พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเปรียบเทียบของพนักงานสอบสวนในคดีทำร้ายร่างกาย: ประเด็นบาดแผลถึงบาดเจ็บและการยินยอม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ถึงบาดเจ็บ แต่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบปรับจำเลยโดยไม่มีอำนาจทำได้ เพราะบาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บ จำเลยต่อสู้ว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้ว ดังนี้ ประเด็นเรื่องการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อยู่ที่บาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บหรือไม่ ถ้าบาดแผลของโจทก์ถึงบาดเจ็บเป็นความผิดตามมาตรา 254 พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ การเปรียบเทียบชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์กลับไปวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายและผู้ต้องหาไม่ได้ให้ความยินยอมในการเปรียบเทียบ ๆ จึงใช้ไม่ได้ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า บาดแผลของโจทก์ไม่ถึงบาดเจ็บ การเปรียบเทียบชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์กลับไปวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายและผู้ต้องหาไม่ได้ให้ความยินยอมในการเปรียบเทียบ ๆ จึงใช้ไม่ได้ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพโดยไม่ได้ถูกจูงใจ: พนักงานสอบสวนทราบข้อมูลเท็จของผู้ต้องหาแต่ไม่ทักท้วง ไม่ถือว่าเป็นการหลอกลวง
การที่พนักงานสอบสวนรู้ว่าผู้ต้องหาปิดบังอาชีพและยศไว้โดยพนักงานสอบสวนมิได้ท้วงติงนั้นไม่ถือว่าเป็นการจูงใจหรือหลอกลวงให้จำเลยรับสารภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนสั่งให้เขียนชื่อเพื่อเปรียบเทียบลายมือ: ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานสอบสวนมีคำสั่งบังคับให้ผู้ต้องหาเขียนชื่อลงในกระดาษเปล่าเพื่อส่งไปพิศูจน์กับลายมือที่ผู้นั้นต้องหาในเรื่องก่อน ทั้งนี้ ว่าเพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ฯลฯ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 131,132 ดั่งนี้ ไม่เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมาย เพราะ ป.วิ.อาญามาตรา 132 มิได้ระบุไว้เลยว่าให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งเช่นนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนสั่งให้เขียนชื่อเพื่อเปรียบเทียบลายมือ: ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่มีฐานอาศัย
พนักงานสอบสวนมีคำสั่งบังคับให้ผู้ต้องหาเขียนชื่อลงในกระดาษเปล่า เพื่อส่งไปพิสูจน์กับลายมือที่ผู้นั้นต้องหาในเรื่องก่อน ทั้งนี้ ว่าเพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ฯลฯ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131,132 ดั่งนี้ ไม่เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 มิได้ระบุไว้เลยว่าให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาข่มขืน การเพิ่มเติมฟ้อง และการที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก่อนการร้องทุกข์
โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดของจำเลยคดีมีมูลไว้ชั้นหนึ่งแล้วนั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบแล้ว
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปาก เพื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น ตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้.
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปาก เพื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น ตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิพนักงานสอบสวนฟ้องปรับนายประกัน แม้คดีลูกประกันขาดอายุความหรือไม่ผิด
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่จำเลยทำไว้กับปลัดอำเภอซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในฐานะตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น พนักงานสอบสวนผู้นั้นย่อมมีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ปรับนายประกันได้ ถึงแม้ว่าคดีของผู้ต้องหาที่จำเลยประกันตัวไปจะขาดอายุความหรือไม่มีความผิดก็หาเกี่ยวข้องกับสัญญาประกันนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิพนักงานสอบสวนฟ้องปรับนายประกัน แม้คดีลูกประกันขาดอายุความหรือไม่ผิด
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่จำเลยทำไว้กับปลัดอำเภอซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในฐานะตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้นพนักงานสอบสวนผู้นั้นย่อมมีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ปรับนายประกันได้ถึงแม้ว่าคดีของผู้ต้องหาที่จำเลยประกันตัวไปจะขาดอายุความหรือไม่มีความผิดก็หาเกี่ยวข้องกับสัญญาประกันนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน: โจทก์มีหน้าที่นำสืบหากจำเลยโต้แย้ง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการกรมตำรวจลงวันที่ 14 สิงหาคม 2493 กำหนดให้กองบังคับการกองตรวจมีเขตอำนาจรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตลอดเขตพื้นที่จังหวัดพระนครและธนบุรีนั้น มิใช่เป็นกฎหมายอันจะถือได้ว่า ทุกคนจำต้องทราบอย่างกฎหมาย แต่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบให้ทราบ เมื่อจำเลยคัดค้านว่านายตำรวจผู้สอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน จึงเป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบแสดงว่า นายตำรวจผู้สอบสวนมีอำนาจสอบสวนเมื่อไม่นำสืบก็ยังฟังไม่ได้ว่า ได้มีการสอบสวนโดยชอบด้วยวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว จึงต้องบทห้ามมิให้อัยการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีความผิดต่อเนื่อง – สถานที่กระทำความผิด
จำเลยได้รับมอบหมายเรือยนต์ลำหนึ่งในเขตท้องที่ตำรวจสถานีปากคลองสาน แล้วจำเลยได้เปลี่ยนแปลงรูปเรือ และถอดเครื่องยนต์ออกในเขตอำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอันเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน ดังนี้ พนักงานตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจปากคลองสานย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา19(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขืนคำสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือ: ไม่ถือเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ที่สั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยในฐานะเป็นผู้ต้องหา ไม่มีข้อความว่าเพื่อตรวจสอบว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการสั่งเพื่อรวบรวมหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131,132 คงฟังได้เพียงเป็นเรื่อง ตามมาตรา11 ฉะนั้นจึงยังไม่เป็นผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2)