คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายแก่กายจากการทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาความรุนแรงของการกระทำและบาดแผล
การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายนั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ความรุนแรงแห่งการกระทำของจำเลยประกอบกับบาดแผลที่ผู้ถูกทำร้ายได้รับ จำเลยซึ่งเป็นหญิงใช้เล็บข่วนดั้งจมูกผู้เสียหายเป็นรอยเล็บข่วนยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีโลหิตไหล ยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายแก่กาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเรียกค่าขึ้นศาลก่อนพิจารณาคำร้องรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น: ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้เอาเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอดังกล่าว แก่โจทก์จำเลยนัดไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อน ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณาแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลมาชำระ ก่อนวันนัดไต่สวนคำร้อง มิฉะนั้นจะจำหน่ายคดีดังนี้ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และ มิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน ศาลชอบที่จะพิจารณาและตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้
เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 วรรคสอง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โดยไม่จำต้องเลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน ศาลพิจารณาและชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานจำเลย
เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 วรรคสอง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 โดยไม่จำต้องเลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาของจำเลย ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาอาจถูกยก
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ทั้งที่จำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ดังนั้นการที่ศาลมีคำสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อไป และมีคำพิพากษาคดีนี้มา จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องนี้ไว้ จำเลยก็มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบยานพาหนะในความผิดชิงทรัพย์ พิจารณาว่าใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ที่บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้อีกกึ่งหนึ่งนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะพาทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดหลบหนีไป หรือใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมหลังจากได้กระทำผิด เป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตามมาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่อง ๆ ไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำผิดหรือไม่
จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะพาสร้อยคอทองคำหลบหนีไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ภายหลังจากจำเลยได้ทำการชิงทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการกระทำผิดชิงสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย รถจักรยานยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 33 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2615/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง พิจารณาเป็นกระทงความผิด
ในการที่จะปรับว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องพิจารณากระทงความผิดเป็นกระทง ๆ ไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงแรก 4,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 1 อีก 2 กระทง กระทงละ 1 ปี และศาลอุทธรณ์ก็ยังคงลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้อันเป็นการแก้มากก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1603/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลขณะเลิกจ้าง การอ้างเหตุผลอื่นภายหลังใช้ต่อสู้ไม่ได้
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมต่อลูกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญเมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอ้างเหตุว่าลางานเกิน 30 วันในรอบปี 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ข้อที่อ้างว่านายจ้างขาดความเชื่อถือในตัวลูกจ้างจึงไม่เป็นเหตุของการ เลิกจ้างที่นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งในคดีอาญา: ศาลอาญาต้องพิจารณาพยานหลักฐานด้วยตนเอง
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน ในคดีแพ่งศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนกว่าจะแน่ใจว่าพยานโจทก์พอรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง แม้จะผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้น ก็เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น และเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญาว่า ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่เท่านั้นแต่จะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอาญา โดยมิได้สืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความเสียก่อนย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีขัดทรัพย์: การพิจารณาคำร้องขอต้องมีองค์คณะตามกฎหมาย
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาท ผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22, 23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ
of 38