คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้แทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้แทนของนิติบุคคลในความผิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องพิสูจน์ว่ารู้เห็นการกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นผู้แทนของนิติบุคคลต้องรับโทษตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 นั้น หากโจทก์สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลรู้เห็นด้วยในการกระทำความผิดของนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับโทษในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว คดีนี้โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นด้วยในการยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าว จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและสิทธิเสนอคดี: ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์มีสิทธิร้องขอจัดการมรดกในฐานะผู้แทน
แม้ผู้ร้องไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่ขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกับตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น อำนาจปกครอง ณ. อยู่กับผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ณ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1569 ซึ่งการยื่นคำร้องขอดังกล่าวผู้ร้องมิได้ยื่นในฐานะส่วนตัวแต่ยื่นในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ณ. ในคำร้องขอนั้นนอกจากมีข้ออ้างว่ามีการยักย้ายทรัพย์มรดกของผู้ตายแล้วยังมีข้ออ้างว่าผู้ร้องได้รับคำบอกเล่าว่าแท้จริงผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ ณ. ไว้ด้วย ดังนั้นการยื่นคำร้องขอของผู้ร้องจึงเป็นไปตามหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองเพื่อระวังรักษาประโยชน์ของ ณ. ให้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสิทธิที่แท้จริง ผู้ร้องในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของ ณ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ที่มีสิทธิจะร้องต่อศาลขอให้ถอนผู้จัดการมรดกหรือขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15899/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีละเมิด: การกระทำผ่านผู้แทนของหน่วยงานของรัฐ
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย โดยบรรยายชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ใช้ให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ใส่กุญแจประตูทางเข้าบริเวณที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเข้าออก ใช้สอยและผลิตสินค้าในที่เช่าได้ เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ และยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลหน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ให้พนักงานของจำเลยที่1 กระทำการดังกล่าว แม้จะบรรยายในลักษณะว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดก็ตาม จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนจำเลยที่ 1 การแสดงออกถึงวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมผ่านทางจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการผู้รับผิดชอบโดยตรง กรณีต้องด้วยมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในขอบเขตของตนจึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14401/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อเช็คในฐานะผู้แทนและผู้ผูกพันตนเองตามกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทด้วย โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการค้ำประกันหรือข้อความอื่นใดในทำนองเดียวกัน เช่นนี้ ต้องรับฟังว่า จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันตนในอันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 หาใช่เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 990 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: ผู้แทนของนิติบุคคลรับรู้ความผิดเมื่อใด
ช. ผู้จัดการโจทก์ สาขาสำโรง เป็นเพียงลูกจ้างของโจทก์ แม้ ช. รู้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดก็จะถือว่าผู้แทนโจทก์รู้ด้วยไม่ได้ ผ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์ ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ เมื่อกรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงทำรายงานเสนอ ผ. ว่าจำเลยทั้งสองได้หลอกลวง ช. อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และ ผ. ลงลายมือชื่อรับทราบในรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 จึงต้องถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อผู้แทนของนิติบุคคลทราบการละเมิด
ร้อยเอก อ. รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาคือผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ให้ร้อยเอก อ. ในฐานะนายทหารพระธรรมนูญร่วมฟังการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนเท่านั้น โดยร้อยเอก อ. ไม่ใช่ผู้รับมอบอำนาจโดยตรงจากผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นผู้แทนสูงสุดของโจทก์ และที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ร้อยเอก อ. ได้เสนอผลการเจรจาค่าเสียหายต่อผู้บัญชาการทหารบก ร้อยเอก อ. ก็ไม่ได้เบิกความเช่นนั้น โดยร้อยเอก อ. เบิกความแต่เพียงว่า ไม่สามารถตัดสินใจได้ต้องเสนอผู้บังคับบัญชาทราบก่อน ซึ่งในที่นี้หมายความถึง ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของร้อยเอก อ. และที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า อย่างช้าโจทก์ย่อมรู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2540 ที่กองทัพภาคที่ 1 ได้ส่งหนังสือทั้งดำเนินการเกี่ยวกับคดีนี้ไปยังกรมพระธรรมนูญ แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่พลตรี ส. รองแม่ทัพภาคที่ 1 ทำการแทนแม่ทัพภาคที่ 1 ทำบันทึกถึงกรมสารบรรณทหารบก เสนอแนวทางให้นำเสนอเรื่องต่อผู้บัญชาการทหารบก ดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหาย อันเป็นการนำเสนอตามขั้นตอนเป็นลำดับขั้นจนถึงผู้บัญชาการทหารบก จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้บัญชาการทหารบกได้ทราบแล้ว กรณีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงเจตนาอันเป็นความประสงค์ของนิติบุคคล อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือเอาการที่ข้าราชการของโจทก์คนใดคนหนึ่งรู้มาเป็นวันเริ่มนับอายุความไม่ได้ กรณีนี้พลตรี ป. เจ้ากรมสารบรรณทหารบกมีหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารบก ผ่านผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 เสนอให้ดำเนินการฟ้องดำเนินคดีแก่ผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารบกให้เป็นผู้แทนดำเนินคดีในทางแพ่ง และรับคำสั่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ยังไม่พ้นระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21764/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่ผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิด ไม่ใช่วันคำพิพากษาคดีอื่น
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ย่อมต้องแสดงออกโดยผู้แทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง อายุความ 1 ปี จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้แทนของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5158/2546 ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า ร. ต้องชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศแก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ทั้งคำพิพากษาคดีก่อนก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ คำพิพากษาคดีก่อนเพียงแต่วินิจฉัยว่า ร. ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาการใช้บริการโทรศัพท์ตามฟ้องจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าในวันที่ศาลในคดีก่อนมีคำพิพากษา โจทก์ได้ทราบแล้วว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิด เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์โดยรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ฝ่ายบริหาร) ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจากรายงานของกองนิติการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 จึงไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่ความในชั้นขอกันส่วน: จำเลยไม่ต้องมีผู้แทนเมื่อเสียชีวิต
คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลซึ่งในชั้นร้องขอกันส่วน คู่ความ คือผู้ร้องทั้งสองกับโจทก์ผู้ซึ่งยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ส่วนจำเลยทั้งสองนั้นหาได้เป็นคู่ความในชั้นขอกันส่วนไม่ คู่ความคงมีเฉพาะผู้ร้องกับโจทก์เท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายไปก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ก็มิใช่กรณีที่จะขอให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปจนกว่าจะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกองทุนรวม และการใช้สิทธิฟ้องล้มละลายโดยชอบตามกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวมโจทก์เป็นกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้แทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเมื่อคู่ความถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาคดี ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อหาผู้แทน
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่า ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ตัวโจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์เสียชีวิต หากโจทก์ถึงแก่ความตายจริงก็ต้องถือว่าโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ คดีจะดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ และศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามนัยมาตรา 42 และ 44 แห่ง ป.วิ.พ. ก่อน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบ และการที่โจทก์ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
of 15