่อาจจะแยกการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวขึ้นใช้ยันต่อ ส. ได้ตราบใดที่ ส. ยังไม่ได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังมิได้ตกเป็นของ ส. ระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ส. รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ นับถึงวันโจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เหนือที่ดินพิพาท โจทก์ผู้ซึ่งจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ส. โดยไม่สุจริตคือรู้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์, การสิ้นสุดสัญญา, การยินยอมโดยปริยาย, การละเมิด, สิทธิหน้าที่ของผู้รับโอน
สัญญาที่สามีของจำเลยทำกับเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิม เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่า โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่จำต้องตอบแทนสิ่งใดให้แก่สามีของจำเลย แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัว ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทต้องผูกพันในเรื่องการเช่าที่เจ้าของเดิมทำไว้กับสามีจำเลย เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงบังคับกันได้เพียง3 ปี ก่อนครบกำหนดสัญญา โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่เช่ามาจากเจ้าของเดิมแล้วให้จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์ จำเลยก็นำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางตั้งแต่เดือนธันวาคม 2526 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2528 โจทก์ไปรับค่าเช่าถึงเดือนธันวาคม 2527 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญา พฤติการณ์ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไปโดยไม่ทักท้วงไม่ได้ และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่หลังจากครบกำหนดสัญญาเพียง 2 เดือนไปถึงจำเลยแจ้งให้ทราบว่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป ให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปพร้อมกับชำระค่าเสียหายให้ โดยส่งให้จำเลยโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปที่ตึกแถวพิพาทแต่จำเลยไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยทราบข้อความในหนังสือดังกล่าวแล้วการที่จำเลยอยู่ในตึกแถวที่เช่าภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าเท่ากับเป็นการละเมิด หาใช่เป็นการอยู่โดยคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาไม่เช่นกัน โจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องเรียกเงินได้
แม้เช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนแก่กันได้โดยการส่งมอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คดังกล่าวมาภายหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้โดยไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่งเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายได้
แม้เช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนแก่กันได้โดยการส่งมอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คดังกล่าวมาภายหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้โดยไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่งเสียก่อน.