พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ความรับผิดของกองทุนหมู่บ้านฯ และอายุความการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน
พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 11 บัญญัติว่า "ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า "กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล..." และมาตรา 21 บัญญัติว่า "ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีสำนักงานใหญ่ เรียกว่า "สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ"... และอาจตั้งสาขาตามความจำเป็นก็ได้" จำเลยที่ 1 จึงมีสถานะเป็นสำนักงานใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 22 (1) ดำเนินการต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ ประกอบกับตามมาตรา 23 วรรคสี่ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบการบริหารกิจการของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงเท่ากับเป็นการฟ้องกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแล้ว ก็ไม่จำต้องกำหนดให้คำพิพากษาผูกพันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเพื่อให้มาร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อีก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการและผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้กระทำการไปตามระเบียบข้อบังคับจึงผูกพันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ไปตามขอบอำนาจไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดไม่เลื่อนเงินเดือนโจทก์ตามระเบียบสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน พ.ศ.2550 ขอให้จำเลยทั้งแปดชำระค่าเสียหายตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นการฟ้องโดยกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกสินจ้าง จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการและผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้กระทำการไปตามระเบียบข้อบังคับจึงผูกพันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ไปตามขอบอำนาจไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดไม่เลื่อนเงินเดือนโจทก์ตามระเบียบสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน พ.ศ.2550 ขอให้จำเลยทั้งแปดชำระค่าเสียหายตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นการฟ้องโดยกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกสินจ้าง จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงในร้านอาหาร: เจ้าของร้านมีหน้าที่ดูแลควบคุมการกระทำของพนักงาน
แม้ขณะเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นร้านอาหารของจำเลย จำเลยจะมิได้อยู่ในที่เกิดเหตุและมีพนักงานในร้านของจำเลยดูแลร้านอาหารที่เกิดเหตุก็ตาม แต่จำเลยในฐานะเจ้าของร้านค้าก็มีหน้าที่ต้องตรวจตราดูแลและควบคุมการดำเนินกิจการของร้านให้เป็นไปโดยเรียบร้อยโดยไม่ผิดกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าพนักงานในร้านของจำเลยให้บริการลูกค้าภายในร้านโดยการเปิดเพลงซึ่งเป็นงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งที่สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ครบกำหนดแล้ว แต่การกระทำดังกล่าวล้วนเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารโดยแท้ กรณีจึงเชื่อได้ว่าจำเลย รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำดังกล่าวของพนักงานและเป็นการกระทำภายใต้การสั่งการของจำเลย จำเลยจึงเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2)
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเปิดเพลงของโจทก์ร่วมที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ให้สาธารณชนทั่วไปที่ใช้บริการในร้านอาหารของจำเลยได้รับฟังและขับร้องเพลง อันเป็นความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการกระทำโดยตรงต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) ที่กล่าวมาข้างต้น คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเปิดเพลงของโจทก์ร่วมที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ให้สาธารณชนทั่วไปที่ใช้บริการในร้านอาหารของจำเลยได้รับฟังและขับร้องเพลง อันเป็นความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการกระทำโดยตรงต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) ที่กล่าวมาข้างต้น คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2) จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่