คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พฤติการณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์การแทงและเหตุการณ์ก่อนหน้า
ผู้เสียหายกับพวกและจำเลยกับพวกดื่มสุราด้วยกันแล้วมีปากเสียงกันมีคนเข้าห้ามปรามจึงแยกย้ายกันไปหลังจากนั้นเมื่อพบกันมีการปรับความเข้าใจและมีปากเสียงกันอีกผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย1ทีพฤติการณ์ดังกล่าวไม่ร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกันประกอบกับจำเลยแทงผู้เสียหายในทันทีนั้นเพียง1ครั้งแล้วหลบหนีไปโดยไม่ได้แทงซ้ำอีกแม้จะแทงบริเวณหน้าอกข้างขวาใต้ราวนมอันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายแต่บาดแผลของผู้เสียหายมีเพียงเลือดออกในผนังหน้าอกไม่ได้ลึกถึงอวัยวะสำคัญแสดงว่าจำเลยไม่ได้แทงอย่างแรงกรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายต้องพักรักษาตัวเกินกว่า20วันจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297(8) การที่ผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย1ทียังไม่พอจะถือว่าเป็นการหยามหน้ากันอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหายจึงไม่ใช่เพราะเหตุบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9333/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดใช้ได้หากไม่มีเจตนาพ้นผิด การลดโทษจำเลยจากพฤติการณ์
คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันหาใช่จะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยเสียทีเดียวไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าด. จำเลยที่1และที่2ให้การซัดทอดจำเลยที่3เพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้นแต่อย่างใดศาลจึงชอบที่จะฟังคำซัดทอดดังกล่าวมาประกอบพยานแวดล้อมและพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างแรงงาน กรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี หากไม่ร้ายแรงถึงขนาดสร้างความเสียหาย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป
กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้นแต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี ไม่ใช่เลิกจ้างได้ทันทีเสมอไป
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้น แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการเพื่อชำระหนี้จากการประกอบกิจการพาณิชย์ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307เป็นเวลาประมาณ8เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดและจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริงจำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดและจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใดการที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอยๆว่าจำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้างพฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควรกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามาแต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8013/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้ดุลพินิจศาลแรงงานในการลงโทษทางวินัย การลงโทษต้องสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับและพฤติการณ์
แม้ตามคำขอท้ายคำร้องของนายจ้างผู้ร้องได้ขอให้ศาลแรงงานอนุญาตลงโทษลูกจ้างผู้คัดค้านด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือก็ตาม แต่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้กำหนดโทษทางวินัยไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้(1) ตักเตือนด้วยวาจา (2) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (3) ตัดค่าจ้าง(4) ลดค่าจ้าง (5) พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน 7 วัน (6) เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จะเห็นได้ว่า การพิจารณาลงโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป กรณีคดีนี้ ผู้คัดค้านขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นครั้งแรกและผู้ร้องมิได้เกิดความเสียหาย ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจา จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ทั้งโทษตักเตือนด้วยวาจาที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง หาใช่เป็นการอนุญาตให้ลงโทษต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่ และคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 52 ดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการอนุญาตให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้เท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งแทนผู้ร้องให้มีผลลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้โดยทันที หากผู้ร้องประสงค์จะใช้สิทธิลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้โทษตักเตือนด้วยวาจาก็เป็นโทษสถานเบากว่าโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ผู้ร้องร้องขอ คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจากความโกรธแค้น ไม่ถือเป็นการป้องกันตัว และพฤติการณ์หลังเกิดเหตุแสดงถึงความไม่สำนึกผิด
ก่อนเกิดเหตุประมาณ7วันโจทก์ร่วมได้ไปแจ้งแก่ผู้ใหญ่บ้านว่าสามีจำเลยใช้ไม้ปาถูกบ้านของโจทก์ร่วมทำให้จำเลยไม่พอใจเมื่อจำเลยพบโจทก์ร่วมในวันเกิดเหตุแล้วถามโจทก์ร่วมได้รับคำยืนยันว่าไปแจ้งแก่ผู้ใหญ่บ้านจริงจำเลยโกรธแค้นโจทก์ร่วมและเข้าทำร้ายโจทก์ร่วมทันทีจำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อเหตุและเข้าทำร้ายโจทก์ร่วมแต่เพียงฝ่ายเดียวจำเลยจึงอ้างป้องกันมิได้ ตามสภาพบาดแผลที่โจทก์ร่วมได้รับนั้นโจทก์ร่วมต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า30วันเมื่อบาดแผลหายแล้วปรากฎรอยแหว่งที่ปีกจมูกด้านซ้ายเป็นแผลเป็นติดตัวถือได้ว่าโจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนดหลังทราบเรื่องฟ้อง พ้นระยะเวลาตามกฎหมาย
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยอ้างว่า จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องในวันที่จำเลยมาขอตรวจสำนวนที่ศาล ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วในวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง กรณีตกอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคแรก ที่จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์แทงอวัยวะสำคัญ ถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยมีสาเหตุกับผู้เสียหายมาก่อน การที่จำเลยใช้อาวุธมีดยาวประมาณ 4 ถึง 5 นิ้ว กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตรแทงผู้เสียหาย 4 ครั้ง บริเวณราวนมด้านซ้ายและบริเวณชายโครงขวาจนทะลุไปถึงกะบังลมและตับซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญแสดงว่าจำเลยแทงอย่างแรงและเจตนาเลือกแทงอวัยวะสำคัญพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6480/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: ศาลลดโทษจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกายตามพฤติการณ์
จำเลยมีปากเสียงกับผู้เสียหายเรื่องเขตที่ดิน เพราะผู้เสียหายไม่ยอมรับเรื่องเขตที่ดินที่จำเลยกล่าวหาว่าผู้เสียหายรุกล้ำจำเลยจึงใช้ปืนสั้นเล็งยิงผู้เสียหายในระดับต่ำลงพื้นดินในระยะ3 เมตร กระสุนปืนถูกต้นขาขวาด้านหน้าทะลุต้นขาซ้ายด้านในกระดูกขาไม่ได้รับอันตราย แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาบาดแผลประมาณ 10 วัน แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เพียงแต่มีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่า ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
of 79